3. การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการออมเงิน

B นางสาวจุฑามาศ ทองอิ่ม

B นางสาวภาวดี วิไลย

ภาพประกอบกิจกรรมโปรแกรมการให้คำปรึกษา

หลักการและเหตุผล

จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นปรัชญา ที่ชี้ถึงแนวการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับ รัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทัน ต่อโลกในยุคโลกาภิวัตน์ มีเงื่อนไข คือ ความพอประมาณความมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกัน โดยสามารถนํามา ประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิตได้ในเรื่องของการส่งเสริมการออม ซึ่งจัดเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทั้งในระดับ ครัวเรือนและระดับประเทศ โดยแต่ละคนอาจมีวัตถุประสงค์ในการออม ที่แตกต่างกันไป เช่น ออมเพื่อซื้อสินค้า และบริการ ที่ต้องการออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การออมมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนในการกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากเงินทุนในประเทศไม่เพียงพอ ต่อการนําไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ก็อาจทําให้ต้องกู้ยืมจากต่างประเทศได้ดังนั้นการออมจึงเป็นสิ่งที่ดีที่เรา ควรจะนํามาใช้ในชีวิตประจําวัน การออมเงินที่นักศึกษาสามารถทําได้เพื่อให้มีเงินเก็บสะสมไว้ใช้จ่ายใน ชีวิตประจําวันและอนาคต ทําได้โดย หักค่าเงินรายวันไว้หยอดกระปุกทุกวัน สร้างแรงปัญดาลใจในการออมเงิน ยืมอุปกรณ์การเรียนแทนการซื้อซื้อของใช้เท่าที่จําเป็น

ดิฉันจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรม การใช้จ่ายเงินและการออมเงินของนักศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เพื่อศึกษาว่านักศึกษามีพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินและออมเงินอย่างไร และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษา ที่กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้ กู้ยืมเพื่อการศึกษา เนื่องจากพฤติกรรมของนักศึกษาซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของวัยรุ่นที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปมากตามยุคสมัย บริบททางสังคม และสภาพแวดล้อมตลอดเวลา จากในอดีต ที่วัยรุ่นไทยจะดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบ และบรรทัดฐานของวัฒนธรรม จารีต และประเพณีอันดีงาม แต่เมื่อเวลาผ่านไป การหลั่งไหลของวัฒนธรรมจากสื่อตะวันตกเริ่มส่งผลต่อพฤติกรรม ของวันรุ่นทั้งในเรื่องการแต่งกาย การเลือกคบเพื่อน การใช้เวลารวมถึงทัศนคติในการดำเนินชีวิต การขาดวิจารณญาณและความยั้งคิดในการเลือกบริโภค ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าที่มีความฟุ่มเฟือยและเกินความจำเป็นต่อการดารงชีวิตของวัยรุ่น เช่น การซื้อ สินค้าแบรนด์เนมจำพวก กระเป๋า แว่นตา นาฬิการาคาแพง การใช้เครื่องสำอางจาก ต่างประเทศ หรือการใช้เวลาว่างไปชมคอนเสิร์ต การท่องเที่ยวต่างประเทศ ได้กลายเป็นเรื่อง ปกติและเป็นแฟชั่นที่ได้รับความนิยมกันในหมู่วัยรุ่น พฤติกรรมการบริโภควัตถุนิยมหรือ สินค้าฟุ่มเฟือย ดังนั้น