กลุ่มชาติพันธ์ุไทยพวน
บ้านทราย-บ้านหมี่

เล่าขานตำนานไทยพวนบ้านทราย

คนพวนคือใคร ... คำว่า “พวน” หรือ “คนพวน” หรือ “ไทพวน” หรือ “ไทยพวน” หมายถึง คำที่คนในบริเวณพื้นราบทางตอนใต้ใช้เรียก คนเผ่าไต หรือ คนเชื้อสายไทย สาขาหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สูงตรันนินห์ (Tranninh Plateau) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และภาษาพูด เป็นเอกลักษณ์หรือแบบแผนของตนเอง ในอดีตกาล ชนกลุ่มนี้ได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรอิสระปกครองตนเอง มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขปกครองอาณาจักร เรียกว่า อาณาจักรพวน หรือ เมืองพวน โดยมีเมืองเชียงขวางเป็นเมืองหลวง

ถิ่นเดิม

ชาวบ้านทรายสืบเชื้อสายบรรพบุรุษมาจาก “ชาวพวน” ซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ “เมืองพวน” แขวงเชียงขวางในประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ได้อพยพเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา

ข้อมูลโดย อ.สมคิด จูมทอง

ประเพณี - การละเล่น

ประเพณีกำฟ้า

เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า”กำ” ในภาษาพวนหมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือการบูชาฟ้า

มีตำนานเล่าต่อ ๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย

ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวนในจังหวัดลพบุรีนั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม)เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวยและ

มีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้

สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนายดังนี้

เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ

ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่าฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี

ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ

ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่าฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน

ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่าชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย

หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว

ปัจจุบันงานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่าง ๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไปบ้างปัจจุบันทางชมรมไทยพวนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ได้จัดให้ชาวบ้านมาร่วมกันจัดงานทำบุญกำฟ้าที่ศูนย์ศิลปาชีพประชาสุขสันต์ ในตำบลบ้านกล้วย โดยให้แต่ละบ้านทำข้าวจี่มาถวายพระหลังจากตักบาตรเช้าที่วัดใกล้บ้านแล้ว ในช่วงบ่ายก็แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ตอนเย็นจัดให้มีงานสังสรรค์นอกจากนี้บางปีก็ยังมีการเส็งกลอง หรือการแข่งขันตีกลอง ซึ่งเป็นการละเล่นที่หาดูได้ยาก

ประเพณีวันเข้าพรรษา

งานหล่อเทียนพรรษาในวันเข้าพรรษา

ประเพณีวันเข้าพรรษา

ชาวพวนนอกจากจะนับถือและยึดมั่นในศาสนาพุทธแล้ว ชาวพวนยังมีขนบธรรมเนียมและประเพณีเป้นเอกลักษณ์ของตนมาแต่โบราณ ชาวพวกนั้นเคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพรีของตนมากซึ่งได้ถือปฏิบัติมาตามแบบอย่าง บรรพบุรุษในรอบปีหนึ่งประเพรีของชาวพวนยังยึดถือและปฏิบัติกันมีดังนี้คือ

เดือนอ้ายบุญข้าวจี่
เดือนยี่บุญข้าวหลาม
เดือนสามบุญกำฟ้า
เดือนห้าบุญสงกรานต์
เดือนหกบุญหมู่บ้าน
เดือนแปดบุญเข้าพรรษา
เดือนเก้าบุญห่อข้าว
เดือนสิบเอ็ดบุญตักบาตรเทโว
เดือนสิบสองใส่กระจาดเทศก์มหาชาติ

ฟ้อนไทยพวน

การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน คือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอีสาน เป็นภูมิปัญญาแห่งบรรพชนที่ถ่ายทอดสืบต่อมาจวบจนปัจจุบัน ชนชาติใด มีดนตรี มีการฟ้อนรำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน นับได้ว่าชนชาตินั้นมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง

การละเล่นนางกวัก

เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทยพวน โบราณ ในเรื่อง ภูติ วิญญาณ ที่นำมาเล่นกัน เพื่อจะได้ติดต่อถึงวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว เพื่อ ถามสารทุกข์สุกดิบ และเรื่องต่าง ๆ ของผู้ตาย ว่า มีความเป็นอยู่อย่างไร ต้องการอะไรบ้าง เพื่อทางญาติพี่น้องยังมีชีวิตอยู่ จะได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดวงวิญญาณจะได้สงบสุข มีความเป็นอยู่ในภพที่ดี แต่บางคนก็จะถามถึงเรื่องโชคลาภ วาสนา เนื้อคู่ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว และบางคจะถามถึงเลขเด็ด ( ถ้าเล่นกัน ในวันใกล้หวยออก )การเล่นนางกวัก ลักษณะคล้ายกับการดูหมอซึ่งจะทำให้ผู้ถาม เกิดความกระจ่างและเกิดความสบายใจในสิ่งที่เป็นกังวลใจ

