การพัฒนาระบบสารสนเทศ

และระบบสารสนเทศสำหรับองค์กรยุคใหม่

วงจรการพัฒนาระบบ(SDLC)

ความหมาย เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆที่กำหนดเอาไว้ในแผนพัฒนาระบบสารสนเทศทางการเงิน เพื่อสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเป็นไปตามที่ต้องการ

วงจรการพัฒนาระบบ คือ กระบวนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นกลุ่มงานหลัก ๆ ดังนี้ ด้านการวางแผน (Planning Phase) ด้านการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ด้านการออกแบบ (Design Phase) ด้านการสร้างและพัฒนา (Implementation Phase)

ความสำคัญ ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร

วงจรการพัฒนาระบบ(SDLC)

ความหมาย เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆที่กำหนดเอาไว้ในแผนพัฒนาระบบสารสนเทศทางการเงิน เพื่อสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเป็นไปตามที่ต้องการ

วงจรการพัฒนาระบบ คือ กระบวนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นกลุ่มงานหลัก ๆ ดังนี้ ด้านการวางแผน (Planning Phase) ด้านการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ด้านการออกแบบ (Design Phase) ด้านการสร้างและพัฒนา (Implementation Phase)

ความสำคัญ ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร

ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ

1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)

2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)

3. วิเคราะห์ (Analysis)

4. ออกแบบ (Design)

5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)

6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)

7. บำรุงรักษา (Maintenance)

ขั้นที่ 1 : เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)

ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักว่า ต้องการระบบสารสนเทศหรือระบบจัดการเดิม ได้แก่ระบบเอกสารในตู้เอกสาร ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน

ปัจจุบันผู้บริหารตื่นตัวกันมากที่จะให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานของตน ในงานธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือใช้ในการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัทของเรา จำกัด ติดต่อซื้อสินค้าจากผู้ขายหลายบริษัท ซึ่งบริษัทของเราจะมีระบบ MIS ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่บริษัทขอเราติดค้างผู้ขายอยู่ แต่ระบบเก็บข้อมูลผู้ขายได้เพียง 1,000 รายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ขายมีระบบเก็บข้อมูลถึง 900 ราย และอนาคตอันใกล้นี้จะเกิน 1,000 ราย ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงเรียกนักวิเคราะห์ระบบเข้ามาศึกษา แก้ไขระบบงาน

ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)

จุดประสงค์ของการศึกษาความเป็นไปได้ก็คือ การกำหนดว่าปัญหาคืออะไรและตัดสินใจว่าการพัฒนาสร้างระบบสารสนเทศ หรือการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมมีความเป็นไปได้หรือไม่โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ปัญหาต่อไปคือ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกำหนดให้ได้ว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคและบุคลากร ปัญหาทางเทคนิคก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือเก่าๆถ้ามี รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ด้วย ตัวอย่างคือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในบริษัทเพียงพอหรือไม่ คอมพิวเตอร์อาจจะมีเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอ รวมทั้งซอฟต์แวร์ ว่าอาจจะต้องซื้อใหม่ หรือพัฒนาขึ้นใหม่ เป็นต้น ความเป็นไปได้ทางด้านบุคลากร คือ บริษัทมีบุคคลที่เหมาะสมที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่มีจะหาได้หรือไม่ จากที่ใด เป็นต้น นอกจากนั้นควรจะให้ความสนใจว่าผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความเห็นของผู้บริหารด้วย

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis)

เริ่มเข้าสู่การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์ระบบเริ่มตั้งแต่การศึกษาระบบการทำงานของธุรกิจนั้น ในกรณีที่ระบบเราศึกษานั้นเป็นระบบสารสนเทศอยู่แล้วจะต้องศึกษาว่าทำงานอย่างไร เพราะเป็นการยากที่จะออกแบบระบบใหม่โดยที่ไม่ทราบว่าระบบเดิมทำงานอย่างไร หรือธุรกิจดำเนินการอย่างไร หลังจากนั้นกำหนดความต้องการของระบบใหม่ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องใช้เทคนิคในการเก็บข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) ดังรูป ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่มีอยู่ ตรวจสอบวิธีการทำงานในปัจจุบัน สัมภาษณ์ผู้ใช้และผู้จัดการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ เอกสารที่มีอยู่ได้แก่ คู่มือการใช้งาน แผนผังใช้งานขององค์กร รายงานต่างๆที่หมุนเวียนใน ระบบการศึกษาวิธีการทำงานในปัจจุบันจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบรู้ว่าระบบจริงๆทำงานอย่างไร ซึ่งบางครั้งค้นพบข้อผิดพลาดได้ ตัวอย่าง เช่น เมื่อบริษัทได้รับใบเรียกเก็บเงินจะมีขั้นตอนอย่างไรในการจ่ายเงิน ขั้นตอนที่เสมียนป้อนใบเรียกเก็บเงินอย่างไร เฝ้าสังเกตการทำงานของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจและเห็นจริงๆ ว่าขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบค้นพบจุดสำคัญของระบบว่าอยู่ที่ใด

