Topic 2 

Self Development for Entering Society and World Community

การเข้าสู่สังคมและชุมชนโลกต้องอาศัยการพัฒนาตนเอง (Self development) เป็นอย่างแรก ก่อนอื่นเริ่มจากการมองย้อนกลับมาที่

ตนเองก่อนว่าจะต้องพัฒนาเรื่องใด ทุกคนมีความสามารถในตนเอง แต่ต้องยอมรับว่าหากตัวเราต้องพัฒนา ไม่ได้หมายความว่าเราด้อยกว่าผู้อื่น สังคมจะดีได้อยู่ที่คนในสังคมต้องแข่งกับตนเองให้ก้าวไปข้างหน้า จึงจะนำพาสังคมและชุมชนโลกก้าวไกลได้

self development (เซลฟ์ ดิเวลเลิพเมินท์) การพัฒนาตนเอง

for entering society (ฟอร์ เอนเทอะริ่ง ซะไซอิที) เพื่อการเข้าสู่สังคม

and world community (แอนด์ เวิร์ลด คะมิวนิที) และชุมชนโลก

เรื่องที่ 1 Starting Conversation with Foreigner

การผูกมิตร (make friend) กับบุคคลอื่นเป็นเรื่องดี สังคมสงบสุขได้ด้วยมิตรภาพ (friendship) ที่ดีต่อกัน มีความคิดเห็น (opinion/

idea/point of view) ที่ประกอบด้วยเหตุผล (reason) ยอมรับความจริง (truth/fact) มีความชอบธรรม (legitimacy) ความซื่อสัตย์ (honesty) เปี่ยมด้วยความดีงาม (goodness/virtue/merit) แต่เหนือสิ่งอื่นใด คนเราต้องมีความรัก (love) และความเป็นมิตร (friendliness) จึงจะร่วมกันสร้างสังคมให้น่าอยู่ได้

ก่อนเริ่มสนทนากับชาวต่างชาติ เราทราบดีว่าเมืองไทยเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม (Land of Smile) ด้วยความเป็นคนไทย การยิ้มให้

ใครสักคนก็นับได้ว่าชนะใจไปแล้วครึ่งหนึ่ง

เมื่อยิ้มให้แล้วก็ตามด้วยการทักทายง่ายที่สุด คือ

Hello. สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ


อาจทักตามช่วงเวลาขณะนั้น

Good morning. สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ เมื่อพบกันตอนเช้า

Good afternoon. เมื่อพบกันตอนบ่าย

Good evening. เมื่อพบกันเวลาค่ำ

แต่ต้องจำให้ได้ว่า Good night. ไม่ใช่การทักทายยามค่ำคืน แต่เป็นกล่าวลาเมื่อจะจากกันเวลากลางคืนเท่านั้น

ก่อนพูดคุยกัน ขอฝากข้อห้ามบางประการให้ทราบ เพราะคนไทยกับคนต่างชาติย่อมมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน คนไทยเองยังชอบไม่

เหมือนกัน ชาวต่างชาติที่อยู่เมืองไทยมาสักระยะหนึ่งอาจพอเข้าใจ คนไทยอยู่บ้าง แต่อย่าถามบางเรื่องที่เป็นการเสียมารยาท ได้แก่

- ห้ามถามอายุ

- ห้ามถามถึงสามีหรือภรรยา

- ห้ามถามฐานะการเงิน

- ห้ามถามถึงความจน ความรวย

โดยสรุปคือห้ามถามซอกแซก แม้แต่คนไทยเองก็ไม่ชอบ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว

ส่วนมากการเริ่มพูดคุยกับชาวต่างชาติหลังทักทายกันตามมารยาทแล้ว ชาวต่างชาตินิยมพูดคุยกันเกี่ยวกับสภาพอากาศ เพราะบ้าน

