กลุ่มชาติพันธ์มอญ-บางขันหมาก

ตามประวัติศาสตรกลาววา คนมอญ เริ่มอพยพเขามาสูประเทศไทยหลายคราวดวยกัน นับตั้งแตสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ. 2112-2133) เปนตนมา จนกระทั่งแผนดินสมเด็จพระพุทธเลิศ หลานภาลัยแหงกรุงรัตนโกสินทร พระมหากษัตริยไทยจะโปรดเกลาฯ ใหครอบครัวชาวมอญตั้งเรือนและ ปกครองดูแลกันเองในลักษณะประชาคม กระจายอยูในหลายจังหวัดของประเทศไทย อาทิ ปทุมธานี สมุทรปราการ ธนบุรี กรุงศรีอยุธยา เปนตน สําหรับชาว "มอญ" ที่อพยพเขามาตั้งบานเรือนอยูในจังหวัดลพบุรีนั้น นาจะเปนมอญที่ อพยพมาจากชุมชนชาวมอญอื่นอีกทอดหนึ่ง อาจารยภูธร ภูมิธน เชื่อวาเปนไปไดมากที่สุดคือ อพยพมาจาก ทางใตคือ บานบางระกํา และจากทิศตะวันตกคือ บานโพธิ์ขาวผอก ตําบลบางมัน อําเภอเมือง จังหวัด สิงหบุรี เพราะมีชาวมอญที่บานบางขันหมากหลายคนระบุเชนนั้น และชุมชนมอญทั้งสองแหงนี้ลวนอยูไมไกล จากบานบางขันหมาก สามารถติดตอกันไดโดยสะดวกผานทางแมน้ําลพบุรี มีนักวิจัยอีกทานหนึ่งคือ ดร.จารุวรรณ เบญจาทิกุล เชื่อวา ชาวมอญที่อพยพมาตั้งบานเรือน ในจังหวัดลพบุรีเปนมอญที่อพยพมาจากจังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ อยุธยา และสิงหบุรี ตอนแรกจะตั้ง บานเรือนอยูที่บริเวณทาดินเหนียว ซึ่งอยูในตําบลโพธิ์เกาตน ตอมาจึงไดยายมาตั้งบานเรือนบริเวณบานบางคู หรือตําบลบางขันหมากในปจจุบัน มอญกลุมนี้เรียกตัวเองวา "ไทยรามัญ" แตคนทั่วไปจะรูจักกันในนาม "มอญ บางขันหมาก" จากแนวความคิดสองแนวทางดังกลาวขางตน มีความสอดคลองกันในลักษณะที่วา ชุมชน ชาวมอญขันหมากมิไดอพยพมาจากพมาโดยตรง แตอพยพตอมาจากดินแดนอื่นในประเทศไทย ซึ่งนาจะเปน ดินแดนใดสักแหงแถบลุมแมน้ําเจาพระยานั่นเอง สวนสาเหตุการอพยพอาจจะเกิดจากชุมชนเดิมเริ่มแออัด โจรผูรายชุกชุม เมื่อเดินทางมาถึงพบวาในตําบลบางขันหมากยังวางเปลา เปนที่ราบใกลแมน้ําลพบุรี ชัยภูมิดี มากคือหนาน้ําขึ้นจะลอมรอบเกือบจะเปนเกาะ อยูใกลกับตัวเมือง สะดวกในการคมนาคมติดตอกับดินแดน ใกลเคียง และพื้นดินเหมาะสมกับการทํานาอีกดวย จึงเริ่มตั้งบานเรือนขึ้นเปนชุมชนริมแมน้ําลพบุรีทั้งสองฝง และขยายออกไปถึงริมถนนสายลพบุรี - สิงหบุรี ทั้งสองฝงเชนเดียวกัน เมื่อมีการสรางเสนทางสายนี้ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ที่มา: องค บรรจุน