การสัมภาษณ์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบควรจะต้องมีเพื่อเข้ากับผู้ใช้ได้ง่าย และสามารถดึงสิ่งที่ต้องการจากผู้ใช้ได้ เพราะว่าความต้องการของระบบคือ สิ่งสำคัญที่จะใช้ในการออกแบบต่อไป ถ้าเราสามารถกำหนดความต้องการได้ถูกต้อง การพัฒนาระบบในขั้นตอนต่อไปก็จะง่ายขึ้น เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะนำมาเขียนรวมเป็นรายงานการทำงานของ ระบบซึ่งควรแสดงหรือเขียนออกมาเป็นรูปแทนที่จะร่ายยาวออกมาเป็นตัวหนังสือ การแสดงแผนภาพจะทำให้เราเข้าใจได้ดีและง่ายขึ้น หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบ อาจจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาเขียนเป็น "แบบทดลอง" (Prototype) หรือตัวต้นแบบ แบบทดลองจะเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ และที่ช่วยให้ง่ายขึ้นได้แก่ ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation Language) เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้งานตามที่เราต้องการได้ ดังนั้นแบบทดลองจึงช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่4 : การออกแบบ (Design)

ในระยะแรกของการออกแบบ นักวิเคราะห์ระบบจะนำการตัดสินใจ ของฝ่ายบริหารที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้วย (ถ้ามีหรือเป็นไปได้) หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะนำแผนภาพต่างๆ ที่เขียนขึ้นในขั้นตอนการวิเคราะห์มาแปลงเป็นแผนภาพลำดับขั้น (แบบต้นไม้) ดังรูปข้างล่าง เพื่อให้มองเห็นภาพลักษณ์ที่แน่นอนของโปรแกรมว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และโปรแกรมอะไรบ้างที่จะต้องเขียนในระบบ หลังจากนั้นก็เริ่มตัดสินใจว่าควรจะจัดโครงสร้างจากโปรแกรมอย่างไร การเชื่อมระหว่างโปรแกรมควรจะทำอย่างไร ในขั้นตอนการวิเคราะห์นักวิเคราะห์ระบบต้องหาว่า "จะต้องทำอะไร (What)" แต่ในขั้นตอนการออกแบบต้องรู้ว่า " จะต้องทำอย่างไร(How)"

ในการออกแบบโปรแกรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัย (Security) ของระบบด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น "รหัส" สำหรับผู้ใช้ที่มีสิทธิ์สำรองไฟล์ข้อมูลทั้งหมด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 5 : การพัฒนาระบบ (Construction)

ในขั้นตอนนี้โปรแกรมเมอร์จะเริ่มเขียนและทดสอบโปรแกรมว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ ต้องมีการทดสอบกับข้อมูลจริงที่เลือกแล้ว ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย เราจะได้โปรแกรมที่พร้อมที่จะนำไปใช้งานจริงต่อไป หลังจากนั้นต้องเตรียมคู่มือการใช้และการฝึกอบรมผู้ใช้งานจริงของระบบ

ระยะแรกในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมสถานที่สำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะต้องตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเรียบร้อยดี

โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมตามข้อมูลที่ได้จากเอกสารข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ (Design Specification) ปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าโปรแกรมเมอร์คิดว่าการเขียนอย่างอื่นดีกว่าจะต้องปรึกษานักวิเคราะห์ระบบเสียก่อน เพื่อที่ว่านักวิเคราะห์จะบอกได้ว่าโปรแกรมที่จะแก้ไขนั้นมีผลกระทบกับระบบทั้งหมดหรือไม่ โปรแกรมเมอร์เขียนเสร็จแล้วต้องมีการทบทวนกับนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด วิธีการนี้เรียกว่า "Structure Walkthrough " การทดสอบโปรแกรมจะต้องทดสอบกับข้อมูลที่เลือกแล้วชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเลือกโดยผู้ใช้ การทดสอบเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่นักวิเคราะห์ระบบต้องแน่ใจว่า โปรแกรมทั้งหมดจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด

ขั้นตอนที่ 6 : การปรับเปลี่ยน (Construction)

ขั้นตอนนี้บริษัทนำระบบใหม่มาใช้แทนของเก่าภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ การป้อนข้อมูลต้องทำให้เรียบร้อย และในที่สุดบริษัทเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่นี้ได้

การนำระบบเข้ามาควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ดีที่สุดคือ ใช้ระบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบเก่าไปสักระยะหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าเรียบร้อยก็เอาระบบเก่าออกได้ แล้วใช้ระบบใหม่ต่อไป

ขั้นตอนที่ 7 : บำรุงรักษา (Maintenance)

การบำรุงรักษาได้แก่ การแก้ไขโปรแกรมหลังจากการใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขระบบส่วนใหญ่มี 2 ข้อ คือ

1. มีปัญหาในโปรแกรม (Bug)

2. การดำเนินงานในองค์กรหรือธุรกิจเปลี่ยนไป

จากสถิติของระบบที่พัฒนาแล้วทั้งหมดประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโปรแกรม เนื่องจากมี "Bug" ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบควรให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษา ซึ่งปกติจะคิดว่าไม่มีความสำคัญมากนัก

เมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น ความต้องการของระบบอาจจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องการรายงานเพิ่มขึ้น ระบบที่ดีควรจะแก้ไขเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องการได้

การบำรุงรักษาระบบ ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อผู้บริหารต้องการแก้ไขส่วนใดนักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมแผนภาพต่าง ๆ และศึกษาผลกระทบต่อระบบ และให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไปว่าควรจะแก้ไขหรือไม่

ทีมงานพัฒนาระบบ

บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบสารสนเทศ มีดังนี้

1. ผู้ใช้ คือ บุคลากรที่มีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์สำเร็จรูปได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ใช้มีความสำคัญในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยระบุความต้องการของตนเองต่อนักวิเคราะห์ระบบว่าต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร

2. นักวิเคราะห์ระบบ คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบในหน่วยงานหรือองค์กร โดยศึกษารวบรวมข้อมูลขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานต่างๆ และความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่ หรือปรับปรุงแก้ไขระบบงานที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ลักษณะงานของนักวิเคราะห์ระบบจะเกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายระดับ ดังนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม

3. นักออกแบบระบบ คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการออกแบบระบบงานทั้งในด้านโครงสร้างข้อมูลและจัดการฐานข้อมูลตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ทำการวิเคราะห์ไว้

4.นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่เขียนและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ตามการออกแบบของนักวิเคราะห์ระบบแะนักออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการพัฒนาซอฟต์แวร์ และต้องมีความอดทนสูงเพราะระหว่างการเขียนซอฟต์แวร์อาจพบข้อผิดพลาด และต้องแก้ไขจนกว่าจะได้ผลสำเร็จ

5. ผู้ควบคุมเครื่อง คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เมื่อเกิดปัญหาขัดข้องในการใช้งาน ผู้ควบคุมเครื่องต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้

6. ผู้บริหารและควบคุมฐานข้อมูล คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ควบคุม ปรับปรุงแก้ไขฐานข้อมูล และกำหนดกฏระเบียบเกี่ยวกับการเข้าใช้ฐานข้อมูล เพื่อความเป็นระเบียบและความปลอดภัย

7. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ คือ บุคลากรที่อยู่ในตำแหน่งบริหารงาน เป็นผู้วางแผนและกำหนดนโยบายของหน่วยงาน กำหนดมาตรฐานในการทำงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ ดังนั้นผู้ที่ปฎิบัติงานในระดับนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์และมีความสามารถในการบริหารงาน

การพัฒนาระบบกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร

เทคโนโลยีสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรได้โดยรวดเร็วและถึงตัวบุคคลมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่มีการประชุมระหว่างแพทย์กับพยาบาลเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งวิธีการนัดประชุมก็คือทำเป็นจดหมายและโทรศัพท์แจ้ง ในขณะประชุมก็มีเจ้าหน้าที่หนึ่งคนบันทึกการประชุม หลังประชุมเสร็จอีกประมาณ 2-3 วันเจ้าหน้าที่จึงจะพิมพ์บันทึกการประชุมไปให้ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้ ทำให้เกิดปัญหาทั้งการมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบ การวางแผนงานเกิดความผิดพลาดเพราะแผนที่สรุปในห้องประชุมไม่ตรงกับแผนการทำงานส่วนบุคคล เป็นต้น ในเวลาต่อมาหัวหน้าแพทย์ซื้อเครื่องบันทึกข้อมูลแบบปาล์มมาให้ทุกคนใช้งาน โดยใช้ในการนัดหมายประชุม จัดตารางนัดหมาย และบันทึกผลการประชุม ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสามารถบันทึกนัดหมายได้ตรงกันมากขึ้นและรับบันทึกการประชุมได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้การส่งข้อมูลแบบไร้สาย ทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ของผู้เข้าร่วมประชุมก็คือการถือเครื่องปาล์มไปประชุมแทนการถือเอกสารพะรุงพะรัง

ระบบสารสนเทศสสำหรับองค์กรยุคใหม่

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Digital เข้ามาช่วยในการจัดทำกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไร

เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการเร็วทำให้การลงทุนในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ องค์กร มีมากขึ้นดังนั้นในการจัดทำกลยุทธ์ทางด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตามไปด้วยเพื่อให้ทันกับสารสนเทศในยุคดิจิตอลตามไปด้วย ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร

· เรื่องเกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนงานสำหรับการจัดการสารสนเทศสำหรับองค์กร โดยเน้นการทำงานภายใน และการทำงานร่วมกันระหว่างกัน· ยุทธศาสตร์การวางแผนจากการที่อุปกรณ์ ICT ถูกลง และอินเทอร์เน็ตก้าวหน้า· การวางแผนสร้างอำนาจการแข่งขันด้วย e-Model· เรื่องเกี่ยวกับ e-model ที่มีความสัมพันธ์กับ information technology· การวางแผนทำงานร่วมกัน Collaboration Business· IT solution ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Value Chain Model· มองแนวโน้มของ New economy· โลกใหม่ของการดำเนินการใน e-Business· แรงกดดันที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในองค์กร· การวางแผนโดยใช้ IT/IS SCM CRM และ e-Business· ความสำคัญของธุรกิจในยุค e-Ageประเด็นเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรทั้งสิ้น



ยุทธศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญขององค์กร

o การเข้าใจสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

o การทำงานร่วมกัน และ ยุทธศาสตร์การใช้สารสนเทศในการรวมกันเพื่อการแข่งขัน

o Business Value Chain Model

o E-Business ขององค์กรบน พื้นฐาน C-Business

o New IT solution และ กลยุทธ์การใช้ไอซีทีภายใต้ข้อจำกัดขององค์กร

เทคโนโลยีที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ องค์กรได้แก่

v เทคโนโลยีการประมวลผล

v เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล

v เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล

v เทคโนโลยีการแสดงผลและการพิมพ์

พัฒนาการของไอที และ อินเทอร์เน็ตและแนวโน้มในยุค Digital ได้แก่

v พัฒนาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์(ไมโครโปรเซสเซอร์)

v ฮาร์ดแวร์พัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เร็วขึ้น

v แนวโน้มประสิทธิภาพสูงขึ้น

v ราคาลดลง ผลิตมากขึ้น

v ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง

v การพัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงอุปกรณ์และระบบต่างๆเข้าด้วยกัน Internet of Thing (IoT)

เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์กร

องค์กรสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ทำให่ลักษณะโครงสร้างและการดำเนินงานที่แตกต่างกับองค์กรแบบเดิม อย่างชัดเจนเช่น

การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนของข้อมูลผ่านเครือข่าย สร้างความสะดวกและรวดเร็ว ถูกต้อง ไม่ซับซ้อน ทำให้ลดจำนวนงานลง จะเป็นโครงสร้างแบบแนวราบ ( Flat Structure)

ระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพช่วยลดลำดับชั้นในการจัดการ และทำให้การควบคุมกว้างขึ้น

ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้บุคลากรทำงานคนละที่ ซึ่งจะลดการติดต่อสื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยตรง จึงต้องอาศัยความเชื่อถือระหว่างองค์กรและบุคลากร ตลอดจนใช้อำนาจในการตัดสินใจ

การประยุกต์ใช้ไอทีในองค์กร ส่งผลให้บุคลากรมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

การประยุกต์ใช้ไอทีในองค์กร ส่งผลให้มีการปรับองค์กรในการใช้อุปกรณ์สำนักงานและการสูญเสียทรัพยากรน้อยลงเช่นสำนักงานไร้กระดาษ

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์

Scott Morton ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร 5 ประการดังนี้

1. เทคโนโลยี (Technology)

2.บทบาทของคุณ ( Individuals and Roles )

3.โครงสร้าง ( Structure )

4.กระบวนการจัดการ ( Management Process)

5.กลยุทธ์ ( Strategy)

ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

จำแนกออกเป็น 3 ระดับ

1.อิสระต่อกัน ( Independent)

2.ร่วมกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)

3.การกำหนดนโยบายร่วมกัน (Policy Execution)

ระบบสารสนเทศกับการธำรงรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจในการแข่งขันมี 4 วิธีดังนี้

1.ดำเนินการก่อน (First Mover)

2.เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ( Technological Leadership)

3.เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation )

4.สร้างต้นทุนที่สูงในการเปลี่ยนแปลง ( Create High Switching Cost)

บทบาทของผู้บริหารที่มีต่อกลยุทธ์ด้านสารสนเทศขององค์กรในยุคดิจิตอลดังต่อไปนี้

1.การผลิตและการดำเนินงาน ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการประยุกต์ใช้ไอที ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการที่มีคุณภาพ ตลอดจนสนับสนุนโครงสร้างองค์กร ให้ทำงานร่วมกันในการใช้ทรัพยากร

2.การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารในปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจ ผู้บริหารต้องสนับสนุนการนำไอทีมาใช้ในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3.กระบวนการ การนำไอที่มาประยุกต์ใช้ในองค์กรทำให้ต้องมีการปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้ลดขั้นตอนการทำงานที่ล้าสมัย และเพื่อให้องค์กรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน

4.การวางแผน ความสำเร็จของการใช้ไอทีเกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์กร ในส่วนนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องสร้างความกลมเกลียวระหว่างไอที องค์กร และกลยุทธ์

สรุป ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information System : SIS) ในยุคดิจิตอล คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ กรอบแนวคิดเรื่อง SIS มี 2 โมเดล คือ โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model) และโมเดลของโซ่ของคุณค่า (Value Chain Model) โมเดลของพลังการแข่งขันประกอบด้วยพลัง 5 ปัจจัย คือ การแข่งขันของผู้แข่งขันแรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่ แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน อำนาจต่อรองของลูกค้า อำนาจพลังต่อรองของซัพพลายเออร์ การสร้างความได้เปรียบทางการข่างขันอาจใช้ กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดการกับพลังทั้งห้านั่นเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Digital กับการวางแผนกลยุทธ์ในระบบสารสนเทศของไทย

สำหรับประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดทำแผนพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไก สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิดใน ทุกภาคส่วน การปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ การปรับปรุง ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน และการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อันจะนำไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทยตาม นโยบายของรัฐบาลใน วิสัยทัศน์ ดิจิทัลไทยแลนด์(Digital Thailand) หมายถึง ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และ ทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน โดยแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะมีเป้าหมายในภาพรวม 4 ประการดังต่อไปนี้

• เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิต การบริการ

• สร้างโอกาสทาง สังคมอย่างเท่าเทียม ด้วยข้อมูลข่าวสารและบริการต่างๆ ผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

• เตรียมความพร้อมให้บุคลากรทุกกลุ่ม มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล

• ปฏิรูปกระบวนทัศน์การทำงานและการ ให้บริการของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความ โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ จึงกำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนด ทิศทางการพัฒนาและเป้าหมายใน 4 ระยะ ดังนี้ ๑ ปี ๖ เดือน ๑๐ ปี ๕ ปี ๑๐ - ๒๐ ปี