การสร้างเอกสาร

ทำแผ่นพับ word

(1) ตั้งค่าหน้ากระดาษ หลังจากเปิดหน้ากระดาษว่างๆ ขึ้นมาแล้ว ให้เราเลือกเมนู ไฟล์ > เค้าโครงหน้ากระดาษ > การวางแนว > จากนั้นเลือกการตั้งค่าหน้ากระดาษไปที่แนวนอน จากนั้นตั้งค่าระยะขอบไปที่แบบ > แคบ


(2) เลือกจำนวนคอลัมน์ โดยปกติแผ่นพับทั่วไปจะมี 3 คอลัมน์ แต่เราก็สามารถเลือกจำนวนคอลัมน์ได้ตามความต้องการเลยครับ ในที่นี้จะขอเลือกแบบ 3 คอลัมน์เป็นตัวอย่าง จากนั้นอย่าลืมเลือกตัวแบ่ง > คอลัมน์ เพื่อทำการแบ่งแต่ละคอลัมน์ให้แยกออกจากกันด้วย

(3) เส้นแบ่งคอลัมน์ หากใครอยากให้แผ่นพับของเรามีเส้นแบ่งแต่ละคอลัมน์ด้วย ก็สามารถตั้งค่าได้โดยเลือกเมนู เค้าโครงหน้ากระดาษ > คอลัมน์ > คอลัมน์เพิ่มเติม > จากนั้นติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง เส้นคั่นระหว่างคอลัมน์ > ตกลง เท่านี้แผ่นพับของเราก็จะมีเส้นแบ่งคอลัมน์ขึ้น ทำให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าเดิม

(4) ตัวอย่างแผ่นพับ ที่แบ่งคอลัมน์และใส่เส้นแบ่งเรียบร้อยแล้ว เลขที่ระบุคือหน้าแต่ละหน้าของแผ่นพับ

(5) เพิ่มรูปภาพด้วยเมนู แทรก > รูปภาพ หรือเพิ่มรูปร่างต่างๆ ด้วยเมนู แทรก > รูปร่าง จากนั้นเลือกตกแต่งแผ่นพับให้สวยงามตามใจชอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ การออกแบบแผ่นพับด้วย Microsoft Word นั้นไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะ ถึงแม้เราจะไม่มีโปรแกรมแต่งภาพโดยเฉพาะ แต่หากจำเป็นต้องทำแผ่นพับ โปรแกรม Word ซึ่งเป็นโปรแกรมสามัญประจำเครื่องก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แถมยังออกแบบได้หลากหลายและสวยงามตามจินตนาการอีกด้วย

4 ขั้นตอนออกแบบใบปลิวอย่างง่าย:

1. การตั้งค่าไฟล์เริ่มต้น (รูปแบบ Bleed และ Margins) อ่านเพิ่มเติม

2. การออกแบบใบปลิวด้านหน้า

3. การออกแบบใบปลิวด้านหลัง

4. วิธีบันทึกไฟล์เป็นPDF และ เปลี่ยนเป็น CMYK ในการพิมพ์ อ่านเพิมเติม

PART 01 : การตั้งค่าหน้ากระดาษ และ สร้างขอบระยะตัดตก และ ระยะตัดขอบ

○ มาเริ่มกันเลยดีกว่า ! เลยเราต้องเปิดโปรแกรม Microsoft Word กันก่อนเลย ขั้นตอนแรกเราจะมาเริ่มตั้งค่าหน้ากระดาษ โดยไปที่ Layout > Size > More paper size จากนั้นเราจะตั้งค่าหน้ากระดาษที่ความกว้าง 21.6ซม. ความสูง 15.8ซม.

○ หากเราทำการลดค่า Bleed หรือระยะตัดตกออกไป 0.3 ซม. ในแต่ละด้าน ขนาดกระดาษจะมีค่าเท่ากับขนาดกระดาษA5 (21 x 14.8ซม.)

○ ซึ่งความสำคัญของการตั้งค่าระยะตัดตก (Bleed) คือ เพื่อไม่ให้พื้นขาวของคุณยังเหลืออยู่เมื่อตัดขอบงานอาร์ตเวิร์คของคุณออกไปเรียบร้อยแล้ว

เนื่องจากเราจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้ใบปลิวคุณถูกตัดเมื่อได้สั่งพิมพ์ไปแล้ว เราจึงจำเป็นต้องสร้างเซฟโซนของระยะตัดขอบอย่างน้อย 0.3ซม ในแต่ละด้านของนามบัตร ในการสร้างระยะตัดของนี้เราจะเริ่มสร้างขอบสี่เหลี่ยมขนาด 19.4 x 14.2 ซม.

