เรื่องที่ 1 การเขียนโครงการพัฒนาชุมชน

กระบวนการพัฒนาชุมชนอาจเริ่มจากการจัดทําแผนพัฒนาชุมชนการเขียนโครงการ ขับเคลื่อน ไปสู่การปฏิบัติตามแผนงานและโครงการนั้นๆ แล้วสรุปบทเรียนประเมินผล โครงการ เขียนรายงานผลการ ดําเนินงานแล้วดําเนินการพัฒนาต่อไปตามกิจกรรมต่างๆ ของโครงการโดยการเขียนโครงการเพื่อการนําไป ปฏิบัติต่อไป การเขียนโครงการและรายงานผลการดําเนินงานมีลักษณะเฉพาะและมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ผู้เขียนจําเป็นต้องศึกษาองค์ ประกอบ และรายละเอียดให้ชัดเจนจึงจะลงมือเขียนได้


1.1 ความหมายของโครงการ

มีผู้ให้ความหมายของคําว่า “โครงการ” ไว้หลายความหมาย ดังนี้

1) โครงการ หมายถึง กลุ่มกิจกรรมที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ โดยมีเวลา เริ่มต้น และสิ้นสุดที่ชัดเจน (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา 2545 : 37)

2) โครงการ หมายถึง กลุ่มกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มุ่งตอบ สนอง เป้าหมายเดียวกัน มีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดที่ชัดเจน เป็นงาน พิเศษที่ต่างจากงาน ประจํา (ทวีป ศิริรัศมี, 2544 : 31)

3) โครงการ หมายถึง กิจกรรมที่จัดทําขึ้น เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าจะทํางาน อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร และจะเกิดผลอย่างไร (กรมการศึกษานอก โรงเรียน, 2537 : 7)

สรุปความหมายของโครงการ หมายถึง กลุ่มกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่จัดทําขึ้น โดยมี วัตถุประสงค์ การปฏิบัติ และช่วงเวลาที่ชัดเจน

1.2 ลักษณะของโครงการ

โครงการที่ดีโดยทั่วไปต้องมีลักษณะที่สําคัญ ดังนี้

1) นําไปปฏิบัติได้

2) สอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม ชุมชน

3) มีรายละเอียดเพียงพอ ระบุช่วงเวลา กลุ่มเป้าหมายแนวทางการปฏิบัติ ทรัพยากร (บุคลากร งบประมาณ ฯลฯ)

4) มีตัวบ่งชี้ที่นําไปสู่การพัฒนา

1.3 วิธีพัฒนาโครงการ

โครงการเป็นกรอบการคิดวางแผนเค้าโครงการทํางานในอนาคต การพัฒนา โครงการ มีขั้นตอน พอสรุปได้ดังนี้

1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของชุมชนเพื่อกําหนดปัญหาและความ ต้องการในการพัฒนา

2) กําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทํางาน

3) กําหนดกิจกรรมและจัดทํารายละเอียดตามองค์ประกอบของโครงการ

4) กําหนดทรัพยากร เช่น งบประมาณ บุคลากร

5) กําหนดการติดตามประเมินผล

1.4 โครงสร้างองค์ประกอบของโครงการ

โดยทั่วไปการเขียนโครงการจะต้องเขียนตามหัวข้อต่างๆ เพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะ ได้ทราบว่าจะทําอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร สําหรับโครงสร้างหรือองค์ประกอบที่มักใช้ใน การ เขียนโครงการ มีดังนี้

1) ชื่อโครงการ ควรเขียนเป็นข้อความที่มีความหมายชัดเจน กระชับและ เข้าใจ ง่าย

2) หลักการและเหตุผล ควรเขียนลักษณะบรรยายรายละเอียดตั้งแต่สภาพ ความ เป็นมา เหตุผล ความจําเป็นหลักการมีทฤษฎี นโยบาย สถิติที่เป็น ข้อมูลอ้างอิงประกอบ

3) วัตถุประสงค์ เป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ สอดคล้องกับหลักการเหตุผล สามารถปฏิบัติได้ อาจระบุปริมาณหรือคุณภาพของการดําเนินงาน ด้วยก็ได้

4) เป้าหมายการดําเนินงาน เป็นรายละเอียดที่แสดงผลผลิตของโครงการ ในเชิง ปริมาณ และคุณภาพที่มีลักษณะเหมาะสมและสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์

5) วิธีดําเนินงาน เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะปฏิบัติให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ กิจกรรมอาจมีมากกว่า 1 กิจกรรม โดยเขียนเรียงตามลําดับ จากการเริ่มต้นจนสิ้นสุด การทํางาน แสดงระยะเวลาที่ชัดเจนแต่ละ กิจกรรม อาจแสดงด้วยปฏิทินการปฏิบัติงาน

6) ระยะเวลา ควรระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ

7) ทรัพยากรหรืองบประมาณที่ใช้ในการดําเนินการ ซึ่งต้องสอดคล้องกับ เป้าหมายและกิจกรรม

8) เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระบุ กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สนับ สนุน ส่งเสริมและสามารถขอประสานความร่วมมือในการดําเนินงาน

9) การประเมินผล ระบุวิธีการประเมินและระยะตลอดการดําเนินงาน เช่น ก่อน ระหว่าง สิ้นสุดโครงการ เพื่อจะได้ทราบว่างานที่จะทําเป็นไปตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย หรือไม่ คุณภาพของงานเป็นอย่างไร

10) ผู้รับผิดชอบโครงการ ระบุ ชื่อผู้รับผิดชอบ หรือหน่วยงาน พร้อมหมายเลข โทรศัพท์ เพื่อความชัดเจนและสะดวกในการติดต่อ

11) ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น ระบุ ชื่องาน หรือโครงการ ที่เกี่ยวข้องของ หน่วยงาน หรือชุมชนว่ามีโครงการใดบ้างที่สัมพันธ์กับโครงการนี้ และเกี่ยวข้องในลักษณะใด เพื่อ ความร่วมมือในการทํางาน

12) ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นผลที่เกิดผลจากการที่โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายโดยระบุถึงผลที่จะได้รับภายหลังการดําเนินโครงการ ผล ดังกล่าวควรสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของโครงการ