ท่านครูบาศรี อริยวังโส นามเดิมชื่อ ศรีวงษ์ จันทร์แรง เกิดวันเสาร์ 10 ธันวาคม 2440 ณ บ้านต้นผึ้ง ม.3 ต.แม่แรง อ.ปากบ่อง(ปัจจุบัน อ.ป่าซาง) จังหวัดลำพูน ครูบาศรีเป็นเด็กวัดได้ 1 ปี เมื่ออายุย่างเข้า15 ปี พ.ศ. 2455 ก็บวชสามเณรที่วัดป่าบุก โดยมีพระครูวัดสันกำแพงงาม ต.มะกอก อ. ป่าซาง เป็นพระอุปัชฌาย์


ท่านครูบาศรีเป็นสามเณรได้ 5 ปีเมื่ออายุครบ 20 ปี พ.ศ. 2460 ตรงกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านครูบาศรีก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาที่อุโบสถวัดดอนตอง มีท่านพระครูวัดดอนน้อยเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแสน ณาณวุฒิ วัดหนองเงือกเป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากเป็นเป็นภิกษุแล้วท่านก็ได้ศึกษาธรรมะและปฎิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด


อนิจจาวตสังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ท่านครูบาศรีรู้ตัวว่าจะมีอายุไม่ถึง 60ปี จะต้องตายแน่นอน เนื่องจากโรคริดสีดวงทวารมันกำเริบมากทุกวัน เหลือทนที่จะอยู่ต่อไปได้ พญามัจจุราชก็รีบเร่งให้ปลงสังขารเข้าสู่นิพพานเสียเถิด ก่อนมรณภาพวันที่ 20 ก.พ. 2494


เก็บศพได้ 7 วันเกิดอภินิหารย์ คณะศรัทธา ครูบาอาจารย์ศิษย์ยานุศิษย์ก็ได้ทำพิธีเก็บศพท่านครูบาศรีไว้ที่กุฏิซึ่งเป็น ที่นอนเดิมของท่าน พอถึงวันที่ 28 ก.พ. 2494 ไมพระภิกษุสามเณรที่อยู่ที่วัดก็ได้ทำวัตรเย็นบนกุฎิ ก็ได้ยินเสียงดังขึ้นและมีแสงสว่างไสวไปทั่วกุฏิเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พระภิกษุสามเณรทั้งหลายพากันตกตลึงไปตามๆกัน จึงพากันวิ่งออกมาดูก็เห็นเป็นแสงสีเขียวขาวพุ่งขึ้นสูอากาศ แล้วก็ลอยไปทางตัวเมืองลำพูน ทิศตะวันออกแล้วก็หายไป พอถึงวันเดือนเพ็ญหรือเดือนดับขึ้น 15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ ก็มักจะมีแสงสว่างพุ่งขึ้น จึงเป็นที่ประหลาดกับผู้ที่ได้พบเห็น ว่าเป็นธาตุของท่านครูบาศรีนั่นเอง ท่านเป็นอรหันต์แล้ว คณะศรัทธาจึงประชุมตกลงกันเก็บศพของท่านครูบาศรีไว้นานถึง 8 เดือนเศษเกิดอภินิหารย์มีแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าก่อนประชุมเพลิง 1 วัน ประชุมเสร็จ อัฐิกลายเป็นพระธาตุส่วนกระดูกของท่านบางชิ้นก็เกิดเป็นแก้วไปหมดเช่น กระดูกมือ กระดูกเท้าเกิดกลายเป็นแก้วไปหมด แก้วนั้นมีสีคล้ายกับยางไม้ฉำฉา(ก้ามปู) สีเหลืองๆหม่นๆ เดี๋ยวนี้ยังเก็บใส่หม้อบรรจุไว้บนหอสรงน้ำนั่นเอง เวลานี้อัฐิของท่านที่กลายเป็นธาตุมี 250 ดวง (เม็ด) มีใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทางคณะศรัทธาจึงจัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุของท่านครูบาศรี ตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 12-13 ค่ำเป็นประจำทุกปี ฯลฯ


แหล่งอ้างอิง ข้อมูลที่ได้มา (เพื่อศึกษาเรียนรู้ให้กับประชาชน)

Kd . ภาพ P นัทอัมพวา  เพจ เรื่องเล่าขานตำนานพระเกจิฆราวาส-วัตถุมงคลเครื่องราง" ประชาสัมพันธ์งานบุญ"