จิตกรรมฝาผนังวัดหนองเงือก

วัดหนองเงือก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีเนื่อที่ 9 ไร่ 1 งาน 29 ตารางวา

วัดหนองเงือกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2371 ประวัติวัดเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 2371 เด็กชายอุปะละ บุตรของนายใจ ประสงค์ที่จะบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แต่ขณะนั้นหมู่บ้านหนองเงือกยังไม่มีวัด นายใจจึงริเริ่มสร้างวัดประจำหมู่บ้าน จึงได้นิมนต์ครูบาปาระมีมาเป็นประธานสร้างวัด สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2372 วัดหนองเงือกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472[1]

อาคารเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ซุ้มโขงแบบล้านนา เจดีย์ และหอไตร หอไตรก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ตัวหอไตรสร้างเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโล่งมีทางเข้าด้านเดียว ทางเข้านี้ทำเป็นซุ้มโค้งมีทั้งหมด 5 ช่อง ช่องด้านซ้ายมือสุด เป็นผนังทึบมีรูปเทวดาปูนปั้น 2 องค์ประดับ ผนังของหอไตรชั้นล่างทั้ง 3 ด้านมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ผนังด้านซ้ายมือภาพเลอะเลือนไปมาก จิตรกรรมฝาผนังในหอไตร เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าโดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของคนในภาพ แต่คำอธิบายภาพทั้งหมดเขียนด้วย อักขระล้านนาทั้งสิ้น[2] วิหารของวัดเป็นอาคารทรงไทยล้านนา บานประตูมีลวดลายแกะสลักไม้ที่สวยงาม ภายในวิหารจะมีเสาไม้สักทั้งต้นขนาดหนึ่งคนโอบสูง 12 ศอก ด้านหลังของวิหารวัดเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของครูบาญาณะ เจ้าอาวาสรูปที่ 5 (พ.ศ. 2453–2490)[3]

ละติจูด 14.484335 , ลองจิจูด 98.908234

พิกัด

ตำบลแม่แรง อำเภออำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดหนองเงือก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 ชาวบ้านหนองเงือกนิมนต์ครูบาปารมี มาสร้างวัดประจำหมู่บ้านตามคำอาราธนานิมนต์ของชาวบ้านที่มีนายใจเป็นผู้ที่มีความริเริ่มจากเด็กชายอุปละผู้เป็นบุตร ปรารถนาที่จะบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แล้วตั้งชื่อตามชื่อของหมู่บ้าน ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ หอไตร สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นศิลปะ แบบพม่า ชั้นล่างมีจิตรกรรมฝาผนังวาดเป็นเรื่องหนุมาน ซึ่งได้เค้าเรื่องมาจากเรื่องรามเกียรติ์ นอกจากนั้นยังเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีซุ้มประตู ศิลปะแบบพม่า และยังมีสภาพสมบูรณ