วิธีการเล่น

นำอุปกรณ์ เตรียมไว้ มาประกอบกันให้เป็นตัวนางกวัก โดยใช้เชือกผูกส่วนหัว และตัวติดกัน นำกวักมาทำเป็นส่วนตัว และนำกะลามะพร้าวมาผูกเป็นส่วนหัว นำไม้คานมาผูกทำเป็นส่วนแขน นำเสื้อผ้ามาแต่งตัวให้กับกวัก แต่งตัวกวักให้เหมือนหุ่นไล่กา เตรียมทรายใส่กระด้งไว้ สำหรับทำเป็นที่เขียนหนังสือของกวัก แล้วทำพิธีอัญเชิญวิญญาณผีเข้าสิงกวัก โดยให้ผู้หญิงที่ถือกวัก 2 คน คนละข้างยกกวักไว้ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปอัญเชิญ โดยมีตัวแทนของผู้เล่น ที่มีอาวุโส ( คนแก่ ) เป็นผู้อัญเชิญ และทำพิธีขอขมาลาโทษต่อเจ้าที่เจ้าทาง และผีทางหลวงทางก่อนที่จะทำการเล่นส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ หรือผู้ดูจะนั่งล้อมวงกันอยู่รอบ ๆ กระด้งที่มีทรายใส่ไว้จนเต็มซึ่งปาดหน้าให้เรียบพวกที่นั่งล้อมวงอยู่ก็จะ ช่วยกันกล่าวคำร้องเชิญดวงวิญญาณเข้าทรงกวัก ดังต่อไปนี้

“ นางกวักเอย นางกวักทักแท่ เห่เจ้าแหญ่ อีแม่แญญอง หาคนญาคนญอง เห้อสูงเพียงช้าง เจ้าอย่าอ้างต่างหู เดือนหงาย สานลิงสานลาย เดือนหงายเดือนแจ้ง เจ้าอย่างแอ้ง อีแท่นางกวัก กวักเจ้ากวัก นางกวักทักแท่ “ การร้องเชิญดวงวิญญาณเข้าทรงกวัก จะร้องวนขึ้นต้นกันใหม่ ร้องซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าวิญญาณจะเข้าสิ่งกวัก เมื่อผีเข้าสิงกวักจะรู้ได้ ให้สังเกตจากกวักที่คนทรงถือ คือกวักจะเริ่มสั่นไหว แล้วก็ดินกระโดดโถมไปโถมมา ทางซ้ายทางขวา ตามจังหวะเสียงร้องคำเชิญ ถ้ากวักเคลื่อนไหวลักษณะดังกล่าว แสดงว่าวิญญาณกวักเข้าทรงแล้ว คนทรงหรือคนถือก็นำกวักมานั่งใกล้ ๆ กับกระด้งที่เตรียมไว้ ขณะที่นำนางกวักมานั้น กวักจะสั่นอยู่ตลอดเวลา ผู้เล่น โดยเฉพาะหนุ่ม ๆ สาว ๆ ก็จะเริ่มตั้งคำถามต่าง ๆ ที่อยากรู้ ลักษณะคล้าย ๆ กับการทำนายทายทักแบบหมอดู แต่การเล่นกวักจะใช้วิธีตอบคำถามโดยการเขียนหนังสือโต้ตอบ เมื่อผู้ถาม ๆ จบ กวักก็จะตอบโดยการใช้แขนที่ทำด้วยไม้คาน เขียนเป็นหนังสือลงบนทรายที่กระด้ง คนถามก็จะได้คำตอบทันที แต่การเขียนตอบจะเขียนไม่ยาว เป็นเพียงข้อความสั้น ๆ เช่น ใช่ ไม่ใช่ ได้ ไม่ได้ ดี ไม่ดี ฯลฯ

การถามคำถามนั้น จะสลับไปกลับการร้องเพลงประกอบ ขณะที่มีการร้องเพลง เคาะจังหวะ นางกวักก็จะเต้นล้มไปด้านซ้าย ด้านขวาตลอดเวลาตามจังหวะด้วย ซึ่งเป็นที่สนุกสนานทั้งนางกวักและผู้เล่น จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายและหมดคำถามที่จะถามแล้ว ก็จะเชิญวิญญาณที่เข้าสิงนางกวักออก โดยทำพิธีไปส่งที่จุดแรกที่เชิญเข้าทรง เมื่อวิญญาณออกแล้ว กวักที่คนทรงถืออยู่ก็จะมีอาการสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว

โอ้น้อ..ที่มีกาลฮับต้อน อย่างสมเกียรติจบงาม การอยู่กินไปมาสะดวกดี ทันด้าน สมว่าเป็นเมืองบ้าน เฮือนเคียงของน้องพี่ เฮียมได้เนาที่นี่เสมอบ้านแคมตน พี่น้องเอย

โอ้น้อ..มาถึงตอนท้ายนี้ เฮียมขอกล่าวอวยพร ขอวิงวอนคุณพุทธ พระธรรมองค์เจ้า ขอให้มานำเข้า บันดาลและหยู้ส่ง ขอให้พงศ์พี่น้อง อายุมั่นหมื่นปี เว้ามาฮอดบ่อนนี้เฮียมขอกล่าวลาลง ขอขอบใจพงศ์สาย โง้ ลุง อาว ป้า ที่ได้อดสาเยี้ยนฟังเฮา น้อต้านกล่าว หวังว่าคราวหน้าพุ้นคงสิได้พบกัน พี่น้องเอย ลา..ลงท้อนี้..แหล่ว ๆ

โอ้น้อ..มื้อนี้แม้ เลิศล้ำ มื้อประเสริฐ ดีงาม เฮาจึงมีเวลาพบกัน คราวนี้ โอกาสดีนางได้ เดินทางมาต้านกล่าว ถามข่าวคราวพี่น้องทางพี้ผู้สู่คน พี่น้องเอย

โอ้น้อ..ยามเมื่อมาพบพ้อ แสนชื่นสมใจ พี่น้องเอย พอสร้างไขวาจาสิ่งใดมาเว้า เฮียมขอเอามือน้อมประนมกรละต้านต่อ ขอขอบใจพี่น้องทางพี้ผู้สู่คน พี่น้องเอย

โอ้นอ..เฮานี่แม่นชาติเชื้อซาวเผ่าไทพวน พี่น้องเอย เนาอยู่เมืองเชียงขวางประเทศลาว ทางพุ้น กับทางพงศ์พันธุ์เซื้อ วงศ์วานคณาญาติ พากันเนาสืบสร้างทางพู้นคู่สู่คน พี่น้องเอย

โอ้น้อ..เฮานี่แม่นชาติเชื้อสายเลือดเดียวกัน พี่น้องเอย มีหลายอันคือกันบ่ต่างกันพอน้อย คอยหล่ำแล สีหน้าอาภรณ์ ทุกสิ่งอย่าง ทุกท่าทาง ปากเว้าเสมอด้ามดั้งเดียว กันนั่นแหล่ว

ประเพณีกำฟ้า

เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า”กำ” ในภาษาพวนหมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือการบูชาฟ้า

มีตำนานเล่าต่อ ๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต

ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย

ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวนในจังหวัดลพบุรีนั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม)เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวยและ

มีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้

การแต่งกาย

การแต่งกายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะเผ่าพันธุ์ และเอกลักษณ์ของชุมชนสังคมไทยประกอบไปด้วย กลุ่มชนที่มีเชื้อสายแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ผู้เขียนและอาจารย์มัลลิกา มังกรวงษ์ ได้ออกศึกษาวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนซึ่งมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป บทความนี้เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนใคร่จะเสนอให้เห็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ซึ่งนอกจากอาหารการกินอยู่ เครื่องใช้ไม้สอย ภาษา ความเชื่อ และประเพณีแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าสมใจใคร่รู้ก็คือการแต่งกาย ผู้เขียนอยากเสนอให้เห็นถึงการแต่งกายในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับวันแต่จะหมดไปกับกระแสสมัยใหม่ที่เร่งรีบ ในสมัยหนึ่งซึ่งผู้เขียนเป็นเด็กนักศึกษา เคยได้ไปศึกษาที่หมู่บ้านหาดเสี้ยว ยังจำได้ถึงหญิงชาวพวน

นุ่งผ้าถุงพื้นบ้านมีผ้าแฮ้งตู้ (เคียนนมและเกล้าผมเดินหาบกระจาดแถว ๆตลาดหาดเสี้ยว ซึ่งในสมัยก่อนเป็นตลาดไม้และทั้งหญิงและชายส่วนมากยังแต่งกายแบบพื้นเมือง เป็นสิ่งที่ประทับอยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืมดูแล้วช่างเหมือนกับภาพเขียนบน จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่านไม่มีผิด เรายังพอพบเห็นได้ตามหมู่บ้านซึ่งก็มักจะเป็นพ่อเฒ่าแม่เฒ่าและนับวันจะลาง เลือนจนหมดไปในที่สุดน่าเสียดายคนรุ่นหลัง ๆ ที่จะไม่ได้เห็นภาพประทับใจเช่นนั้นอีกดังที่บรรพบุรุษดำเนินมา ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงผ้าที่มีลักษณะพิเศษเช่น ตีนจกหรืออื่น ๆ ซึ่งจะหาอ่านได้ทั่ว ๆ ไปเพราะมีการเขียนถึงทั้งกรรมวิธี ลวดลายอันงดงามปราณีตคุ้นตาท่านผู้อ่านแล้ว แต่อยากจะขอกล่าวถึงผ้าถุงที่ใช้สอยในชีวิตประจำวันของชาวไทยพวน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีความสวยงามและเสน่ห์ที่แฝงเร้นอยู่กับสีสันลวดลาย และผูกพันอยู่กับจารีตประเพณีเก่าแก่ อันเป็นสิ่งแสดงถึงภูปัญญาและชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวบ้าน



