10. การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมเพื่อการพัฒนาตนเองด้านสังคม

B+ นายชลิต มีคม

B นางสาวปวีณา ลิ่วจา

ภาพประกอบกิจกรรมโปรแกรมการให้คำปรึกษา

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาตนเองหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Self-development คือ แนวคิดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตน หรือให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคม ซึ่งมีนิยามความหมายที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังนี้ ความหมายที่ 1: การพัฒนาตนคือการที่บุคคลพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เหมาะสมกว่าเดิม ทำให้สามารถดาเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการ แรงจูงใจ หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ ความหมายที่ 2 การพัฒนาตนคือการพัฒนาศักยภาพของตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดารงชีวิตอย่างสันติสุขของตน สาหรับการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นบุคคลที่มีศักยภาพและมีความสามารถนั้น เราต้องพัฒนาความ “เก่ง” ในสามด้านด้วยกัน ได้แก่ 1) เก่งตน คือ การเป็นผู้ที่หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อให้รู้เท่าทันคนอื่น และรู้เท่าทันโลก มีความประพฤติ การแสดงออกทางวาจาและอารมณ์ที่เหมาะสม มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความกระตือรือร้น เป็นต้น 2) เก่งคน คือ คนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีพื้นฐานความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีตั้งแต่ในระดับครอบครัว เพื่อนฝูง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน คนประเภทนี้จะเป็นที่รักและเอ็นดูของคนทั่วไป สามารถเข้าสังคมได้ง่ายและเมื่อมีปัญหาก็มีผู้อื่นยินดีให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ 3) เก่งงาน คือ คนที่ได้มีการศึกษาและรู้ลึกรู้กว้างเกี่ยวกับขอบเขตงานที่ตนเองทำ เป็นผู้ที่รักและขยันในการทำงาน มีความมุมานะและอุตสาหะ ทุ่มเทให้กับการทำงาน คนประเภทนี้จะเป็นคนที่เจ้านายมีความเชื่อใจและมีคุณค่าสาหรับองค์กรสูง

ในปัจจุบันนี้ การศึกษาของประเทศไทยนั้นต่างก็พบเจอกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ในโรงเรียนหรือห้องเรียน ปัญหาที่ค่อนข้างจะเห็นได้ชัดคือเมื่อผู้เรียนเข้ามาเรียนในสถานศึกษาเป็นปีแรกหรือย้ายมาจากต่างโรงเรียน ผู้เรียนอาจจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่ เพื่อนใหม่ ทำให้ผู้เรียนเกิดความกดดันในเรื่องต่างๆ เช่น การคบเพื่อนใหม่ การเรียนไม่ทันเพื่อน หรือรวมทั้งเกิดความคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถที่จะอยู่ในโรงเรียนนั้นได้ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิตในโรงเรียน เช่น ผู้เรียนรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งเหมือนคนอื่นจึงส่งผลให้ไม่อยากไปโรงเรียน เป็นต้น ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้เรียนที่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับผู้เรียนที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นปีแรกด้วย อาจจะมีการปรับตัวไม่ได้ อีกทั้งยังไม่เคยเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าตอนเรียนมัธยม จึงทำให้เกิดความเครียด ความกดดันในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เวลาเจอเพื่อนที่เก่งกว่าก็จะคิดว่าตัวเองนั้นด้อยความสามารถกว่าเพื่อน การที่ผู้เรียนเกิดวามรู้สึกว่าตนเองด้อยนั้น ทำให้เด็กคนนั้นๆ หยุดที่จะพัฒนาตนเองและกดดันตนเองจนทำให้ตนเองนั้นไม่มีความสุขได้ เนื่องจากผู้เรียนในวัยนี้นั้นอยู่ในขั้นพัฒนาการของช่วงวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งในช่วงพัฒนาการนี้มีสิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น ด้านความคิด ที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จะมีความคิดที่สมเหตุสมผลขึ้นในบางเรื่องเหมือนผู้ใหญ่ และมีความคิดเหมือนเด็กในบางเรื่องเช่นกัน รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ มีการคบเพื่อนต่างเพศและมีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเป็นต้น

ดังนั้นผู้จัดทำโครงการนี้เล็งเห็นปัญหานี้จึงได้จัดตั้งโครงการชุดโปรแกรมการให้คาปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมเพื่อการพัฒนาตนเองในด้านสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 นั้น สามารถพัฒนาตนเองในด้านสังคม ให้สามารถปรับตัวให้สามารถเรียนได้อย่างมีความสุขในชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งในด้านสังคมนี้ประกอบไปด้วยการใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้อื่น การปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ๆเพื่อลดความกดดันเพื่อทำให้ตัวเองมีความสุขในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมนั้นๆได้ โดยผู้จัดทำโครงการใช้ความรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) ซึ่งมีแนวคิดที่สาคัญ คือ 1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้ 2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยมนั้นมีทฤษฎีของนักจิตวิทยาที่หลากหลาย เช่นทฤษฎีแนวคิดของพาร์พลอฟ ( Pavlov ) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจานวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไขหรือทฤษฏีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์(Skinner) ที่เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล เป็นต้น

ในการนี้ ด้วยตระหนักถึงการพัฒนาตนเองในด้านสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จึงขอเสนอชุดชุดโปรแกรมการให้คาปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมเพื่อการพัฒนาตนเองในด้านสังคมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมการพัฒนาตนเองด้านสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และกลุ่มนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