หน่วยที่ 6 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านการตลาด

ความหมายของการตลาด

การตลาด ในความหมายทางธุรกิจ คือกิจกรรมต่างๆ ที่นำเอาสินค้าและบริการ จากแหล่งผลิตหรือผู้ประกอบการไปถึงมือผู้บริโภค ในเวลาและสถานที่ที่ต้องการ หรือหมายถึงการดำเนินกิจกรรมอันจะส่งผลให้สินค้าและบริการกระจายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค เพื่อใช้อุปโภคบริโภคหรือบริโภคในลักษณะที่ต้องการตามความเหมาะสม ดังนั้นการตลาดจึงมีความหมายที่กว้าง เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ มากมาย เช่น การวิจัยตลาด การวางแผน การส่งเสริมการขาย การจัดจำหน่าย เป็นต้น


เป้าหมายของการตลาด มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ

1. มุ่งที่จะให้ประชาชนมีโอกาสจัดหาหารบริโภคสินค้า และบริการมากที่สุด 2. มุ่งที่ให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจจากการบริโภคมากที่สุด 3. มุ่งที่จะให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากที่สุด 4. มุ่งที่จะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการกินดีอยู่ดีโดยรับสินค้าและบริการที่ดีมาก มีคุณภาพราคายุติธรรม และยังคงสามารถรักษาคุณภาพของสภาพแวดล้อมต่างๆ ไว้ได้

ระบบสารสนเทศด้านการตลาด

การตลาด เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่สินค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด หรือส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ การโฆษณา หรือที่เรียกว่า 4p’s โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผนตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการ มาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

1. การปฏิบัติงาน เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและดำเนินงานด้านการตลาด ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และการวางแนวทางการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาค

2. การวิจัยตลาด เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดโดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

3. คู่แข่ง แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสมปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มาไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายการติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลสื่อสารมวลชนเป็นต้น

4. กลยุทธ์ขององค์กร เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร

5. ข้อมูลภายนอก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายตัวหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทธุรกิจ ซึ่งสามารจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ ดังต่อไปนี้ท 1.ระบบสานสนเทศสำหรับการขาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังต่อไปนี้

                • ·ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลผลิตที่ทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้ อาจเกี่ยวกับช่องทางและวิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังสินค้า
                • ·ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่างๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบเป็นต้น
                • ·ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้า เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

2.ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้

                • ·ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่า การวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้าโดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงินการดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภค
                • ·ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว หลักจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์ และวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย

3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร

4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบ ได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆหรือไม่

5. ระบบสารสนเทศสำหรับพยาภรณ์การขาย เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปสู่การวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขันสภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา

6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร เป็นระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในด้านระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของการคู่แข่ง การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา

7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมของร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการ ได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง

8. ระบบสารสนเทศสำหรับการคุมค่าใช้จ่าย บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น

การเก็บข้อมูลทางการตลาด

การเก็บข้อมูลทางการตลาดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัยทางการตลาด การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหรืออย่างน้อยก็มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเบื้องต้น ไม่ใช่การวิเคราะห์โดยการคาดการณ์จากประสบการณ์หรือสามัญสำนึกของผู้บริหาร

ก่อนที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการเก็บข้อมูลทางการตลาด จำเป็นจะต้องเข้าใจกระบวนการวิจัยทั้งหมด ที่ทุกขั้นตอนต้องสอดประสานเชื่อมโยงกันตั้งแต่การออกแบบวิจัย จนกระทั่งถึงขั้นการวิเคราะห์และรายงานผล ซึ่งในที่นี้จะทบทวนให้เห็นถึงกระบวนการวิจัยทางการตลาดทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย

- การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

- การกำหนดแหล่งข้อมูลและออกแบบการวิจัย

- การกำหนดวิธีการและแบบฟอร์มที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

- การออกแบบการเลือกตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูล

- การตีความและวิเคราะห์ข้อมูล

- การรายงานผลการวิจัย

ดังนั้นวิธีการเก็บข้อมูลเป็นอย่างไรหรือเก็บจากคนกลุ่มไหน จะต้องถูกกำหนดตั้งแต่การออกแบบการวิจัยเพื่อจะได้เลือกวิธรการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม และสามารถตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ชัดเจน ซึ่งนอกเหนือจากวิธีการเก็บแล้ว ยังเกี่ยวโยงไปถึงการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับโจทย์ที่กำหนดในเบื้องต้น

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานด้านการตลาด

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านการตลาดในที่นี้จะใช้โปรแกรมตารางงาน(Microsoft Excel) ในการจัดการงานด้านการตลาด

        • การกรอกข้อมูลงานวิจัย : ให้ทำการกรอกข้อมูลในโปรแกรมตารางงาน
        • การตีเส้น
        • การหาผลรวม
        • การหาค่าร้อยละ
        • การหาค่าเฉลี่ย
        • การกรอกข้อมูลที่รวบรวมได้
        • การคูณ
        • การคัดลอกสูตร
        • การ Lock คอลัมน์และแถว
        • การสร้างแผนภูมิ
        • การซ่อนเซลล์