หมู่บ้านหาดเสี้ยว หมู่บ้านหาดสูง เดิมเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ อพยพเข้ามาอยู่ก่อน ต่อมาถูกพวกแกว(ญวน) ซึ่งปกครองแถบนี้อยู่ก่อนบีบบังคับเก็บส่วยมาก จึงอพยพหนีไปและลาวพวนซึ่งอพยพมาจากเมืองพวน ตอนใต้ของเมืองหลวงพระบางในประเทศลาว มีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจและถูกกวาดต้อนลงมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าฯก็ มี ชาวพวนนี้อพยพลงมาอยู่ที่ต่าง ๆของประเทศไทย เช่นที่จังหวัด น่าน , ปราจีนบุรี , ฉะเชิงเทรา , สุพรรณบุรี , ราชบุรี , และส่วนหนึ่งได้อพยพมาอยู่ ณ อำเภอศรีสัชนาลัย บริเวณหมู่บ้านหาดสูง , บ้านหาดเสี้ยว , บ้านบ้านใหม่ , บ้านป่าไผ่ , บ้านแม่รากและบ้านป่างิ้วด้วย ซึ่งกระจายอยู่ในกลุ่มเดียวกัน


จารึกที่วัดหาดเสี้ยวกล่าวไว้ว่าได้สร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2387 ปีถามเมา (ปีเถาะไทย) ในคิมหันต์ฤดู (ฤดูร้อน) เดือนกินตะหม่า (เดือนห้าไทย) ซึ่งแต่เดิมชื่อวัดโพธิ์ไทย มาจนถึงปี พ.ศ. 2460 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส เสด็จและทรงโปรดรับสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อเสียใหม่ จากจารึกของวัดหาดเสี้ยวเองทำให้เราทราบว่าชุมชนพวนมาตั้งรกรากอยู่บริเวณ นี้ไม่ต่ำกว่า 150 ปีแล้ว


ที่มา:หนังสือSILK

อาหารพื้นถิ่น

อาหาร ของชาวไทยพวนที่มีประจำทุกครัวเรือนคือ ปลาร้า เมื่อมีงานบุญมักนิยมทำขนมจีน และข้าวหลาม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะเป็นอาหารง่าย ๆ ที่ประกอบจากพืชผัก ปลา ที่มีในท้องถิ่น เช่น ปลาส้ม ปลาส้มฟัก เป็นต้น ในด้านความเชื่อนั้น ชาวพวนมีความเชื่อเรื่องผี จะมีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นในเทศกาลก็จะมีการเล่นผีนางด้ง ผีนางกวัก ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีกำฟ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสักการะฟ้า เพื่อให้ผีฟ้า หรือเทวดาพอใจ เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติ

ปลาส้มฟัก

ผัดหมี่แดง

ขนมดาดกระทะ

ขนมกระยาสารท

หมกเมาะ

แกงหน่อไม้ดอง

วัฒนธรรมด้านภาษา ชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ อักษร "ร " ในภาษาไทยกลาง จะเป็น "ฮ" ในภาษาพวน เช่น รัก - ฮัก หัวใจ - หัวเจอ ใคร - เผอ ไปไหน - ไปกะเลอ

ปัจจุบันชาวพวนในจังหวัดลพบุรียังคงสภาพความเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังมีความผูกพันกัน แน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และมีความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ทั้งยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธ์อย่างดีแต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวพวนเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เช่น ภาษาพูด คนหนุ่มสาวจะนิยมพูดภาษาไทยกลาง แม้จะอยู่ในหมู่เดียวกัน หรือประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แต่เดิมประเพณีใส่กระจาด ประเพณีเทศน์มหาชาติ จะจัดทำทุกปี และมีการทำอาหารเลี้ยงดู และใส่กระจาดกันทุกบ้านปัจจุบันจะไปใส่กระจาดกันที่วัดหากปีใดเศรษฐกิจไม่ดี ก็งดใส่กระจาด เป็นต้น และนิยมทำบุญด้วยเงินมากกว่าสิ่งของตามความนิยมของสังคมปัจจุบัน

ตารางกิจกรรม


สถานที่ - แผนที่