เรื่องที่2 การวิเคราะห์ทุนปัจจัยการผลิตหรือการบริการ


ทุน หมายถึง เงินลงทุนในการดําเนินงานธุรกิจ(ผลิตหรือบริการ)

ทุนถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการประกอบกิจการอาชีพให้ดําเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเจริญเตบิโตอย่างต่อเนื่อง

ต้นทุนการผลิต หมายถึง ทุน ในการดําเนินกิจการ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. ทนุคงที่ คือการที่ผู้ประกอบการจัดหาทุน เพื่อใช้ในการจัดหาสินทรัพย์ถาวร เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เป็นต้น ทุนคงที่ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

1.1 ทุนคงที่ที่เป็นเงินสด เป็นจํานวนเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อนํามาใช้ ในการดาํเนนิงานธรุกิจ

1.2 ทุนคงที่ที่ไม่เป็นเงินสด ได้แก่ พื้นที่ อาคารสถานที่ โรงเรือน รวมถึงค่าเสื่อม ของเครื่องจักร

2. ทุนหมุนเวียน คือ การที่ผู้ประกอบการจัดหาทุน เพื่อใช้ในการดําเนินการจัดหา สินทรัพย์หมุนเวียน เช่น วัตถุดิบในการผลิตผลผลิตหรือการบริการ วัสดุสิ้นเปลือง ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่า ไฟฟ้า ค่าโทรศพัท เป็นต้น ทนุหมนุเวยีนแบง่ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

2.1 ทนุหมนุเวียนทีเป็นเงินสด ได้แก่

2.1.1 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ดังนี้

1) วัสดุอุปกรณ์อาชีพในกลุ่มผลิตผลผลิต เช่น งานอาชีพเกษตรกรรม เช่น ค่า ปุ๋ย พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ค่าน้ํามัน เป็นต้น

2) วัสดุอุปกรณ์อาชีพในกลุ่มบริการ เช่น อาชีพรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า เช่น ค่า ผงซักฟอก ค่าน้ํายาซักผ้า เป็นต้น

2.1.2 ค่าจ้างแรงงาน เป็นค่าจ้างแรงงานในการผลิตหรือบริการ เช่น ค่าแรงงานใน การไถดิน ค่าจ้างลูกจ้างในร้านอาหาร 2.1.3 ค่าเช้าที่ดิน/สถานที่ เป็นค่าเช่าที่ดิน/สถานที่ในการประกอบธุรกิจ

2.1.4 ค้าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นค่าใช้จ่ายในกรณีอื่นที่นอกเหนือจากรายการต่าง ๆ

2.2 ทุนหมุนเวียนที่ไม่เป็นเงินสด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็นแรงงานในครัวเรือนส่วนใหญ่ ในการประกอบการ ธุรกิจจะไม่นํามาคิดเป็นต้นทุน จึงไม่ทราบข้อมูลการลงทุนที่ชัดเจน โดยการคิดค่าแรงในครัวเรือน กําหนดคิดในอัตราค่าแรงขั้นต่ําของท้องถิ่นนั้นๆ

ค่าเสียโอกาสที่ดิน กรณีเจาของธุรกิจมีที่ดินเป็นของตนเอง การคิดต้นทุนให้คิด ตามอัตราค่าเช่าที่ดินในท้องถิ่นหรือบริเวณใกล้เคียงในการดําเนินกิจการงานอาชีพ การบริหารเงินทุนหรือด้านการเงินนั้น เป็นสิง่ที่ ผู้ประกอบการต้องให้ความสําคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อความมั่นคงของอาชีพว่าจะก้าวหน้าหรือ ล้มเหลวได้ ดังนัน้ การใช้ทุนแต่ละชนิดต้องผ่านการวิเคราะห์ว่า จะต้องใช้ชนิดใด คุณภาพอย่างไร ปริมาณเท่าไร จึงจะเหมาะสมกับอาชีพ