ลาวแง่ว พรหมบุรี

ประวัติความเป็นมา : ชุมชนโภคาภิวัฒน์เป็นชุมชนของชาวไทยพวน มีการเล่าขานกันว่า ชาวโภคาภิวัฒน์ อพยพมาจากเมืองเชียงขางประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี ได้มาตามทางแม่น้ำและตั้งที่อยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี แต่เดิมเรียกว่า"บ้านดอนคา" เพราะมีหญ้าคาขึ้นปกคลุมหนาแน่นเต็มไปหมด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ชุมชนโภคาภิวัฒน์" จนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นชุมชนโภคาภิวัฒน์ : เป็นชุมชนที่มีเชื้อสายไทยพวนได้อพยพมาจากเมืองเชียงขางประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี ภายในชุมชนจะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ภาษาพูด (ภาษาพวน) การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์คือ ผู้หญิงใส่ผ้าซิ่น ผ้าฝ้าย หรือผ้าไหมใส่กับเสื้อแขนกระบอก หากอยู่บ้านจะเป็นเสื้อคอกระเช้า ส่วนผู้ชายจะเป็นเสื้อม่อฮ่อม ผ้าขาวม้าคาดพุง อาหารพื้นบ้านและประเพณี เช่น ประเพณีสงกรานต์วิถีไทยพวน การสรงน้ำพระแบบไทยพวน ประเพณีกำฟ้า ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น

วัดโภคาภิวัฒน์ ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา มีพระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัยขนาดหนัาตักกว้าง 68 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางมารวิชัย ขนาดหนักตักกว้าง 3 นิ้ว พระพุทธรูปหลวงพ่อหิน วัดโภคาภิวัฒน์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2380 เดิมชื่อว่า "วัดดอนคา" ต่อมาได้เรียกว่า "วัดโภคาภิวัฒน์" ถึง พ.ศ. 2483 จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น "วัดโภคาภิวัฒน์" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2400

ศาลเจ้าปู่ขุนทอง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหลังหมู่บ้านเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนหมู่บ้านและย่านใกล้เคียงมาก ว่ากันว่ามีอายุยาวนานนับร้อยปี ที่มาของเจ้าปู่ขุนทองมีคติความเชื่อเป็น 2 นัยยะด้วยกัน นัยยะที่ 1 เชื่อว่าเป็นเทพเจ้าที่ติดตามมาปกปักรักษาคนพวนตั้งแต่สมัยอพยพมาแต่เชียงขวาง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) นัยยะที่ 2 ท่านเป็นทหารขุนนางในสมัยก่อนแล้วถูกฆ่าตายศพลอยน้ำมาติดอยู่แถวศาลปัจจุบัน ชาวบ้านช่วยกันนำศพมาเผาแล้วตั้งศาลให้เป็นที่อยู่ของดวงวิญญาณ หลังจากนั้นมีผู้คนไปกราบไหว้บูชาก็เกิดความสำเร็จ

อาหารพื้นถิ่น กระยาสารท บ้านโภคาภิวัฒน์ จ.สิงห์บุรี














อาหารพื้นถิ่น หมูส้ม บ้านโภคาภิวัฒน์ จ.สิงห์บุรี













อาหารพื้นถิ่น แกงขี้เหล็ก บ้านโภคาภิวัฒน์ จ.สิงห์บุรี









อาหารพื้นถิ่น แกงนำ้เสอ บ้านโภคาภิวัฒน์ จ.สิงห์บุรี