เมืองเขาเวลาหนาวก็หนาวเหน็บ ต้องอยู่ในบ้านและอาคารเป็นส่วนใหญ่ ออกนอกบ้านลำบากเพราะหิมะตกเดินไม่สะดวก ขับรถก็ลำบาก เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่อากาศเริ่มอุ่นขึ้น ผู้คนจะออกจากบ้านและได้พบปะทักทายกัน สิ่งแรกที่ถามกันคือเรื่องเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ยิ่งถ้ามีแสงแดด ยิ่งชอบมาก ผู้คนมีชีวิตชีวา ลักษณะการแต่งกายแปลกตา เพราะไม่ต้องใส่เสื้อคลุม (coat)

ต่อไปเป็นประโยคหรือข้อความตัวอย่างที่ใช้เริ่มต้นพูดคุยกับชาวต่างชาติที่บ้านเมืองของเขา

- The weather is good, isn’t it?

- อากาศดี ใช่มั้ย


การออกเสียงท้ายประโยคจะขึ้นเสียงสูงแสดงว่าต้องการคำตอบว่า Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ ถามแล้วก็ต้องรอฟังคำตอบด้วยนะคะ 

ไม่ใช่ถามคำถามจบแล้วเดินหนีไป นี่ยิ่งเสียมารยาทไปใหญ่ เราคาดหวังว่าเขาจะตอบว่า

- Yes, it is.

- ใช่ค่ะอากาศดี


คงไม่ลืมนะคะว่าชาวต่างชาติไม่ตอบเฉพาะคำว่า Yes. หรือ No. แต่จะมีคำต่อท้ายข้อความนี้คือ Yes, it is.

ถ้าจะตอบชนิดเต็มรูปประโยคก็คือ Yes, the weather is good. แต่โดยทั่วไปชาวต่างชาติก็ไม่นิยมพูดช้าและยาว เหมือนภาษาเขียน จึงตอบว่า Yes, it is. คำว่า Yes. คือ ใช่ it ใช้แทนคำว่า the weather ตามด้วย is ซึ่งเป็นกริยาสามารถตัดคำว่า good ออกไปได้ เหลือคำตอบ แต่เพียง Yes, it is. ก็เป็น ที่เข้าใจและถูกต้องตามไวยากรณ์อังกฤษแล้ว คือ It เป็นประธาน is เป็นกริยา ก็นับว่าเป็นประโยคแล้ว

จากประโยคแรก จะเห็นว่ารูปแบบประโยค คือ

หากสภาพอากาศเป็นอย่างไร ก็ใช้คำศัพท์แทนคำว่า good ดังนี้

- The weather is warm, isn’t it?

- อากาศอุ่นใช่ไหม

- The weather is cool, isn’t it?

- อากาศเย็นใช่ไหม

- The weather is cold, isn’t it?

- อากาศหนาวใช่ไหม

- The weather is fine, isn’t it?

- อากาศดีใช่ไหม

- The weather is nice, isn’t it?

- อากาศดีใช่ไหม

ทั้ง 6 ประโยคข้างต้น อาจเปลี่ยนรูปแบบที่ง่ายกว่านี้ คือ

- Warm weather, isn’t it?

- Cool weather, isn’t it?

- Cold weather, isn’t it?

- Fine weather, isn’t it?

- Nice weather, isn’t it?

หากจะเพิ่มคำว่าค่อนข้าง ก็คือ rather/quite/fairly ซึ่งทั้ง 3 คำ มีความหมายเดียวกัน หากนำไปใช้ในประโยคจะเป็นดังนี้

- The weather is quite warm, isn’t it?

- อากาศค่อนข้างอุ่นใช่ไหม?

- The weather is fairly cool, isn’t it?

- อากาศค่อนข้างเย็นใช่ไหม

- The weather is rather cold, isn’t it?

- อากาศค่อนข้างหนาวใช่ไหม

- The weather is quite fine, isn’t it?

- อากาศค่อนข้างดีใช่ไหม

- The weather is fairly nice, isn’t it?

- อากาศค่อนข้างดีใช่ไหม

ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ยาก ดังนี้

- It’s a bit cool, isn’t it?

- อากาศเย็นเล็กน้อยใช่ไหม

- It’s a bit cold, isn’t it?

- อากาศหนาวเล็กน้อยใช่ไหม

สังเกตได้ว่า หากเพิ่มคำว่า a bit หรือเล็กน้อยจะขยายสภาพอากาศที่เป็นอยู่อีกรูปแบบหนึ่งที่ง่ายมาก คือ

- Nice day, isn’t it?

- อากาศดีใช่ไหม

- Lovely day, isn’t it?

- อากาศดีใช่ไหม

- Good day, isn’t it?

- อากาศดีใช่ไหม

การฝึกพูดประโยคเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยให้พูดภาษาอังกฤษได้คล่องยิ่งขึ้น เพราะจำรูปแบบประโยคได้ เมื่อรู้จักคำศัพท์เพิ่มมาก

ขึ้น ก็สามารถใช้ศัพท์ได้หลากหลายยิ่งขึ้นเช่นกัน

นี่เป็นการเริ่มต้นสนทนากับชาวต่างชาติตามวัฒนธรรมที่ชาวต่างชาติกระทำอยู่ นอกจากเริ่มการสนทนาเรื่องความหนาวเย็นของ

อากาศแล้ว มาดูตัวอย่างเรื่องอื่นเพิ่มเติม ได้แก่

- It’s cloudy, isn’t it?

- เมฆมากใช่ไหม

- It’s windy, isn’t it?

- ลมแรงใช่ไหม

- It’s rainy, isn’t it?

- ฝนตกใช่ไหม

- It’s raining, isn’t it?

- ฝนกำลังตกอยู่ใช่ไหม

- It’s going to rain, isn’t it?

- ฝนกำลังจะตกใช่ไหม

- It’s sunny, isn’t it?

- แดดแรงใช่ไหม

นอกจากเริ่มพูดคุยด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นตัวอย่างแล้ว ยังอาจพูดคุยกันตามสถานการณ์และบรรยากาศรอบข้างอย่าง

ง่าย ดังนี้

จอห์นได้รับเชิญ (invitation) จากลัดดาไปงานเลี้ยง (party) เมื่อไปถึงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากลัดดา จอห์นจึงบอกว่าการมางาน

เลี้ยงครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดในประสบการณ์หนึ่งในการมาประเทศไทย ลัดดากล่าวขอบคุณและหวังว่าจอห์นจะเพลิดเพลินกับการมางานเลี้ยงวันนี้

ขอให้นักศึกษาจำสำนวนการทักทายในตอนกลางคืน

- Good evening. (สวัสดีตอนกลางคืน)


การแสดงความดีใจหรือยินดี “I’m so glad that .” เช่น

- I’m so glad that you come (ฉันดีใจที่คุณมาได้)


การกล่าวให้ความรู้สึกที่ดี “ I hope .” เช่น

- I hope you will enjoy the evening. (ฉันหวังว่าคุณจะได้รับความเพลิดเพลินในเย็นนี้)


ทีนี้ลองมาติดตามงานเลี้ยงต่อว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ลัดดาถามจอห์นว่าอาหารเป็นอย่างไรบ้าง จอห์นบอกว่าอาหารอร่อยมาก ลัดดาทำเองหรือเปล่า ลัดดาบอกว่าทำเอง แล้วถามจอห์น

ว่าทานอะไรเพิ่มอีกสักนิดหรือไม่ จอห์นบอกว่าอิ่มแปล้แล้ว (completely full) ขอชิมนิดหน่อยก็พอ ลัดดาจึงให้ชิมต้มข่าไก่ ซึ่งจอห์นไม่เคยกินมาก่อน เมื่อชิมแล้วบอกว่าอร่อยมาก แล้วถามลัดดาว่าทำเองหรือไปเรียนมาจากไหน ลัดดาจึงบอกว่าเรียนกับคุณแม่ แล้วฝึกทำเอง คราวต่อไปจะทำผัดไทยให้รับประทาน

คราวนี้ขอให้นักศึกษาเรียนรู้คำศัพท์และสำนวนต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่สำคัญ กันบ้าง

- It tastes good.

- นี่รสอร่อยนะ

- It’s delicious.

- นี่อร่อยดี

- Try this.

- ชิมนี่สิ

- Try some.

- ชิมสักหน่อยนะ

- Some more?

- อีกหน่อยไหม

- Good?

- ดีไหม

- Have some more.

- รับประทานอีกหน่อยนะ

- Do you know this?

- คุณรู้จักนี่ไหม

- Do you like Thai food? หรือ Do you like Thai dish?

- คุณชอบอาหารไทยไหม

- This is my special dish.

- นี่อาหารจานโปรดของฉัน

- Not too spicy.

- ไม่เผ็ดเกินไป

- Too spicy for you.

- เผ็ดเกินไปสำหรับคุณ

- This curry is not spicy.

- แกงนี้ไม่เผ็ด

คำว่า curry หมายถึง แกงของบ้านเรา แต่ถ้าพูดถึงแกงกะหรี่จะเรียก Indian curry ชาวต่างชาติฟังแล้วเข้าใจมากกว่า


คำศัพท์ที่เป็นตัวหนาเพื่อให้ทราบความหมายและจำได้ง่าย

คราวนี้เราลองมาดูเรื่องผลไม้กันบ้าง

มาลีไปซื้อผลไม้ที่ร้านหนึ่งในตลาดขายผลไม้ โดยซื้อส้มโอ (pomelo) สองผล ชมพู่ (rose apple) 1 กิโลกรัม ลิ้นจี่ (lychee) 1 

กิโลกรัม และขนุน (jackfruit) 1 ลูก ขอให้นักศึกษาสังเกตว่าผู้ที่ให้บริการและสอบถามโดยใช้ประโยคว่า

- Good morning. Can I help you?

- สวัสดีครับ ต้องการอะไรครับ

ประโยคเหล่านี้นักศึกษาจะเห็นใช้บ่อย ๆ สำหรับพ่อค้า แม่ค้า คนขายของและขายบริการ ให้จำไว้ใช้ด้วย

คราวนี้ลองมาดูว่ามีผลไม้อะไรบ้าง ในภูมิอากาศต่าง ๆ


ผลไม้เมืองร้อน :

ผลไม้เมืองหนาว :

คำศัพท์และสำนวนที่ใช้กับการซื้อขายผลไม้ที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปได้แก่

- This is durian.

- นี่ทุเรียน

- very strong smell.

- กลิ่นแรงมาก

- Do you like water-melon?

- คุณชอบแตงโมไหม

- too expensive.

- แพงเกินไป

- good price.

- ราคาใช้ได้ (ไม่แพง)

คำว่า cake นอกจากหมายถึง ขนมเค้ก แล้ว เมื่อพูดถึง fish cake คือ ทอดมัน ส่วน shrimp cake คือ ทอดมันกุ้ง

ผลไม้กวนทุกชนิดใช้คำว่า cake เช่น ทุเรียนกวน เรียกว่า durian cake

หลายคนสงสัยอีกคำหนึ่ง คือ paste ศัพท์คำนี้หมายถึงของที่เหลวกว่าการกวน คือ ถ้าพูดถึง shrimp paste จะหมายถึง กะปิ 

และของใช้ เช่น ยาสีฟัน เรียก toothpaste

ข้อความที่นำมาให้ความรู้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยให้เห็นถึงการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเท่านั้น บางข้อความอาจ

ไม่ใช่การใช้ไวยากรณ์อังกฤษที่ครบถ้วน แต่ทั้งนี้เป็นการเน้นให้กล้าแสดงออก กล้าพูด และกล้าผูกมิตรกับชาวต่างชาติ นอกจากการส่งยิ้มสยามแต่เพียงอย่างเดียว

สิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือมารยาท ดูทีท่าทางชาวต่างชาติคนนั้นก่อน เขาอาจไม่ต้องการพูดคุยกับเราก็เป็นได้ แต่ถ้าดูแล้วเขามี

