บทที่ 8 การอ่านและการเขียนบันทึกการอ่าน

ความหมายของการอ่าน

(มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. 2547 : 18)

การอ่าน คือ กระบวนการที่ผู้อ่านรับรู้สารซึ่งเป็นความรู้ ความคิด ความรู้สึก และ ความคิดเห็นที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร การที่ผู้อ่านจะเข้าใจสารได้มากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถในการใช้ความคิด

ประโยชน์จากการอ่าน

(สมบัติจำปาเงิน และสำเนียง มณีกาญจน์. 2548 : 31)

1. ช่วยให้เป็นคนเรียนเก่ง เพราะเมื่ออ่านเก่งแล้วจะเรียนวิชาต่างๆ ได้ดี

2. ช่วยให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะได้อ่านเอกสารที่ให้ความรู้ในการปรับปรุงงานของตนอยู่เสมอ

3. ช่วยให้ได้รับความบันเทิงในชีวิตมากขึ้นเพราะการได้อ่านวรรณกรรมดีๆ ย่อมทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ในยามว่าง

4. ช่วยทำให้เป็นผู้ที่สังคมยอมรับ เพราะผู้ที่อ่านมากจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ดี

5. ช่วยทำให้เป็นคนที่น่าสนใจ เพราะผู้ที่อ่านหนังสือมากจะมีความคิดลึกซึ้งและกว้างขวาง สามารถแสดงความรู้ ความคิดเห็นดีๆ มีประโยชน์ได้
ทุกแห่งทุกเวลา

การบันทึกจากการอ่านที่ดีนั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความสามารถในด้านต่อไปนี้

1. จับใจความสำคัญของเรื่องได้

2. ทราบว่าข้อมูลใดเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนต้องการศึกษา

3. มีวิธีการบันทึกที่เป็นระบบ

4. สามารถเชื่อมโยงหัวข้อสำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน นำข้อมูลเหล่านั้นไปเขียนเป็นแผนภูมิ (diagrams) concept maps หรือ mind maps ให้เข้าใจได้ง่าย

5. เขียนบันทึกด้วยถ้อยคำของตนเอง

6. บันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆได้อย่างชัดเจน หากเป็นการอ่านจากหนังสือให้สังเกตแหล่งที่มาจากหน้าปกใน และ หากเป็นเว็บไซต์ ก็ให้บันทึกข้อมูล URL (URL หมายถึงตัวระบุแหล่งในอินเตอร์เน็ต โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและที่อยู่ของเว็บไซต์หนึ่ง ๆ )

ความเป็นมาของบันทึกการอ่านกับกิจกรรมรักการอ่านตามรอยพระยุคลบาท

กิจกรรมรักการอ่านตามรอยพระยุคลบาท เป็นกิจกรรมที่งานห้องสมุดได้ดำเนินการส่งเสริมการอ่านตามโครงการรักการอ่าน มาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2541 ได้รับ เกียรติบัตรจากหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ร่วมกับ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด มอบเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่า ได้ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่าน ตามโครงการ บรรณารักษ์ชวนอ่าน วันที่ 28 ธันวาคม 2541 และเปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมรักการอ่านตามรอยพระยุคลบาท ในปี 2546 เนื่องในมงคลวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ ครบ 48 พรรษา ในปี 2546 กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้ปี 2546 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ต่อมาในปี 2562 ห้องสมุดโดยครูโศรยา จิรสารสวัสดิ์ ในฐานะบรรณารักษ์ได้นำเสนอกิจกรรมรักการอ่านตามรอยพระยุคลบาท ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับโล่เกียรติยศรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การนำเสนอผลงานกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนนทบุรี โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและการใช้ ภาษาไทยในการสื่อสารได้ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๒ ณ โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ พระนครศรีอยุธยา นับได้ว่ากิจกรรมรักการอ่านตามรอยพระยุคลบาทของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

คุณครูโศรยา จิรสารสวัสดิ์ ในฐานะบรรณารักษ์ได้นำเสนอกิจกรรมรักการอ่านตามรอยพระยุคลบาท ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับโล่เกียรติยศรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การนำเสนอผลงานกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนนทบุรี โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและการใช้ ภาษาไทยในการสื่อสารได้ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๒

เกณฑ์การบันทึกการอ่านที่จะได้รับเกียรติบัตรและโล่มีดังนี้

1. นักเรียนที่มีผลการอ่านยอดเยี่ยมในระดับชั้น (บันทึกการอ่านครบ 1 เล่ม 80 หน้า ใน 1 ปีการศึกษา) ครูที่ปรึกษาตรวจผลงานและส่งรายชื่อนักเรียนที่สมควรได้รับ
เกียรติบัตร จะได้รับเกียรติบัตร
“นักเรียนที่มีผลการอ่านดีเด่น ประจำปีการศึกษา ” โดยแนบบันทึกการอ่านนำส่งที่ห้องสมุด