PART 02 : หน้าแรกใบปลิว

○ เมื่อการตั้งค่าหน้ากระดาษพื้นฐานของคุณเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเตรียมรูปภาพที่คุณต้องการใช้ในใบปลิวของคุณนะคะ มาเริ่มออกแบบใบปลิวที่คุณต้องการกันเลยดีกว่าค่ะ

○ เราจะเริ่มนำเข้ารูปภาพก่อนโดยคลิ๊ก Insert รูปภาพ เมื่อเราได้รูปภาพมาแล้ว คลิ๊กขวาที่รูป> เลือก Wrap text> เลือก Behind Text อย่าลืม! สิ่งที่สำคัญที่สุดคือรูปภาพที่มี dpi 300 หรือมากกว่านั้น เพราะอาจจะส่งผลให้รูปภาพของคุณเบลอตอนสั่งพิมพ์ออกมา

○ ใบปลิวของเรานั้น เราจะทำการเพิ่มหัวข้อ สโลแกน เบอร์โทรศัพท์ และ เวลาที่เปิดทำการ ที่อยู่ และอีกมากมายตามความต้องการเลยค่ะ เราจะเริ่มโดยการใส่กล่องข้อความ และ ข้อความลงไป เพราะการเลือกใช้ Textbox นี้จะทำให้การเคลื่อนย้ายเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นค่ะ (การเพิ่มไอคอนเราแนะนำให้ใช้ในรูปแบบเวกเตอร์ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Freepik.com)

PART 03 : ด้านหลังใบปลิว

○ เมื่อทำด้านหน้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะมาทำด้านหลังใบปลิวกันต่อเลยนะคะ เริ่มจากสเต็ปบายสเต็ป โดยเพิ่มเมนูอาหารที่ขายดีของทางเรา รวมถึงราคาของแต่ละเมนูค่ะ

○ ความท้าทายในการทำงานบนโปรแกรม Microsoft Word นี้คือรูปภาพของคุณอาจเลื่อนอยู่บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นอย่าลืมตรวจทานก่อนบันทึกไฟล์นะค้า

○ เพื่อให้ข้อความของเราโดดเด่น เราจึงจำเป็นต้องใช้กรอบสี่เหลี่ยมแบบโปร่งแสงเป็นพื้นหลัง ในการทำพื้นหลังโปร่งแสงคุณสามารถเข้าไปที่ Shape Fill > More Fill Colors > เพิ่ม Transparency

<p >○ ในการใส่ข้อความเราก็จะเลือก Text ฺBox เช่นเดียว อาจจะฟังดูเหมือนการทำงานซ้ำไปซ้ำมาแต่เพราะจะง่ายต่อการเคลื่อนย้ายองค์ประกอบต่างๆ บนหน้ากระดาษเผื่อมีข้อผิดพลาดอย่างอื่น เราก็สามารถเลื่อนเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากขึ้น เมื่อคุณทำเขียนข้อความและรูปภาพเสร็จเรียบร้อยและ มันควรจะดูงดงามเช่นนี้แล้วนะค้า

PART 04 : วิธีบันทึกไฟล์

○ ตอนนี้เราก็มาถึงการออกแบบใบปลิวขั้นตอนสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เราจะมาบันทึกไฟล์เป็น PDF กันค่ะ อย่าลืมตรวจทานอีกครั้งก่อนทำการบันทึกนะคะ เริ่มโดยไปที่ File> Save as > Write your Name > เลือก PDF file และ Save! หลังจากที่คุณได้ทำการบันทึกไฟล์ PDF เรียบร้อยแล้ว

○ และในขั้นตอนสุดท้ายนั้น อย่าลืมเปลี่ยนโหมดสีในไฟล์ PDF ของคุณเป็นสี CMYK ในการจะทำแบบนั้นคุณสามารถเข้าไปตั้งค่าที่โปรแกรม Acrobat Reader โดยตรง หรือ ใช้เครื่องมือบริการออน์ไลน์

○ เพียงเท่านี้การออกแบบใบปลิวของคุณก็ได้แล้วค่ะ อย่าลืมใช้โหมดสี CMYK กันนะคะ หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมก็สามาถเข้าไปคอมเม้นท์ที่ด้านล่างวีดิโอได้เลยนะค้า :D เราหวังว่าวีดิโอนี้จะช่วยให้ทุกคนออกแบบใบปลิวได้ง่าย และ รวดเร็วได้มากยิ่งขึ้นนะคะ โกโกพริ้นท์ได้ทุ่มแรงกายและแรงใจทำวีดิโอดีๆ แบบนี้ออกมาเรื่อย ๆ ค่ะเพราะฉะนั้นถ้าใครยังไม่ได้กดติดตาม รีบเลย !

วิธีการ1 ใช้เทมเพลต

1 คลิกเมนู "File" แล้วเลือก "New". เราจะมาสร้างเอกสารใหม่จากเทมเพลตนามบัตรกัน แบบนี้สามารถสร้างนามบัตรที่สวยหรูดูโปรได้รวดเร็วทันใจ

2 ค้นหาเทมเพลตนามบัตร. พิมพ์ "business card" ในแถบค้นหาของหน้าต่างสร้างเอกสารใหม่ (new document creation) จะมีเทมเพลตนามบัตรฟรีโผล่มาให้เลือกเต็มไปหมด มีให้เลือกกระทั่งว่าจะสร้างนามบัตรแนวตั้งหรือแนวนอน

3 เลือกเทมเพลตที่ต้องการ. คุณเปลี่ยนได้ทุกจุดของเทมเพลต ทั้งสี รูป ฟอนต์ และเลย์เอาท์ ให้เลือกเทมเพลตที่หน้าตาใกล้เคียงกับนามบัตรที่คุณคิดไว้ที่สุด จากนั้นคลิกปุ่ม "Create" หรือ "Download" เพื่อเปิดเทมเพลตใน Word[1]

4 กรอกข้อมูลตามช่องในนามบัตรใบแรก. ถ้าใช้ Office 2010 หรือใหม่กว่า (โดยที่ใช้เทมเพลตของ 2010 หรือใหม่กว่า) แค่พิมพ์ข้อมูลในนามบัตรใบแรก ข้อมูลทั้งหมดจะไปโผล่ในนามบัตรทุกใบในหน้านั้น แต่ถ้าเทมเพลตไม่ได้ดึงข้อมูลไปใส่นามบัตรใบอื่นโดยอัตโนมัติ ก็ต้องกรอกเองทีละใบ

5 เปลี่ยนฟอร์แมตของส่วนต่างๆ. คุณเลือกแล้วเปลี่ยนฟอร์แมตของข้อความไหนในนามบัตรก็ได้ เช่น เปลี่ยนฟอนต์ สี ขนาด และอื่นๆ เหมือนเวลาปรับแต่งข้อความตามปกติ

  • อย่าลืมว่าเรากำลังสร้างนามบัตรประจำตำแหน่งอยู่ ควรเลือกฟอร์แมตที่เป็นทางการหน่อย

6เปลี่ยนโลโก้ (ถ้าต้องการ). ถ้าเทมเพลตนามบัตรมีโลโก้ตั้งต้น ก็คลิกเพื่อเปลี่ยนเป็นโลโก้ของคุณเองได้ จากนั้นปรับขนาดโลโก้ให้พอดีกับนามบัตร และเช็คคุณภาพด้วยว่าชัดเจนดีตอนปรับขนาด

7 ตรวจทานข้อมูลในนามบัตร. นามบัตรธุรกิจห้ามสะกดผิดหรือผิดพลาดตรงจุดอื่นๆ เพราะถือเป็นเครื่องแทนตัวของคุณ ถ้ามีข้อผิดพลาด ลูกค้าหรือคนที่เพิ่งรู้จักคุณเขาจะพาลนึกไปว่าคุณสะเพร่า ไม่เนี้ยบเอาซะเลย

8 พริ้นท์เองหรือจ้างพริ้นท์ทีละเยอะๆ. ถ้าจะพริ้นท์นามบัตรเองที่บ้าน ก็ต้องใช้กระดาษคุณภาพสูงสำหรับพิมพ์นามบัตรโดยเฉพาะ (card stock) พยายามใช้สีขาวหรือออฟไวท์ จะมันหรือด้านก็เลือกตามชอบ แต่ส่วนใหญ่นามบัตรก็เป็นกระดาษด้านธรรมดา ไม่เคลือบ แต่อย่างที่บอกว่าแล้วแต่ความชอบส่วนตัว ถ้าจ้างร้านพิมพ์ทีละเยอะๆ ก็ต้องเซฟไฟล์เทมเพลตนามบัตรที่แต่งเสร็จ ไปให้เปิดแล้วพริ้นท์

  • เวลาเลือกซื้อกระดาษต้องพิจารณาจากพรินเตอร์ที่มีเป็นหลัก ให้อ่านคู่มือหรือเข้าเว็บของพรินเตอร์ที่ใช้ก่อน ว่าพริ้นท์กระดาษแบบไหนได้บ้าง

9 ตัดด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม. พอพริ้นท์นามบัตรแล้ว ก็ต้องตัดออกมาเป็นใบๆ ปกติกระดาษ 1 แผ่นจะตัดนามบัตรได้ประมาณ 10 ใบ ห้ามตัดด้วยกรรไกรหรืออุปกรณ์ตัดกระดาษทั่วไปที่คุณต้องกะเอง ให้ใช้แท่นตัดกระดาษ (paper guillotine หรือ paper cutter) แทน ถ้าจ้างร้านพิมพ์ก็สบายใจได้เพราะมีอุปกรณ์ครบครันแถวไม่ต้องมานั่งตัดเอง