ท่าทางเป็นมิตร ก็เริ่มพูดจาด้วยได้ อย่าพูดจนเป็นที่น่ารำคาญ ชาวต่างชาติบางรายมองเวลามีค่ามาก ถ้าเขาไม่พร้อมจะพูดคุยด้วย เราก็ต้องสงวนทีท่าไว้ อย่าให้เขามองคนไทยไปในทางที่ไม่ดี

เรื่องที่ 2 Proper Manner

ไม่ว่าชนชาติใดย่อมรู้จักมารยาทที่ถูกต้องตามกาลเทศะ (proper manner) หากได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาแต่เล็กและหมั่นพิจารณา

คนรอบข้างว่ามารยาทที่ดี ที่น่าชื่นชม เป็นที่ยอมรับของสังคมเป็นอย่างไร

ความนอบน้อมเป็นคุณลักษณะ (characteristics) ที่ดีของคนไทย มารยาทอันดีงามขึ้นอยู่กับบรรทัดฐาน (norm) ที่กำหนดไว้ใน

สังคม

ขอให้นักศึกษาอ่านบทสนทนาระหว่างจอห์นกับลัดดา เกี่ยวกับมารยาทที่ถูกต้องต่อไปนี้

จอห์นให้ลัดดาอธิบายวิธีการที่คนไทยทักทายกัน (greet each other) ลัดดาจึงอธิบายว่า คนไทยทักทายกันโดยพูดว่า “สวัสดีครับ” 

สำหรับผู้ชาย และ “สวัสดีค่ะ” สำหรับผู้หญิง “ครับ” และ “ค่ะ” เป็นสร้อยคำแสดงถึงการพูดอย่างสุภาพพร้อมกับทำการไหว้ คนที่อาวุโสน้อยกว่า (a younger person) จะค้อมศีรษะลงเล็กน้อย เมื่อไหว้คนที่มีอาวุโสมากกว่า (a more senior person) นอกจากนั้นคนไทยไม่นิยมจับศีรษะกัน (touch other person’s head) ยกเว้นจับศีรษะเด็ก ๆ เพราะถือว่าศีรษะเป็นอวัยะสูงสุดของร่างกาย (highest part of the body) และเป็นการไม่ควรที่จะส่งสิ่งของข้ามหัวคนอื่น (pass anything over somebody’s head) ในทางตรงกันข้าม (on the contrary) เท้าถือว่าเป็นอวัยวะที่ต่ำสุดของร่างกาย (lower part of the body) การใช้เท้าชี้ไปที่บุคคลอื่น หรือสิ่งของต่าง ๆ (to point your foot at people or an object) เป็นกริยาที่ไม่สุภาพ (not polite) การชี้หน้าคนอื่น (to point at other people) ก็เป็นการไม่สุภาพเช่นกัน จอห์นจึงบอกว่ามีวัฒนธรรมไทยอีกอย่างที่ต้องเรียนรู้ ขอให้ลัดดาช่วยบอกด้วย ซึ่งลัดดาก็กล่าวว่าด้วยความยินดี (with pleasure)

บทสนทนานี้เป็นเพียงตัวอย่างการมีมารยาทที่ดีของไทย ยังมีมารยาทต่าง ๆ อีกมากมาย ขอให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้ครบถ้วน 

เพื่อที่จะได้บอกให้ชาวต่างชาติทราบ

ทีนี้นักศึกษาลองมาดูคำศัพท์ที่มักใช้ในเรื่องนี้กันและจดจำเอาไว้ในโอกาสต่าง ๆ ด้วย

คุณลักษณะเช่นนี้เป็นองค์ประกอบภายนอกที่ช่วยให้มารยาทน่าดูน่ามองยิ่งขึ้น เนื่องจากมารยาทที่เหมาะสมย่อมประกอบไป

ด้วยมารยาททางกาย (behaviour) ทางวาจา (word) และทางใจ (heart)