เรื่องที่ 2 การเขียนโครงการพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคง


เหตุผลของการทำโครงการพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคง

ในการเรียนรู้ที่ผ่านมาเป็นเรื่องของการทำแผนธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทที่ให้ ความสำคัญกับการใช้เหตุผล การกำหนดทิศทางธุรกิจให้มีความพอดีและมีภูมิคุ้มคัน การกำหนด แผนปฏิบัติสร้างความรอบรู้และขับเคลื่อนแผนสู่ความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ซึ่งเป็นเรื่องภายในของ ผู้ประกอบการขยายอาชีพเท่านั้น แต่การทำธุรกิจที่จะต้องพัฒนาออกไปจำเป็นต้องใช้ทุนเพิ่มเติมหรือ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือเอกชน การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวผู้ให้ต้องการทราบ รายละเอียดการดำเนินงานช่วยเหลือจากภาครัฐหรือเอกชน การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวผู้ให้ต้องการ ทราบรายละเอียดการดำเนินงานมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร มีผลที่เกิดอะไรบ้างและกระทบต่อสังคมชุมชน อย่างไร คุ้มค่าที่จะให้การสนับสนุนหรือไม่ หรือมีโอกาสที่จะสร้างกำไร นำรายได้มาคืนสถาบันทาง การเงินไต้หรือไม่

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนโครงการพัฒนาอาชีพ เพื่อ นำเสนอขอรับความช่วยเหลือหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับแหล่งทุน

โครงการเป็นเอกสารภาพรวมของแผนธุรกิจ เพื่อใช้นำเสนอต่อสังคมในการเผยแพร่ความคิด หรือใช้นำเสนอเพื่อขอความช่วยเหลือ สนับสนุนเงินทุน ซึ่งประกอบด้วยสาระที่แสดงให้เห็นความสำคัญ และคุณค่าของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย

1. ชื่อโครงการ

2. เหตุผล หลักการ

3. เป้าประสงค์

4. วัตถุประสงค์

5. ผลได้ของโครงการ

6. วิธีดำเนินงาน

7. งบประมาณดำเนินการ

8. ผลดำเนินโครงการ

การเขียนโครงการ

1. การเขียนชื่อโครงการ

โดยทั่วไป มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) ข้อความบ่งบอกว่าทำอะไร (2) ข้อความว่าเป็นของ ใครและ(3) นำเสนอใคร

“โครงสร้างขยายอาชีพเกษตรอินทรีย์ ชุมชนบ้านครองหาด นำเสนอขอการสนับสนุนจากทางอำเภอครองหาด”

2. การเขียน ความสำคัญและหลักการ

เป็นสาระส่วนที่บอกความสำคัญของการจัดทำโครงการและหลักการดำเนินการ ซึ่งมี โครงสร้างการเขียน ดังนี้

2.1 โครงสร้างการเขียนความสำคัญ การเขียนความสำคัญในการขยายอาชีพ ควรจะเป็น สาระสำคัญในธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย

2.1.1 เขียนบ่งบอกสภาวะแวดล้อมอาชีพ ได้แก่

(1) สภาพที่ดิน สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการดำเนินโครงการ

(2) ผลิตผลอะไรที่เหมาะสมในการผลิต

(3) ลักษณะคุณภาพผลผลิตที่ลูกค้าต้องการ

(4) ลูกค้าเป็นใคร อย่างไร

(5) ขายให้กับใคร ส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอย่างไร

(6) จะสามารถเข้าไปยึดตลาดส่วนแบ่งตลาดได้ร้อยละเท่าไร

2.1.2 เขียนสรุปให้เห็นความสำคัญที่เกี่ยวข้องคับ

(1) การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

(2) การมีส่วนร่วมสร้างความพอเพียงด้านต่าง ๆ ให้กับชุมชน

2.2 การเขียนหลักการ เป็นข้อความต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกว่า โครงการจะทำอะไร ให้ใคร ทำแค่ไหน และทำอย่างไร ดังนี้

