9. โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้ทฤษฎีการเผชิญความจริงเพื่อแก้ไขปัญหาความเครียด

A นายเจษฎา สองเมือง

B+ นายณัฐวุฒิ กันทะหมื่น

ภาพประกอบกิจกรรมโปรแกรมการให้คำปรึกษา

หลักการและเหตุผล

ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับชีวิตของนักศึกษาแม้ว่าจะดูแลสุขภาพของตนเองดีเพียงใด แต่เมื่อต้องเจอกับความเครียดอยู่เป็นประจำ ก็จะทำ ให้เกิดปัญหาและความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้นักศึกษาไม่มีความสุขและยังส่งผลทำให้ร่างกายมีความผิดปกติซึ่งอาจมีภาวะอาการ อันได้แก่ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ ปวดคอและหลัง นอนไม่หลับ มีการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในร่างกาย ระบบประสาทผิดปกติ เจ็บปวดกล้ามเนื้อและข้อ มีความผิดปกติทางเพศ ปัสสาวะบ่อยและอ่อนเพลีย ส่วนผลกระทบต่อจิตใจเมื่อบุคคลเกิดภาวะความเครียดจะทำ ให้เกิดความวิตกกังวล ตึงเครียด ซึมเศร้า หงุดหงิด ฉุนเฉียว ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม ขาดความมั่นใจในตนเอง หนีปัญหา ขาดความตั้งใจ รู้สึกเบื่อ มองตนเองในแง่ลบ คิดในทางร้าย ก้าวร้าว หวาดระแวง และขาดอารมณ์ขัน

ความเครียดนั้นส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการเรียน ซึ่งแสดงออกออกมาเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ความเฉื่อยชา การขาดเรียน การทำงานในห้องเรียน การทำการบ้าน การทำงานที่ได้รับมอบหมายแบบไม่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจทำในสิ่งต่าง ๆ ขาดสมาธิในตนเองจนไม่สามารถทำงานและไม่สามารถควบคุมตนเองได้อาจส่งผลให้ความสนใจในการทำงานลดลง จนส่งผลต่อคุณภาพของงานนั่นเอง ผู้ที่มีปัญหาความเครียดนั้นอาจมีวิธีแก้ไขปัญหาได้ในหลายวิธี เช่น การใช้หลักธรรมเข้าช่วยเหลือ การพักผ่อนให้เพียงพอ การท่องเที่ยว การฟังเพลงที่ชอบ หรือแม้กระทั่งการพูดระบายความรู้สึกเป็นทุกข์ของตัวเองให้คนที่เราไว้ใจฟัง ซึ่งสิ่งเหล้านี้ล้วนแต่สามารถทำให้เราเกิดความเครียดน้อยลง ในทางตรงข้ามกัน หากคนเรานั้นหาวิถีทางในการจัดการกับความเครียดไม่เหมาะสมอาจจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา และทำให้ความเครียดเบาลงได้ และวิธีที่สามารถช่วยแก้ไขความเครียดได้ดีวิธีหนึ่งคือ การให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้บุคคลสำรวจและรู้จักตนเอง จนรู้ถึงข้อบกพร่องของตนเองจนเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ผู้จัดทำโปรแกรมจึงเลือกที่จะใช้การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง เนื่องจากทฤษฎีมีแนวคิดพื้นฐานมาจากกระบวนการทางพุทธิปัญญา (Cognitive Therapy) ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงความคิดเป็นหลัก โดยเชื่อว่าอารมณ์พฤติกรรมของบุคคลรวมถึงความเครียดมีสาเหตุจากความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล จตุพร เพ็งชัย (2553:67) ดังนั้นนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ที่มีความเครียดในการเรียน สามารถนำหลักการของทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมที่เน้นความคิดให้มีเหตุผล เข้าถึงปัญหาหาสาเหตุ และแก้ไขปัญหาอันเกิดจากความเครียดในการเรียนได้ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 1 อาจจะมีภาระงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ค่อนข้างมาก และเนื่องด้วยการเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก อาจจะยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและการเรียนได้ เมื่อเกิดปัญหาความเครียดขึ้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดที่อาจจะส่งผลไปสู่ร่างกาย จิตใจ ถูกสิ่งแวดล้อมรอบข้างกดดัน จนส่งผลต่อการเรียน การใช้ชีวิต สุขภาพ หรือส่งผลต่อคนรอบข้าง และย่อมทำให้การทำงานที่ได้รับมอบหมายมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 1 ตระหนักถึงภาระงานและการใช้ชีวิตของตนเอง จนนำไปสู่การจัดทำโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อที่จะสามารถนำไปช่วยเหลือ ป้องกันปัญหา และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้