หน่วยที่ 7 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านการผลิต

การผลิต คือ การสร้างเศรษฐ์ทรัพย์และบริการต่างๆ เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์การผลิตสิ่งของและบริการทุกอย่างจะต้อง เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ การผลิตหรือการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ อาจจัดอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ต่อไปนี้

1. การสร้างรูปร่างผลิตผลขึ้นใหม่ คือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของปัจจัย การผลิตต่างๆ เพื่อให้เกิดสินค้าตามลักษณะและรูปร่างที่ต้องการเพื่อเพิ่มความพอใจให้แก่ผู้ใช้ และผู้บริโภคมากที่สุด

2. การเคลื่อนย้ายผลิตผล คือการเปลี่ยนที่ของผลิตผล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และอำนาจบำบัดความต้องการมากขึ้น

3. การเก็บผลิตผลไว้รอเวลาที่ต้องการคือการเก็บสินค้าบางอย่างไว้นานๆเพื่อเพิ่มประโยชน์และเพิ่มมูลค่า

4. การทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เปลี่ยนมือ เช่น การทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายบ้าน เท่ากับเป็นการช่วยดำเนินการโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในบ้านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เจ้าของบ้านใหม่จะเกิดความพอใจที่ได้บ้านมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน

ปัจจัยการผลิต ในการผลิตจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยการผลิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.ทรัพยากรธรรมชาติได้แก่ ที่ดินรวมถึงสภาพธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน บนดินและเหนือดิน

2. แรงงาน หมายถึง การทำงานทุกชนิดที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ แรงงานนี้รวมถึง แรงงานด้านการใช้กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย

3.ทุน ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สินค้า หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต

4. ผู้ประกอบการ ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยตรง เป็นผู้ให้ความริเริ่มในนโยบายต่างๆหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในส่วนสำคัญในอันที่จะทำให้การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านการผลิต

การผลิต(Production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และพลังงาน ให้เป็นผหลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า "การดำเนินการ (operation)" โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์กรมีดังต่อไปนี้

1.ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน

2.ข้อมูลสินค้าคงคลัง

3.ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ

4.ข้อมูลแรงงานและบุคลากร

5.กลยุทธ์องค์กร

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

การปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต

3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ต