ซุ้มประตูวัดหนองเงือก

ประวัติซุ้มประตู

วัดหนองเงือกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2371 ประวัติวัดเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 2371 เด็กชายอุปะละ บุตรของนายใจ ประสงค์ที่จะบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แต่ขณะนั้นหมู่บ้านหนองเงือกยังไม่มีวัด นายใจจึงริเริ่มสร้างวัดประจำหมู่บ้าน จึงได้นิมนต์ครูบาปาระมีมาเป็นประธานสร้างวัด สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2372 วัดหนองเงือกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472

อาคารเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ซุ้มโขงแบบล้านนา เจดีย์ และหอไตร หอไตรก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ตัวหอไตรสร้างเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโล่งมีทางเข้าด้านเดียว ทางเข้านี้ทำเป็นซุ้มโค้งมีทั้งหมด 5 ช่อง ช่องด้านซ้ายมือสุด เป็นผนังทึบมีรูปเทวดาปูนปั้น 2 องค์ประดับ ผนังของหอไตรชั้นล่างทั้ง 3 ด้านมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ผนังด้านซ้ายมือภาพเลอะเลือนไปมาก จิตรกรรมฝาผนังในหอไตร เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าโดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของคนในภาพ แต่คำอธิบายภาพทั้งหมดเขียนด้วย อักขระล้านนาทั้งสิ้น[2] วิหารของวัดเป็นอาคารทรงไทยล้านนา บานประตูมีลวดลายแกะสลักไม้ที่สวยงาม ภายในวิหารจะมีเสาไม้สักทั้งต้นขนาดหนึ่งคนโอบสูง 12 ศอก ด้านหลังของวิหารวัดเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของครูบาญาณะ เจ้าอาวาสรูปที่ 5 (พ.ศ. 2453–2490)

อ้างอิง[แก้]


วัดหนองเงือก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนเป็นวัดสำคัญเก่าแก่วัดหนึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานที่วัดแห่งนี้ยังมีโบราณสถาน โบราณวัตถุอันทรงคุณค่ามหาศาล นอกจากนั้นวัดหนองเงือกยังเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลักษณะสำคัญของวัดหนองเงือกเป็นวัดที่สร้างขึ้นตามแบบศิลปกรรมพื้นบ้านเมืองเหนือสมัยเก่า ที่ซุ้มประตูหน้าวัดสร้างขึ้นตามแบบศิลปะล้านนาเป็นซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายวิจิตรพิศดารแสดงให้เห็นถึงฝีมือทางสถาปัตยกรรมของช่างสมัยโบราณ

พระวิหารของวัดเป็นอาคารทรงไทยล้านนา บานประตูมีลวดลายแกะสลักไม้ที่สวยงามไม่แพ้ที่อื่น ๆ ภายในวิหารจะมีเสาไม้สักทั้งต้นขนาดหนึ่งคนโอบสูง 12 ศอก ด้านหลังของวิหารวัดเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของครูบาญาณะ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 (พ.ศ.2453-2490) ตามประวัติกล่าวถึงพระแก้วมรกตที่นำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดหนองเงือกว่า

“ปี พ.ศ.2467 ครูบาพ่อเป็ง โพธิโก ครูบาอินทจักร อินฺทจกฺโก ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโกและครูบาดำ คมฺภีโร พร้อมด้วยพระภิกษุอีกหลายรูปได้เดินธุดงค์มาพักแรมที่วัดร้างป่าหนองเจดีย์ พอถึงฤดูเข้าพรรษาพ่อน้อยเมือง พิมสารพร้อมด้วยชาวบ้านบวกกอห้า บ้านโทกน้ำกัด บ้านดอน บ้านหนองเงือกและบ้านป่าเบาะกองงาม ได้พากันมาสร้างเสนาสนะให้ จากนั้นชาวบ้านจึงได้ปรึกษากันว่าจะหาพระประธานจากที่ไหนมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถนี้ จึงได้พากันไปขุดหาพระพุทธรูปตามเจดีย์เก่าในบริเวณวัดป่าหนองเจดีย์ ทันใดนั้นพ่อน้อยพิมสารก็ขุดพบโกษดินเผาซึ่งคนโบราณบรรจุไว้ในเจดีย์เก่า 1 ผอบ เมื่อเปิดออกดูก็พบว่ามีพระแก้วมรกต 1 องค์และพระบรมสารีริกธาตุอีก 101 องค์บรรจุอยู่ในผอบนั้น จากนั้นจึงได้ตกแต่งน้ำอบน้ำหอมมาสระสรงองค์พระแก้ว ชาวบ้านจึงได้ปรึกษากันว่าจะนำไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์วัดป่าเหียง ท่านครูบาเจ้าขัติยะ เจ้าอาวาสวัดป่าเหียงได้บอกว่า ที่วัดป่าเหียงนี้มีเจดีย์เรียบร้อยแล้วแต่ที่วัดหนองเงือกยังไม่มีพระเจดีย์ จากนั้นจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดหนองเงือก ตั้งแต่บัดนั้น”

