บ้านพี่เมืองน้อง

บ้านพี่เมืองน้องเราล้วนเครือญาติกัน....ชาวลื้อรวมถึงชาติพันธุ์ต่างๆมากมายล้วนเคยอยู่รอบๆและกระจายในดินแดนจีน...โดยเฉพาะในอาณาจักรน่านเจ้าที่มีเมืองต้าลี่เป็นศูนย์กลาง...จากที่เคยอยู่กันอย่างเข้าใจ มีการแบ่งสรรอำนาจ ผลประโยชน์และดินแดนจนอยู่อาศัยกันอย่างสงบสุข...ครั้นเวลาผ่านไปความเข้มแข็งสามัคคีถ้อยทีถ้อยอาศัยในอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ก็กลายเป็นความอ่อนแอ เกิดการแย่งชิงและแตกแยก.......จนกระทั่งจักรพรรดิกุบไลข่านเข้ารุกราน(หลานเจงกีสข่าน)..จึงเป็นเวลาเริ่มต้นการล่มสลายของน่านเจ้าอย่างชัดเจน...ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ก็ต้องตัดสินใจเพราะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจเกิดขึ้น...ต่างคนต่างต้องปรับตัว...บางคนต้องตัดสินใจว่าจะยังอยู่ในดินแดนเดิมหรือแสวงหาดินแดนใหม่หรือไปอยู่กับญาติพี่น้อง ต้องคุ่นคิดว่าจะทำอย่างไรดี?จัดการความเปลี่ยนแปลงอย่างไรดี? ชาวลื้อบางส่วนนั้นก็ตัดสินใจว่าจะอยู่ที่เดิมเพราะไม่ได้กระทบต่อตนเอง.ในขณะที่บางส่วนยังสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ประโยชน์เสียด้วยซ้ำ...อีกด้านหนึ่งบางส่วนที่เสียประโยชน์ก็ไปอาศัยอยู่ตามเมืองต่างๆได้แก่เขตมณฑลกวางสี→มีชาวจ้วงมาอยู่ก่อนนานแล้วหลายพันปี....บางส่วนไปมณฑลยูนนาน→เกิดการผสานกับอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง........อีกบางส่วนได้กระจัดกระจายแยกตัวลงใต้สบทบกับญาติที่มาอยู่ก่อน.แล้วค่อยๆรวบรวมผู้คนสร้างบ้านแปงเมืองในพื้นที่ต่างๆตามลุ่มแม่น้ำโขง.ผสมกับหลายเชียงที่ตั้งอยู่แล้ว....การเคลื่อนย้ายของผู้คนทั้งเล็กและใหญ่เกิดขึ้นตลอดในยุคแห่งนครรัฐทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อันเกิดจากเหตุผลมากมาย ไม่ได้มีแต่เพียงสาเหตุจากสงครามหรือความขัดแย้งภายในหรือการคุกคามจากอาณาจักรภายนอก...ยังมีสาเหตุจากปัญหาโรคระบาด.จากปัญหาทางเศษฐกิจชีวิตความเป็นอยู่..จากนโยบายการเคลื่อนย้ายของผู้ปกครอง...จากคำสั่งการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร...จากเรื่องปกติคือการไปมาหาสู่พบปะทำการค้า...จากเรื่องการแต่งงานเกี่ยวดองเชื่อมความสัมพันธ์...การผสมผสานสิ่งต่างๆระหว่างกันของคนทุกชนชั้น สิ่งเหล่านี้มีให้เห็นโดยทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นในระดับประชาชนคนธรรมดาจนถึงระดับชั้นปกครอง ที่สืบค้นได้ง่ายมีบันทึกไว้เป็นตัวอย่าง คือ การแต่งงานระหว่างเจ้าฟ้าแห่งเชียงตุงกับเจ้าฟ้าแห่งสิบสองปันนา.การที่พระมารดาของพญามังรายเป็นเจ้านางแห่งเชียงรุ่ง.การที่พระไชยเชษฐาธิราูชผู้สร้างนครหลวงเวียงจันทร์ก็เคยมาครองทั้งเชียงใหม่และหลวงพระบาง.นี่เป็นเพียงบางส่วนที่แสดงถึงสัมพันธ์ที่คนแถบลุ่มน้ำโขงมีต่อกัน

........สำหรับเมืองเชียงรุ่งหรือจิ่งหงสมัยก่อนก็เคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมและพุทธศาสนาเคยมีเจ้าฟ้าปกครองเช่นเดียวกับเชียงตุง,หลวงพระบางและเชียงใหม่....สิบสองปันนาในยุคหนึ่งเคยเป็นต้นฉบับ.วัดสวยๆงามๆทางล้านนา,ล้านช้างเคยได้รับอิทธิพลมาจากเชียงรุ่ง...ในขณะเดียวกันวัดในเชียงตุงหลายแห่งก็เต็มไปด้วยศิลปะของโยนกเชียงแสน...เรื่องการผสมผสานงานด้านศิลปะรวมถึงวัฒนธรรมระหว่างกันนี้มีการถ่ายเทกันกลับไปกลับมาจนเป็นเรื่องปกติ วัดหลวงลื้อในสิบสองปันนาก็ยังนำช่างฝีมือจากเชียงใหม่และจากเชียงตุงมาร่วมกันสร้างใหม่จนเป็นที่สวยงามอลังการสามารถเที่ยวชมได้ในปัจจุบัน.

........ชาวเชียงรุ่ง.ชาวล้านช้าง.ชาวเชียงตุง.ชาวเชียงแสน ชาวเชียงราย.ชาวเชียงใหม่ ชาวล้านนา.ชาวไต.ชาวลื้อฯลฯล้วนแต่กินข้าวเหนียว.กินน้ำพริก.กินแคบหมู.กินลาบ.กินอาหารคล้ายๆกัน.นี่เป็นหลักฐานอย่างดีที่พิสูจน์ได้ทุกเวลาว่า เรามีชีวิตความเป็นอยู่แบบวัฒนธรรมร่วม....วัฒนธรรมร่วมเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การแลกเปลี่ยนการผสมผสานทั้งความคิด ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ศิลปะ การค้าขาย ช่างฝีมือ รวมถึงพลเมืองระหว่างกัน ที่ไหนมีวัฒนธรรมร่วมที่นั่นย่อมเกิดชาติพันธุ์ร่วม เกิดพลเมืองร่วมเพราะคนเรานั้นคือตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการถ่ายทอด ชาวลุ่มน้ำโขงของเรานี้จึงล้วนเกี่ยวข้องกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราล้วนเป็นญาติกันครับ

เรียบเรียงโดย:ใหม่สูงค่าเชียงตุง

ขอบพระคุณเจ้าของภาพทุกท่านครับ