บทที่ 5 การจัดหมวดหมู่วัสดุห้องสมุด

ห้องสมุดจัดกลุ่มหนังสืออย่างมีหลักเกณฑ์ โดยการนำสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน หรือจัดแยกสิ่งที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน โดยคำนึงถึงเนื้อหาของหนังสือเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ยังกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท ซึ่งจะเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุด ดังนั้นหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เดียวกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน

ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่

1. หนังสือแต่ละเล่มจะมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ

2. หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีโอกาสเลือกหนังสือเนื้อเรื่อง ที่ต้องการได้จากหนังสือหลาย ๆ เล่ม

3. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

4. ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถจัดเก็บหนังสือเข้าที่เดิมได้รวดเร็ว

5. ช่วยให้ทราบจำนวนหนังสือแต่ละสาขาวิชาว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพื่อจัดหาเพิ่มเติมให้เหมาะสม

ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ

ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย และผู้ใช้ห้องสมุดโดยทั่วไปรู้จักมี 2 ระบบคือ

1. ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

นิยมใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ก็ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมของดิวอี้เช่นเดียวกัน คิดค้นโดยชาวอเมริกัน ชื่อนายเมลวิล ดิวอี้

2. ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

เป็นระบบที่นิยมใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือมี หนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น คิดค้นโดยชาวอเมริกัน ชื่อนายเฮอร์เบิร์ด พุตนัม

ผู้คิดระบบการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยม

ชื่อเต็ม : Meville Louis Kossuth Deway

เกิดวันที่ : 10 ธันวาคม ค.ศ.1851 ( พ.ศ. 2394 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 )

สถานที่เกิด : Jefferson County, New York, USA

ภาพประกอบจาก : http://guru.sanook.com/6386/

ประวัติการทำงานของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)

1874 – > ผู้ช่วยบรรณารักษ์ที่ Amherst College (ปริญญาตรี)

ที่มาภาพ : http://guru.sanook.com/6386/

1883-1888 –> หัวหน้าบรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

1888-1906 –> ผู้อำนวยการห้องสมุดมลรัฐนิวยอร์ค

1890-1892 –> ประธานสมาคมห้องสมุดรัฐนิวยอร์ค (NYLA)

1888-1900 –> ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ค

ผลงานที่สำคัญของดิวอี้ที่ริเริ่มไว้ให้แก่วงการวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ คือ- ผู้คิดค้นระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยม หรือ ระบบการจัดหมวดหมู่ดิวอี้

- ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ALA : American Library Association)

- ผู้จัดตั้งโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์แห่งแรก (มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนิวยอร์ก)

- ออกวารสาร Library Journal ซึ่งเป็นวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ฉบับแรก

- ผู้จัดตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งนิวยอร์ค (New York Library Association)และกิจกรรมอื่นๆ ของวิชาชีพบรรณศาสตร์

การแบ่งครั้งที่ 1 แบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้

000 เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities) วิชาความรู้ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดใดๆ

100 ปรัชญา (Philosophy) เป็นวิชาที่มนุษย์ต้องการทราบว่า ตนคือใคร เกิดมาทำ

200 ศาสนา(Religion) วิชาที่มนุษย์ต้องการค้นหา หลุดพ้นจากความทุกข์

300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) วิชาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์

400 ภาษาศาสตร์ (Language) วิชาที่ช่วยในการสื่อสาร ทำให้มนุษย์เข้าใจซึ่งกันและกัน

500 วิทยาศาสตร์ (Science) วิชาที่มนุษย์ต้องการทราบความจริงของธรรมชาติ

600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology) วิชาที่มนุษย์เอาความรู้เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตน

700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation) วิชาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความบันเทิงใจ

800 วรรณคดี (Literature) วิชาที่มนุษย์ต้องการแสดงความคิด ความประทับใจไว้ด้วยตัวอักษร

900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography) วิชาที่ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ

การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งแต่ละหมวดออกเป็น 10 หมวดย่อย โดยใช้เลขหลักสิบแทนสาขาวิชา

000 เบ็ดเตล็ด

010 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกหนังสือ

020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

030 สารานุกรมทั่วไป

040 (ยังไม่กำหนด)

050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและดรรชนี

060 องค์กรต่างๆ และพิพิธภัณฑวิทยา

070 วารสารศาสตร์ การพิมพ์ หนังสือพิมพ์

080 รวมเรื่องทั่วไป

090 ต้นฉบับตัวเขียนและหนังสือหายาก

100 ปรัชญาและจิตวิทยา

110 อภิปรัชญา

120 ทฤษฎีแห่งความรู้ ความเป็นมนุษย์

130 จิตวิทยาสาขาต่างๆ ศาสตร์เกี่ยวกับความลึกลับ

140 ปรัชญาระบบต่าง ๆ

150 จิตวิทยา

160 ตรรกวิทยา

170 จริยศาสตร์ จริยธรรม ศีลธรรม

180 ปรัชญาสมัยโบราณ ปรัชญาสมัยกลาง และปรัชญาตะวันออก

190 ปรัชญาตะวันตก

200 ศาสนา

210 ศาสนาธรรมชาติ

220 คัมภีร์ไบเบิล

230 เทววิทยาตามแนวคริสตศาสนา

240 ศีลธรรมของชาวคริสเตียน

250 ระเบียบแบบแผนของศาสนาคริสต์

260 สังคมของชาวคริสเตียน

270 ประวัติคริสต์ศาสนาในประเทศต่าง ๆ

280 คริสต์ศาสนาและนิกายต่าง ๆ

290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่น

300 สังคมศาสตร์

310 สถิติทั่วไป

320 รัฐศาสตร์

330 เศรษฐศาสตร์

340 กฎหมาย

350 รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารกองทัพ

360 ปัญหาสังคม สวัสดิภาพสังคม

370 การศึกษา

380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง

390 ขนบธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยา

400 ภาษาศาสตร์

410 ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ

420 ภาษาอังกฤษ

430 ภาษาเยอรมันและภาษาในกลุ่มเยอรมัน

440 ภาษาฝรั่งเศส

450 ภาษาอิตาเลียน ภาษารูเมเนียน

460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส

470 ภาษาละติน

480 ภาษากรีก

490 ภาษาอื่น ๆ

500 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
510 คณิตศาสตร์
520 ดาราศาสตร์
530 ฟิสิกส์
540 เคมี โลหะวิทยา
550 ธรณีวิทยา
560 บรรพชีวินวิทยา ชีวิตโบราณศึกษา
570 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
580 พฤกษศาสตร์
590 สัตววิทยา

600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์

610 แพทยศาสตร์

620 วิศวกรรมศาสตร์

630 เกษตรศาสตร์

640 คหกรรมศาสตร์

650 ธุรกิจและการจัดการธุรกิจ

660 วิศวกรรมเคมี

670 โรงงานอุตสาหกรรม

680 โรงงานผลิตสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ

690 การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง

700 ศิลปะและนันทนาการ

710 ศิลปะการออกแบบบริเวณพื้นที่

720 สถาปัตยกรรม

730 ประติมากรรม และศิลปะพลาสติก

740 มัณฑนศิลป์และการวาดเขียน

750 จิตรกรรม

760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก

770 การถ่ายภาพ และภาพถ่าย

780 ดนตรี

790 ศิลปะการแสดง นันทนาการ การกีฬา

800 วรรณคดี

810 วรรณคดีอเมริกัน

820 วรรณคดีอังกฤษ

830 วรรณคดีเยอรมัน

840 วรรณคดีฝรั่งเศส

850 วรรณคดีอิตาเลียน

860 วรรณคดีสเปน วรรณคดีโปรตุเกส

870 วรรณคดีละติน

880 วรรณคดีกรีก

890 วรรณคดีภาษาอื่น ๆ

900 ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์

910 ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว

920 ชีวประวัติและสกุลวงศ์

930 ประวัติศาสตร์โลกโบราณ

940 ประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป

950 ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียตะวันออก ตะวันออกไกล

960 ประวัติศาสตร์ทวีปแอฟริกา

970 ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ

980 ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่น ๆ ของโลก

การแบ่งครั้งที่ 3 เป็นการแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็น 10 หมู่ย่อย รวมเป็น 1,000 หมู่ย่อยโดยใช้เลขหลักหน่วยเป็นสัญลักษณ์ตัวอย่างหมวด 370 แบ่งเป็น 10 หมู่ย่อย ดังนี้

300 สังคมศาสตร์ 370 การศึกษาทั่ว ๆ ไป 371 โรงเรียน 372 ประถมศึกษา

นอกจากนี้ ยังแบ่งให้ละเอียดลงไปได้อีกโดยใช้จุดทศนิยม เพื่อระบุเนื้อหาวิชาให้เฉพาะเจาะจง เช่น

100 ปรัชญา 180 ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาสมัยโบราณและสมัยกลาง

181 ปรัชญาตะวันออก

181.1 ปรัชญาตะวันออกไกลและเอเชียใต้

ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(Library of Congress Classification) เรียกสั้นๆ ว่า LC

เป็นระบบที่นิยมใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือมี หนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น คิดค้นโดยชาวอเมริกัน ชื่อนายเฮอร์เบิร์ด พุตนัม ระบบนี้แบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น 20 หมวดโดยใช้สัญลักษณ์ เป็นแบบผสม คือ ตัวอักษรโรมันผสมกับตัวเลขอารบิก แต่อักษรโรมันที่ไม่ได้นำมาใช้ มีอยู่ 5 ตัว คือ I,O,W,X และ Y ซึ่งอักษร A - Z ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงเนื้อหา

ที่มาภาพ : https://www.loc.gov/about/about-the-librarian/previous-librarians-of-congress/herbert-putnam/