หน่วยที่ 2 บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ


การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจมีเหตุผลดังนี้

1. บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-Code) อ่านเวลาเข้า–ออกของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า

2. เก็บข้อมูลได้จำนวนมากไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที

3. นำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงายลักษณะต่าง ๆ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)

4. ส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล

5. จัดทำเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)

6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย

7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคารและงานของภาครัฐต่าง ๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ

8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เช่น ระบบจราจร ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน

9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำเพื่อการเกษตร

10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบ การฝึกขับเครื่องบิน

11. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนันทนาการ เช่น การเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง

12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจ

ธนาคารและบริษัทประกันภัยเป็นกิจการงานสาขาแรกที่ใช้คอมพิวเตอร์ จากการพัฒนาเครื่องอ่านตัวพิมพ์หมึกแม่เหล็กที่เรียกว่า Magnetic Ink Character Recognition (MICR) ทำให้ธนาคารสามารถตรวจสอบเช็ค (Check) ได้ด้วยความเร็วสูง และสามารถทำบัญชีของลูกค้าโดยคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันนี้ธุรกิจมักนิยมใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินงานจำนวนมาก เช่น

สถาบันการศึกษา ในด้านการศึกษามีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทำให้นักเรียนและนักศึกษาในปัจจุบันได้เปรียบกว่าในสมัยก่อน เนื่องจากมีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในเรื่องการศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางโดย ไม่มีขีดจำกัด เช่น

· ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน การชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านทางธนาคาร เป็นต้น

· ใช้คอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา โดยทั่วไปจะมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการเรียนการสอนตามรายวิชาของแต่ละสถาบัน เพื่อฝึกทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น MS-Windows,MS-Office, Visual Basic.Net, Java เป็นต้น

· ใช้คอมพิวเตอร์ในการลงทะเบียน นักเรียนนักศึกษาส่วนมากจะลงทะเบียนทางคอมพิวเตอร์โดยผ่าน อินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถตรวจสอบรายวิชาและวัน เวลาที่ตนเองสะดวกที่จะเรียนได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

· ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจข้อสอบปรนัย สถาบันบางแห่งอาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจข้อสอบซึ่งช่วยให้รวดเร็วขึ้นโดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านจดจำสัญลักษณ์ด้วยแสง จะใช้ระบบการเรียนรู้และจำสัญลักษณ์ด้วยแสง มีการใช้แสงอ่านสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ทำไว้ เป็นสัญลักษณ์ไฟฟ้าส่งต่อให้หน่วยประมวลผล

· ใช้คอมพิวเตอร์ตัดเกรด ซึ่งแต่ละสถาบันจะพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเอง หรือซื้อโปแกรมสำเร็จรูปมาใช้เอง เพื่อช่วยเป็นเครื่องมือในการทำงานของครูผู้สอนแทนการทำด้วยมือ เช่น MS-DOS ต่อมามีการพัฒนาปรับปรุงให้สามารถใช้งานกับระบบปฏิบัติการ MS-Windows และในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอจนสามารถใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction: CAI) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาในลักษณะของ สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) คือมีทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งคำว่า “มัลติมีเดีย” หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยตัวอักษร (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายให้แก่ผู้ใช้ในรูปแบบของ ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) เพื่อช่วยสนับสนุนในการเรียนรู้ของผู้ใช้ให้มีความน่าสนใจและเรียนรู้ได้เร็วขึ้น มัลติมีเดียเป็นสื่อผสมที่ สามารถใช้ได้ตั้งแต่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โดยผ่าน (CD-ROM) และระบบอินเทอร์เน็ต การนำเอาระบบมัลติมีเดียไป ประยุกต์ใช้มีหลายรูปแบบ เช่น การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป การโฆษณา การนำเสนอสินค้าและบริการ เป็นต้น

สถาบันการเงิน เช่น การธนาคาร ใช้คอมพิวเตอร์ในการให้บริการกับลูกค้า การฝากเงิน และการถอนเงิน การชำระค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น การแข่งขันในธุรกิจการธนาคารในปัจจุบันจะเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็ว โดยใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการ แต่ละธนาคารอาจมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อ เปลี่ยนทัศนคติของประชาชนที่มีต่อธนาคารนั้น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อดำรงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อให้สามารถขยายงานได้รวดเร็ว และควบคุมการทำงานให้รัดกุมขึ้น เป็นต้น

ส่วนมากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้แข่งขันการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อประโยชน์ดังนี้

1. เพื่อช่วยให้บริการลูกค้าประจำสะดวกรวดเร็ว

2. เพื่อให้เสนอบริการใหม่ ๆ ในรูปแบบและเวลาที่ลูกค้าต้องการ และให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่าย

3. เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

รูปแบบการให้บริการที่ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการข่าวสาร การให้บริการ เงินด่วน (ATM) การทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต (E-banking) การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Banking) เป็นต้น และขยายการให้บริการไปยังเทคโนโลยีทางโทรศัพท์มือถือเพื่อผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมการเงินทางมือถือได้เหมือนกับทำที่เครื่องคอมพิวเตอร์


การทำธุรกรรมผ่าน M-Banking

ธุรกิจโรงแรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลการเข้าพัก และการแจ้งคืนห้องของลูกค้า การชำระค่าหอพัก เป็นต้น ธุรกิจโรงแรมในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการโรงแรม การเช็คอิน (Check-in)การเช็คเอาต์ (Check-out) รายงานห้อง คงเหลือ เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจโรงแรม ยังมีการบริการจองโรงแรมออนไลน์โดยที่ลูกค้า สามารถคลิกเลือกดูรายละเอียดพิจารณาข้อมูลความคิดเห็นของลูกค้าท่านอื่น ๆ และเลือกจองห้องในโรงแรมได้ด้วยตนเอง

การให้บริการจองโรงแรมแบบออนไลน์

ธุรกิจสายการบิน ใช้คอมพิวเตอร์การตรวจดูตารางการบิน การจองตั๋วเครื่องบิน การยกเลิกเที่ยวบิน การสำรวจที่นั่งล่วงหน้า เป็นต้น

ด้านการแพทย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาประวัติของคนไข้ การวินิจฉัยโรค การเอกซเรย์ การชำระเงินค่ารักษา เป็นต้น

โรงงานอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด ตรวจสอบคุณภาพ สินค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม เป็นต้น

ด้านการบันเทิง ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและตัดต่อภาพ การควบคุมคุณภาพของเสียง การออกแบบท่าเต้น การโฆษณา เป็นต้น

ด้านการสื่อสาร เช่น การนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น

ด้านตลาดหลักทรัพย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อ–ขายหุ้น เป็นต้น

ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้คอมพิวเตอร์หาข้อมูลข่าวสาร การออกแบบรูปเล่ม การติดต่อข้อมูล การส่งไปตีพิมพ์ เป็นต้น