2.2.1 จะทำอะไร ให้ใคร ดังตัวอย่าง

(1) มุ่งเน้นผลิตผักผลไม้ระบบเกษตรอินทรีย์ขายให้กับกลุ่มผู้รักษาสุขภาพ

2.2.2 ทำอย่างไรดังตัวอย่าง

(1) ให้ความสำคัญลับการประยุกต์ระบบนิเวศธรรมชาติเข้าสู่ระบบการเกษตร

2.2.3 ทำที่ไหน ดังตัวอย่าง

(1) การดำเนินงาน จะเริ่มต้นที่แปลงเกษตรของผู้ทำแล้วส่งเสริมการเรียนเขยาย เครือข่ายการปลูกผักอินทรีย์ออกไป

3.การเขียนเป้าหมายโครงการ

3.2 การเขียนข้อความเป้าหมายโครงการ ควรพิจารณาสิ่งต่อไป

(1) ข้อความบ่งชี้ว่าทำอะไร ต้องเป็นเรื่องสำคัญ เป็นหัวเรื่องหลักของโครงการ

(2) ปริมาณงานที่ระบุต้องมีข้อความสามารถทำได้จริง

(3) ระยะเวลาสำเร็จต้องเหมาะสมกับปริมาณงาน และมีความเป็นไปไต้จริงที่จะทำ สำเร็จ

4. การเขียนวัตถุประสงค์โครงการ

เป็นข้อความที่ขยายภาพของเป้าหมายโครงการให้มองเห็นภาระงานที่จะต้องทำให้ สำเร็จ โดยมีรายละเอียดการคิด การเขียน ดังนี้

5. การเขียนผลได้ของโครงการ

การเขียนผลได้ของโครงการเป็นการเขียนสิ่งที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากโครงการอย่างมี เหตุมีผล ด้วยการนำวัตถุประสงค์โครงการมาวิเคราะห์กำหนดผลได้ที่ควรจะเกิดตามตัวอย่าง วัตถุประสงค์ที่ 1




1. ฝึกอบรมเกษตร 2. มีผู้ผ่านการ'แกอบรม 60 คน

2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ 2.1 บอกวิธีการพัฒนาคุณภาพดินได้

2.2 บอกวิธีการเพาะปลูกพืชในระบบ เกษตรอินทรีย์ได้

2.3 บอกวิธีการอารักขาพืชในระบบ เกษตรอินทรีย์ได้

2. การเขียนวิธีดำเนินงาน

เป็นการเขียนเรียงลำดับในแต่ละจุดประสงค์ โดยมีขั้นตอนการเขียนดังนี้

2.1 ยกข้อความ วัตถุประสงค์และผลได้โครงการมาเป็นตัวตั้ง

2.2 ดำเนินการวิเคราะห์ผลได้แต่ละตัวเพื่อกำหนด กิจกรรม ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

ได้เกิดผลได้

2.3 ระบุเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของงาน

2.4 กำหนดระยะเวลาดำเนินงานที่เป็นจริง ตัวอย่างการเขียนวิธีดำเนินงาน

6. การเขียนวิธีดำเนินงาน

เป็นการเขียนเรียงลำดับในแต่ละจุดประสงค์ โดยมีขั้นตอนการเขียนดังนี้

6.1 ยกข้อความ วัตถุประสงค์และผลได้โครงการมาเป็นตัวตั้ง

6.2 ดำเนินการวิเคราะห์ผลได้แต่ละตัวเพื่อกำหนด กิจกรรม ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

ได้เกิดผลได้

6.3 ระบุเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของงาน

6.4 กำหนดระยะเวลาดำเนินงานที่เป็นจริง ตัวอย่างการเขียนวิธีดำเนินงาน

7. การเขียนงบประมาณดำเนินการเป็นการนำกิจกรรมขั้นตอนดำเนินการมาวิเคราะห์รายละ

เอียดของรายจ่ายแล้วจัดทำเอกสารบรรจุในโครงการ ดังตัวอย่าง

8. การเขียนผลดำเนินโครงการ

เป็นการนำผลได้ว่า คิดวิเคราะห์ว่า ล้าการดำเนินงานเกิดผลได้ตามที่กำหนด จะมีผลที่ เกิดอะไรบ้าง และมีผลกระทบอย่างไรที่ทำให้มองเห็นคุณค่าของโครงการ ดังตัวอย่างนี้