มอญ

ช า ว ม อ ญ ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตภาคกลางและภาคเหนือบางส่วน ในลพบุรีก็มีชาวมอญตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่ไม่ใช่กลุ่มใหญ่เมื่อเทียบกับชุมชนมอญแถบอำเภอปากเกร็ด สามโคก หรือบ้านโป่ง โพธาราม แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะร่วมกันคือ ชาวมอญมักอยู่อาศัยตามริมแม่น้ำ ชาวมอญที่ลพบุรียึดสองฝั่งลำน้ำลพบุรีเป็นที่ตั้งชุมชนมีชื่อว่า "มอญบางขันหมาก"

บางขันหมากเป็นตำบลใหญ่ของอำเภอเมืองลพบุรี มีถึง 12 หมู่บ้าน แต่บ้านมอญนั้นอยู่ในหมู่ที่ 1, 2, 3, 6, 7, 9, 12 คนที่นี้เรียกกันว่า "บางขันหมากใต้" ส่วนหมู่ที่เหลือเป็นกลุ่มบ้านคนไทย ในบางขันหมากมีชาวมอญมากประมาณสามในสี่ของประชากรทั้งตำบล วัดที่เป็นศูนย์กลางมีถึง 4 วัดด้วยกัน คือ วัดกลาง วัดอัมพวัน วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม และวัดโพธิ์ระหัต

เชื่อกันว่า ชาวมอญบางขันหมากอพยพมาจากอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยเดินเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาตามลำน้ำลพบุรี "จากการศึกษาของ เทอดศักดิ์ มหาเรือนทรง เรื่อง "เรือนมอญที่ลพบุรี"พบว่า ชาวมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บางขันหมากก่อน พ.ศ. 2393 หรือเมื่อเกือบ 150 ปีมาแล้ว เพราะหลักฐานทางสถาปัตยกรรมของวัดโพธิ์ระหัต อันเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในชุมชนแห่งนี้ ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2393"

ชาวมอญบางขันหมากเคร่งครัดในวัฒนธรรมประเพณีของตนไม่ต่างจากคนมอญกลุ่มอื่น เช่นที่วัดทั้ง 4 แห่งจัดให้มีการเรียนการสอนหนังสือมอญทั้งแก่พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้าน พระภิกษุสวดมนต์เป็นภาษามอญ เด็กมอญทั้งชายและหญิงไว้ผมโก๊ะ คือโกนผมหมดเหลือไว้ เฉพาะเพียงกลางกระหม่อมจนกระทั่งจบชั้นประถมศึกษา ชาวบ้านถือผีเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นผีบรรพบุรุษ (ฮะกาว-กะล่ก) ผีเรือน (กะลก-ฮ่อย) หรือผีหมู่บ้าน (ปะจุ๊) เป็นต้น

ประเพณี

ประเพณี - ความเชื่อของชาวมอญบางขันหมาก

ชาวมอญหรือชาวรามัญ ที่ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ยังคงยึดมั่นอยู่ในประเพณีความเชื่ออันมีเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ซึ่งประเพณีความเชื่อบางประการจะคล้ายคลึงกับประเพณีของชาวมอญโดยทั่วไปในประเทศไทย แต่ประเพณีบางประการมีความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวมอญที่ตำบลบางขันหมากเท่านั้น ซึ่งเคยยึดถือมาแต่อดีตและยังสืบทอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ประเพณีในรอบสิบสองเดือน

วิธีศึกษาประเพณีในรอบสิบสองเดือน คือคนโบราณจะเริ่มวันขึ้นปีใหม่ในวันสงกรานต์ ซึ่งตรงกับเดือนห้าตามปฏิทินจันทรคติ ชาวมอญก็เริ่มนับที่เดือนห้าเช่นเดียวกัน

ประเพณีในรอบสิบสองเดือนของชาวมอญตำบลบางขันหมากเรียงลำดับต่อไปนี้

เดือนห้า สงกรานต์ เมื่อเสร็จสงกรานต์มีการเล่นผีลิงลม

เดือนหก เดือนเจ็ด เป็นฤดูที่ต้องออกไถนา มีเล่นผีกลางคืน

เดือนแปด ฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านเข้าวัดถือศีล

เดือนเก้า ทำบุญกระจาดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ โดยการนำผลไม้ อาทิ ส้มโอ กล้วย อ้อย หอม กระเทียม กะปิ ข้าวสาร ฯลฯ ใส่ชะลอมไปถวายพระในวันขึ้น 15 ค่ำ นอกจากนี้จะเตรียมสานกระบุง ตะกร้า อีดูด อีตุ้ม อีจู้ ลัน ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือหาปลาเตรียมไว้

เดือนสิบ ออกหาปลาโดยการลงเบ็ดลงข่าย ดักตุ้ม ครั้นขึ้น 15 ค่ำ จะทำบุญตักบาตรด้วยน้ำผึ้ง ถ้าหาไม่ได้จะใช้น้ำตาลทรายขาวแทน ครั้นสิ้นเดือนสิบจะเป็นเทศกาลทำบุญสารท ชาวมอญจะตระเตรียมข้าวของขึ้นเองทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ตำข้าวเม่า คั่วข้าวตอก จนกระทั่งกวนกระยาสารท เมื่อถึงวันทำบุญสารทจะตัดธงเป็นรูปต่างๆ สวยงามประดับของถวายพระอย่างงดงาม

เดือนสิบเอ็ด เทศกาลออกพรรษา ชาวมอญจะทำสำรับกับข้าวไปถวายเพลพระ ฟังเทศน์มหาชาติ และเริ่มประเพณีทอดกฐิน ผ้าป่า

เดือนสิบสอง ในเทศกาลลอยกระทง ชาวมอญบางขันหมากมีประเพณีร่วมแรงกันตามหมู่บ้านต่างๆ ประดิษฐ์กระทงใบใหญ่ถวายพระแม่คงคา เพื่อขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ได้กระทำให้แม่น้ำลำคลองสกปรก อาทิ ทิ้งขยะของเสียต่างๆ หรือแม้แต่การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลงในแม่น้ำลำคลอง

เดือนอ้าย ไม่ปรากฏประเพณีเป็นการเฉพาะ แต่ชาวมอญจะออกหาปลานำมาประกอบอาหารและถนอมอาหารเก็บไว้ อาทิ ปลาเค็ม ปลาย่าง ปลาส้ม ปลาจ่อม เอาไว้รับประทานในฤดูเก็บเกี่ยว ชาวมอญบางขันหมากที่เป็นผู้หญิงนิยมยกยอขนาดเล็กหาปลาในแอ่งน้ำตื้นๆ และใช้ชนางช้อนกุ้ง นอกจากนี้ยังนิยมใช้สุ่มและเบ็ดหาปลาอีกด้วย เครื่องมือหาปลาที่กล่าวมานี้ไม่เป็นที่นิยมของผู้ชาย

เดือนยี่ - สาม เป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งจะมีประเพณีรับขวัญแม่โพสพ โดยนำรวงข้าวจัดเป็นรูปร่างคล้ายโคมห้อยแล้วปักไว้บนกองข้าวเปลือกในยุ้งข้าว ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวยังพอมีปรากฏอยู่บ้าง นอกจากปลูกข้าวเจ้าพันธุ์เบาแล้ว ชาวมอญยังนิยมปลูกข้าวเหนียวเอกไว้สำหรับทำขนมบ้างเล็กๆ น้อยๆ

เดือนสี่ ประเพณีเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีโดยการเดินเท้าและมีเกวียนบรรทุกสัมภาระจำเป็นและของสำหรับตักบาตรใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4





การแต่งกาย






อาหารพื้นถิ่น


ขนมตอยกะนะ ขนมเล็บมือนาง


ฟะฮะเจ๊บ แกงกะเจี๊ยบ


ขนมกะโตเจิน ขนมหูช้าง


แกงเอื้อง ฟะฮะเวี่ย


ตารางกิจกรรม