เรื่องที่ 1 อาเซียนกับการพัฒนาอาชีพ
การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอาเซียนให้มีความเจริญก้าวหน้าและแข่งขันได้ ในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในหลาย ด้านที่ส่งผลให้โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อันเป็นยุคของสังคมฐานความรู้ กลไกความร่วมมือด้านการศึกษาจึงเป็น สิ่งจําเป็นพื้นฐานในการสร้างอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและ สังคม โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพมนุษย์เพื่อสร้างอนาคตที่รุ่งเรืองของอาเซียน
การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอาเซียนให้มีความเจริญก้าวหน้าและแข่งขันได้ ในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในหลาย ด้านที่ส่งผลให้โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อันเป็นยุคของสังคมฐานความรู้ กลไกความร่วมมือด้านการศึกษาจึงเป็น สิ่งจําเป็นพื้นฐานในการสร้างอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและ สังคม โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพมนุษย์เพื่อสร้างอนาคตที่รุ่งเรืองของอาเซียน
การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ ให้มีศักยภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมทั้งสามารถสนองตอบ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ ให้มีศักยภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมทั้งสามารถสนองตอบ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ความร่วมมือของอาเซียนด้านการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืนโดยมีประชาชนเป็น ศูนย์กลาง สําหรับประเทศไทยประโยชน์ที่จะได้รับในกรอบความร่วมมือกับอาเซียน ได้แก่ ความช่วยเหลือด้าน วิชาการ และเทคนิคภายใต้โครงการต่างๆ รวมทั้งการกําหนดนโยบายที่อาศัยการผลักดันร่วมกันภายใต้กรอบ อาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ และโอกาสที่จะมีสิทธิ์มีเสียงในการ ผลักดันนโยบายของประเทศสู่เวทีระดับนานาชาติ ตลอดจนโอกาสในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย ในเวทีโลก ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยด้านการศึกษาเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป การศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพ การศึกษา การนําโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอํานวยความสะดวกและเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามารองรับการขยาย โอกาสและการยกระดับคุณภาพการศึกษาตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษาในเชิงคุณภาพ เพื่อสร้าง ประชาคมอาเซียนให้เป็นดินแดนแห่งความสงบสุข สันติภาพและมีความเจริญ รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือของอาเซียนด้านการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืนโดยมีประชาชนเป็น ศูนย์กลาง สําหรับประเทศไทยประโยชน์ที่จะได้รับในกรอบความร่วมมือกับอาเซียน ได้แก่ ความช่วยเหลือด้าน วิชาการ และเทคนิคภายใต้โครงการต่างๆ รวมทั้งการกําหนดนโยบายที่อาศัยการผลักดันร่วมกันภายใต้กรอบ อาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ และโอกาสที่จะมีสิทธิ์มีเสียงในการ ผลักดันนโยบายของประเทศสู่เวทีระดับนานาชาติ ตลอดจนโอกาสในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย ในเวทีโลก ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยด้านการศึกษาเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป การศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพ การศึกษา การนําโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอํานวยความสะดวกและเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามารองรับการขยาย โอกาสและการยกระดับคุณภาพการศึกษาตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษาในเชิงคุณภาพ เพื่อสร้าง ประชาคมอาเซียนให้เป็นดินแดนแห่งความสงบสุข สันติภาพและมีความเจริญ รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม มีรายได้หลักจากอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าและบริการ การ ท่องเที่ยว การบริการ เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเป็น อันดับที่ 24 ของโลก และมีมูลค่าการนําเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ตลาดนําเข้าสินค้าไทยที่สําคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย
ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม มีรายได้หลักจากอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าและบริการ การ ท่องเที่ยว การบริการ เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเป็น อันดับที่ 24 ของโลก และมีมูลค่าการนําเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ตลาดนําเข้าสินค้าไทยที่สําคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย
อย่างไรก็ตาม แรงงานส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ สําคัญที่สุดของประเทศ และถือได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนการส่งออกคิด เป็นร้อยละ 36 ของโลก ประเทศไทยมีพื้นที่ซึ่งเหมาะต่อการเพาะปลูกกว่า 27.25% ซึ่งในจํานวนนี้กว่า 55% ใช้
อย่างไรก็ตาม แรงงานส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ สําคัญที่สุดของประเทศ และถือได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนการส่งออกคิด เป็นร้อยละ 36 ของโลก ประเทศไทยมีพื้นที่ซึ่งเหมาะต่อการเพาะปลูกกว่า 27.25% ซึ่งในจํานวนนี้กว่า 55% ใช้
สําหรับการปลูกข้าว ส่วนพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงมีการ เพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ําทั้งปลาน้ําจืด ปลาน้ําเค็มในกระชัง การทํานากุ้ง การเลี้ยงหอย รวมไปถึงการประมงทางทะเล เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหารตลอดปี จึงได้ ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สําคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5
สําหรับการปลูกข้าว ส่วนพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงมีการ เพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ําทั้งปลาน้ําจืด ปลาน้ําเค็มในกระชัง การทํานากุ้ง การเลี้ยงหอย รวมไปถึงการประมงทางทะเล เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหารตลอดปี จึงได้ ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สําคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5