2. นักเรียนที่มีพัฒนาการการอ่านอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีการศึกษา มีผลงานดังนี้

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลงานบันทึกการอ่านครบ 3 เล่ม ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลงานบันทึกการอ่านครบ 3 เล่ม ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

จะได้รับเกียรติบัตร “ยอดนักอ่านดีเด่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี”

3. นักเรียนที่มีพัฒนาการการอ่านอย่างต่อเนื่องตลอด 6 ปีการศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลงานบันทึกการอ่านครบ 6 เล่ม ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6จะได้รับคัดเลือกเป็น นักเรียนดีเด่น รางวัลเพชรสวนนนท์รับโล่ “นักอ่านยอดเยี่ยม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี” ในวันประกาศเกียรติคุณของทางโรงเรียน (โดยต้องส่งผลการบันทึกการอ่าน เล่มสุดท้ายให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนที่ 1 ที่บรรณารักษ์ห้องสมุดโดยตรง เพื่อขอรับโล่ในภาคเรียนที่ 2 )

4. ครูที่ปรึกษาที่มีส่วนร่วม ในการรณรงค์ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในห้องเรียนครบ 100% จะได้รับเกียรติบัตรในฐานะ
“ครูผู้รณรงค์ส่งเสริมการอ่านภายในโรงเรียนประจำปีการศึกษา ”

ข้อปฏิบัติของครูที่ปรึกษา

1. ครูที่ปรึกษามีหน้าที่กระตุ้นเตือนให้นักเรียนทำบันทึกการอ่านอย่างสม่ำเสมอ และตรวจผลงานการบันทึกของนักเรียนเป็นระยะ

2. รวบรวมสมุดบันทึกการอ่านของนักเรียนเฉพาะที่เต็มเล่ม และสรุปผลการบันทึกการอ่านของนักเรียน

ส่งห้องสมุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อขอรับเกียรติบัตรและแจกเกียรติบัตรให้แก่นักเรียน ในวันรับผลการเรียน

3. รวบรวมรายชื่อนักเรียนที่บันทึกการอ่านไม่ครบเล่มแต่ครบเกณฑ์ 20 เรื่องต่อปี สรุปผลการบันทึกการอ่านพร้อมรายชื่อนักเรียนเหล่านั้น ส่งห้องสมุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อขอรับเกียรติบัตรและแจกเกียรติบัตรให้แก่นักเรียน ในวันรับผลการเรียน

หมายเหตุ นักเรียนและครูที่มีสิทธิ์ได้รับเกียรติบัตรหรือโล่ ทางห้องสมุดจะติดประกาศรายชื่อแจ้งไว้ที่ป้ายประกาศหน้าห้องสมุด ในเดือนพฤษภาคม หากยังไม่ได้รับเกียรติบัตรหรือโล่ และมีข้อสงสัยให้รีบติดต่อบรรณารักษ์ ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม หากไม่มีผู้ติดต่อแจ้งข้อสงสัยใดๆ ทางโรงเรียนถือว่าทุกคนยอมรับเกณฑ์การตัดสินในปีนั้น และจะขอแก้ไขเป็นอย่างอื่นมิได้

เกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อรับเกียรติบัตร โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้พิจารณาจากการบันทึกการอ่านของนักเรียน

1. ลายมือ พิจารณาจากความเป็นระเบียบ ความสวยงาม เว้นวรรคและช่องไฟในการเขียน

2. เนื้อหาชัดเจน พิจารณาจาก การสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านและข้อคิดที่ได้รับ

3. เขียนถูกต้อง พิจารณา การสะกดคำ วางรูปวรรณยุกต์และตัวการันต์ได้ถูกต้อง

4. สรุปข้อคิด พิจารณาจาก ข้อคิดเห็นที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือแสดงถึงการเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม


ตัวอย่างการบอกแหล่งที่มาของเรื่องที่บันทึกการอ่าน

จากสมุดบันทึกการอ่าน

ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

  • ชื่อเรื่อง ให้นักเรียนบันทึกชื่อเรื่องชื่อตอนหรือตั้งชื่อบทชื่อตอนที่นักเรียนอ่านหากสรุปมาจากหนังสือที่อ่านทั้งเล่ม ให้ใช้ชื่อเดียวกับชื่อหนังสือ

  • ชื่อหนังสือ จากหน้าปกหนังสือหรือนำมาจากบรรณานุกรมหน้าปกใน

  • ชื่อผู้แต่ง จากหน้าปกหนังสือหรือนำมาจากบรรณานุกรมหน้าปก

  • สำนักพิมพ์ ให้นำมาจากบรรณานุกรมหน้าปก

  • ปีที่พิมพ์ ให้นำมาจากบรรณานุกรมหน้าปก

  • Website : ให้นำมาจาก URL หมายถึงตัวระบุแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ต กรณีที่ไม่ได้อ่านบทความนั้นจากหนังสือ