ชาวบ้านเคยเล่าว่าพระเจดีย์ของวัดหนองเงือกเคยแสดงปาฏิหาริย์ให้สาธุชนได้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อใกล้จะถึงวันพระหรือวันศีล พระธาตุจะแสดงให้เห็นเป็นดวงไฟลอยอยู่เหนือยอดเจดีย์ สุกใสสว่างนวล บางครั้งก็ออกเที่ยวไปที่อื่นก่อนจะกลับเข้ามาอีกครั้ง ส่วนมากชาวบ้านจะเห็นในตอนเช้ามืด ทุกปีเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน 9 เหนือ ศรัทธาชาวบ้านหนองเงือกจะจัดให้มีพิธีสรงน้ำพระธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุขึ้นเป็นประจำด้านทิศใต้ของพระเจดีย์เป็นหอพระไตรปิฏก เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดภายในวัด สร้างขึ้นเป็นอาคารสี่เหลี่ยมคอนกรีต 2 ชั้น ศิลปกรรมล้านนาประยุกต์อายุประมาณ 200 ปี ปัจจุบันเป็นที่เก็บพระธรรมคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งจารึกลงในใบลานเป็นภาษาล้านนาด้วยตัวอักษรพื้นเมือง นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บของโบราณวัตถุมีค่าสำคัญของวัดเช่น พระพุทธรูปไม้ เชิงเทียน ตู้พระธรรม เทวรูป ระฆัง กังสดาลและโบราณวัตถุอีกหลายอย่าง ภายในตัวอาคารชั้นล่างยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสกุลล้านนาที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดภาพเขียนฝาผนังในหอไตรวัดหนองเงือกเป็นภาพเขียนเรื่องราวทางพุทธประวัติและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพลักษณะ 2 มิติคล้ายกับภาพฝาผนังวัดพระแก้วมรกตในพระบรมมหาราชวัง หากต้องการจะชมความสวยงามของภาพเขียนจิตรกรรมอายุร้อยปีที่สวยงามและยังสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในล้านนาก็ต้องเดินทางไปชมที่วัดหนองเงือกนอกจากนั้นบ้านหนองเงือก ยังนับเป็นหมู่บ้านของชาวยองหนึ่งในหลาย ๆ หมู่บ้านที่มีการทอผ้าฝ้ายแบบพื้นเมืองดั้งเดิมเล่ากันว่าชาวยองบ้านหนองเงือก มีต้นตระกูลมาจากเมืองยองในแคว้นสิบสองปันนาที่ได้อพยพมาตั้งรกรากในอำเภอป่าซาง ชาวยองเหล่านี้กระจายกันอยู่ในหมู่บ้านต่าง ๆ หลายชุมชน โดยเฉพาะที่บ้านหนองเงือก ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและประเพณีก็ว่าได้ ชาวบ้านบ้านหนองเงือกยังคงยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวยอง ซึ่งปรากฏให้เห็นได้ในงานประเพณีพื้นบ้าน

เอกลักษณ์การแต่งกายของชาวยองก็โดดเด่นและน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ผู้ชายชาวยองจะนิยมใส่กางเกงสะดอ สวมเสื้อม่อฮ่อม ผู้หญิงจะนิยมนุ่งผ้าซิ่นใส่เสื้อป้าย โพกผ้าบนศรีษะโดยใช้ผ้าฝ้ายทอมือตามศิลปการทอผ้าแบบชนชาวยอง ด้วยเหตุนี้กระมังจึงทำให้ผ้าทอของชาวยองได้รับความสนใจจากคนทั่วไปหมู่บ้านหนองเงือกจึงนับเป็นหมู่บ้านตัวอย่างหนึ่งในหลายหมู่บ้านที่มีความพยายามจะฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวยองโดยเฉพาะการทอผ้าของชาวยองให้กลับมาสร้างชื่อเสียงให้กับป่าซางอีกครั้ง แม้ว่าพวกเขาจะไม่หวังให้ผ้าทอชาวยองโด่งดังเหมือนกับผ้าทอแม่แจ่มจากเชียงใหม่หรือผ้าทอยกดอกแบบดั่งเดิมของลำพูน แต่การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีการทอผ้าแบบชาวยองก็ถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจของชาวบ้านหนองเงือกทุกคน


ประเภทแหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตจาวยอง