หน่วยที่ 6 อาร์เรย์ และการสร้างฟังก์ชัน

ชนิดตัวแปรอาร์เรย์

ตัวแปรแบบอาร์เรย์ หรือตัวแปรชนิดแถวลำดับ ทำให้เราสามารถตั้งชื่อตัวแปรที่มีชื่อเหมือนกันได้ โดยตัวแปรอาร์เรย์จะแยกข้อมูลที่เก็บลงในตัวแปรเดียวกันให้มีความแตกต่างกันด้วยค่าที่กำกับไว้ที่เรียกว่าดรรชนี

ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ ประกอบด้วย

1. ตัวแปรอาร์เรย์แบบมิติเดียว ซึ่งมีวิธีการประกาศ ดังนี้

2. ตัวแปรอาร์เรย์แบบสองมิติ ซึ่งจะอ้างอิงในลักษณะของแถวและคอลัมน์ มีวิธีการประกาศ ดังนี้

จากรูปแบบการประกาศตัวแปรอาร์เรย์ กำหนดดังนี้

data_type คือ ชนิดข้อมูล เช่น char, int, float

array_name คือ ชื่อของตัวแปร

size คือ จำนวนสมาชิกของตัวแปร

row คือ จำนวนแถว

column คือ จำนวนคอลัมน์

การสร้างฟังก์ชัน

โปรแกรมในภาษาซีอย่างน้อยต้องมี 1 ฟังก์ชันเสมอ ซึ่งก็คือ ฟังก์ชันmain

การเขียนโปรแกรมด้วยการสร้างฟังก์ชันย่อย ๆ เป็นโมดูล ทำให้สามารถแบ่งงานให้กับหลาย ๆ คนตามที่ได้รับผิดชอบได้อีกทั้งทำให้โปรแกรมแลดูมีโครงสร้าง และสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย

ฟังก์ชันต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยวิธีการเรียกใช้หือเรียกว่า Function Call ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายผู้เรียกใช้งาน และฝ่ายที่ถูกเรียกใช้งาน ด้วยการอาศัยส่งผ่านข้อมูลระหว่าง ฟังก์ชัน โดยจะมีการกำหนดรูปแบบและชนิดข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างกัน เราสามารถสร้างฟังก์ชันใช้งานทั้งฟังก์ชันที่ต้องการค่ากลับคืน หรือไม่คืนค่ากลับก็ได้ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์ใด

ตัวแปรภายในและตัวแปรภายนอก

ในภาษาซีหากตัวแปรชื่อเดียวกัน แต่มีการกำหนดไว้ต่างที่หรืออยู่คนละฟังก์ชัน จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกัน ซึ่งตัวแปรเหล่านี้จะเรียกว่าตัวแปรภายในหรือตัวแปรแบบโลคอล

ตัวแปรแบบโกลบอล จะต้องประกาศไว้ที่ต้นโปรแกรม โดยไม่ได้ประกาศไว้ภายในฟังก์ชันใด ๆ ซึ่งตัวแปรดังกล่าวจะทำให้ทุก ๆ ฟังก์ชันสามารถเรียกใช้ตัวแปรนั้นได้ทั่วทั้งโปรแกรม