สัมผัสภูมิปัญญาวิถีชีวิตรองเท้าจาวยอง

ประวัติความเป็นมาของชุมชน 

บ้านหนองเงือก เดิมเรียกว่า “บ้านบวกเงือก”หรือ บ้านหนองเงือก แก้วกว้างดอนทัน สันศรีชุม โชติการาม จากบ้านหนองเงือก เดิมเรียกว่า “บ้านบวกเงือก”หรือ บ้านหนองเงือก แก้วกว้างดอนทัน สันศรีชุม โชติการาม จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ และพบจากตำนานในสมุด พับสา (สมุดข่อย) ว่าในบริเวณหนองน้ำด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งมีน้ำไหลออกมาจากตาน้ำ ชาวบ้านแต่เดิมเรียกว่า “หนองออกรู” (ย่อมาจากหนองที่มีน้ำไหลออกมาจากรู หรือตาน้ำ ปัจจุบันเรียกว่า “หนองเงือก”) ซึ่งมีน้ำไหลออกมาตลอดทั้งปี จนเป็นต้น กำเนิดของลำน้ำเหมือง (ลำธาร) ชื่อ “น้ำเหมืองกลาง” โดยไหลจากบ้านหนองเงือกไปยังหมู่บ้านป่าบุก ชาวบ้านอาศัยน้ำจากลำเหมืองทำนาปีทุกปี ในหนองน้ำดังกล่าวมีเงือก (พญานาค หรือ งูใหญ่) ตัวหนึ่งผุดขึ้นมา และเคย ฉุดลากเอาวัวเป็นๆ ของชาวบ้านที่ปล่อยเลี้ยงไว้แถวนั้น ให้จมลงไปในหนองน้ำ และยังมีผู้เล่าขานสืบต่อกันมาว่าใต้หนองน้ำนี้ มีรูทะลุไปถึงหนองน้ำ บ้านหนองสร้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านหนองเงือกมีระยะทางห่างกัน ประมาณ 8 กิโลเมตร มีชาวบ้านได้ทดลองเอาแกลบเทลงที่หนองน้ำ บ้านหนองสร้อย ปรากฏว่าแกลบนี้ได้ไหลออกมาที่หนองน้ำบ้านหนองเงือก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าหนองน้ำทั้งสองแห่งนี้ทะลุถึงกันได้ มีเรื่องเล่าขานต่อมาอีกว่า มีอยู่วันหนึ่งเงือกหรือพญานาคตัวนี้ โผล่หัวขึ้นมาที่หนองน้ำบ้านหนองเงือก และโผล่หางขึ้นที่หนองน้ำบ้าน

หนองสร้อย ด้วยเหตุนี้ บุคคลทั้ง 5 ครอบครัวจึงให้ชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหนองเงือก” บ้างก็เรียก “บวกเงือก” (บวก แปลว่า หนอง) ปัจจุบันคือบ้านหนองเงือก หมู่ 5 ตำบล แม่แรง อำเภอ ป่าซาง จังหวัด ลำพูน

การประกอบอาชีพของคนในชุมชน

1. เกษตรกรรม 2. หัตถกรรมสิ่งทอ

3. รับจ้างทั่วไป 4. รับราชการ

5. ค้าขาย 6. อื่นๆ (เช่น ทำงานโรงงาน/แกะสลักฯลฯ)

แหล่งท่องเที่ยว/แหล่งเรียนรู้ ของชุมชน

1. ภาพวาดโบราณในวัดหนองเงือก 2. ซุ้มประตูโขงวัดหนองเงือก

3. พิพิธภัณฑ์ไทยอง 4. สวนสาธารณะ (แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม)

5. บ้านพักโฮมสเตย์ 6. รองเท้าจาวยอง(รองเท้ายางรถยนต์)

7. หนองออกรู 8. กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านหนองเงือก

9. ผ้านาโน(มาลีผ้าฝ้าย) 10. เกษตรชุมชน(เย้ยฟ้าท้าดิน)

11. ร้านค้าชุมชน 12. กระเป๋านกฮูก

13. บ้านยองโบราณ

กิจกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมการเรียนรู้ ของชุมชน

1. การพักนอนโฮมสเตย์ 2. กิจกรรม “นวัตวิถี”

3. ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. การทำบายศรี/งานประดิษฐ์ดอกไม้

5. งานจักสาน/งานประดิษฐ์,งานฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่น 6. การทำกระเป๋านกฮูก

7. ทอผ้ากี่คู่รัก 8. กิจกรรมชงชาสมุนไพร (ดอกไม้)

9. กิจกรรมทำที่คาดผม 10. ขั้นตอนการทอผ้า (12 ขั้นตอน)

11. แกงผักอะยิอะเยาะ 12. ปั่นจักรยานชมหมู่บ้าน

งานประเพณีพิธีกรรม หรือเรื่องราวในวิถีชีวิต ของชุมชน ที่อยากนำเสนอ

1. งานประจำปี “สืบสานตำนาน ฝ้ายงามหนองเงือก”

2. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ

3. กิจกรรมก่อเจดีย์ทราย(วันลอยกระทง)

ผลิตภัณฑ์ชุมชนทางวัฒนธรรม 

1. ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายนาโน

จุดเด่น ความน่าสนใจ เป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ให้มีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้น ในการไม่ซึมซับน้ำหรือสิ่งสกปรกเข้าไปในเนื้อผ้า ทำให้มูลค่าสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ผลิตต้องส่งต่อในขั้นตอนการทำ “นาโน” ไปยังที่จังหวัดแพร่ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีและมีความซับซ้อนมากกว่าผ้าฝ้ายปกติทั่วไป

2. ชื่อผลิตภัณฑ์ กระเป๋านกฮูก

จุดเด่น ความน่าสนใจ เป็นการนำผ้าพื้นเมืองหรือผ้าฝ้าย มาตัดเย็บเป็นกระเป๋ารูปนกฮูก และนำเศษผ้าชิ้นเล็กๆมาประกอบเป็นปีกหรือขนของนกฮูก ทำให้มีความแปละใหม่ของสินค้า

3. ชื่อผลิตภัณฑ์ ชาสมุนไพร(ดอกไม้)

จุดเด่น ความน่าสนใจ เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนำกลีบของดอกไม้บางชนิดมาเป็นส่วนผสมในการชงชา เพื่อเพิ่มเสน่ห์และความหอมจากธรรมชาติ

4. ชื่อผลิตภัณฑ์ ฟักทองสมุนไพร(ยาดมสมุนไพร)

จุดเด่น ความน่าสนใจ เป็นการผ้าหรือเศษผ้ามาเย็บเป็นรูปฟักทอง แล้วยัดไส้ด้วยใยโพลี่ หรือปุยฝ้าย โดยนำสารสมุนไพรหรือการบูลใส่ไว้ตรงกลางลูกฟักทอง อาจนำไปไว้ในรถยนต์ หรือจุดอับต่างๆ เพื่อปรับกลิ่นให้ดียิ่งขึ้น

จุดเด่นด้านอื่นๆ ของชุมชน

บ้านหนองเงือก เป็นหมู่บ้านยองที่มีขนาดใหญ่ มีประชากร จำนวน 1,607 คน อัตลักษณ์สำคัญของหมู่บ้านนี้ คือ ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี มีการร่วมกันอนุรักษ์รักษากิจกรรมของชุมชนไว้อย่างเหนียวแน่น อาทิเช่น การมีภาษาพูดที่ยังมีความเป็น “ภาษายอง” กิจกรรมการก่อเจดีย์ทรายในช่วงงานลอยกระทง ความสามัคคีของชุมชนในการร่วมกิจกรรม

ใครอยากไปช้อปอุดหนุนสินค้าของชาวบ้านในชุมชน ก็มีทั้ง “รองเท้าจาวยอง” ที่คุณลุงประพันธ์ นันพนัก ได้คิดค้นนำยางรถยนต์มาผลิตเป็นรองเท้าดีไซน์เก๋และมความทนทานจนกลายเป็นสินค้า OTOP  คู่บ้านหนองเงือกมานานกว่า 40 ปี

สถานที่ตั้ง  คุณลุงประพันธ์ นันพนัก  ม.5 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน

ข้อมูลได้จาก : รายการชิลไปไหน   และ POWER  SME  THAI  และรายการไทยนิยมยั่งยืน

รูปภาพโดย  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50300 

Tel: 0 5311 2595-6

E-mail: northernthaiculture@gmail.com 

เผยแพร่เพื่อการศึกษาเท่านั้น