บทที่ 4 วัสดุสารสนเทศหรือวัสดุห้องสมุด

วัสดุห้องสมุด หมายถึง วัสดุที่บันทึกความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร วิชาการต่าง ๆ ตลอดจนความบันเทิงในรูปแบบต่างๆประโยชน์ของวัสดุห้องสมุด

1. เป็นบันทึกแห่งภูมิปัญญาของมนุษย์ ใช้สืบทอด ความรู้ความคิด

2. ช่วยขจัดความไม่รู้ในเรื่องต่าง ๆ และสร้างสติปัญญาใช้สืบทอด ความรู้ความคิด

3. ช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาใช้สืบทอด ความรู้ความคิด

4. ก่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้าและการพัฒนาวิทยาการต่าง ๆ

5. ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ เกิดแรงบันดาลใจใน การคิด และทำแต่สิ่งที่ดีงามใช้สืบทอด ความรู้ความคิด

6. ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ

ประเภทของวัสดุห้องสมุด

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัสดุตีพิมพ์ 2. วัสดุไม่ตีพิมพ์

วัสดุตีพิมพ์

หมายถึง วัสดุที่อยู่ในรูปแบบของตัวพิมพ์ ซึ่งบันทึกความรู้ที่มีเนื้อหาสาระเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้าอ้างอิง หรือเพื่อความบันเทิง โดยผลิตเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือเอกสารรูปแบบต่างๆ วัสดุตีพิมพ์ใช้ได้ง่าย สะดวกและไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้มีการบันทึกความรู้หลากหลายชนิดขึ้นก็ตาม แต่วัสดุตีพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

1. หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม ในเล่มหนึ่งมีเพียงเรื่องเดียวหรือหลายเรื่องก็ได้เนื้อหาจบภายในเล่มเดียว หรือหลายเล่ม
แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้คือ

1.1 หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Book) คือสิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือประสบการณ์ของผู้แต่ง เพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินใจของผู้อ่าน อาจแทรกข้อคิด คติชีวิตในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ หนังสือนวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล เรื่องสำหรับเยาวชน เป็นต้น

1.2 หนังสือสารคดี (Non - Fiction Book) คือสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริง ทฤษฎี แนวคิด สูตรต่าง ๆ ที่ถูกต้อง สามารถใช้อ้างอิงได้ ได้แก่หนังสือความรู้ทั่วไป หนังสือแบบเรียน หนังสือคู่มือ หนังสืออ้างอิง เป็นต้น

2. จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ จบสมบูรณ์ในเล่ม มีความยาวไม่เกิน 60 หน้า โดยทั่วไปพิมพ์แจกเป็นอภินันทนาการ เนื้อหาของจุลสาร แตกต่างกันไป เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ในจุลสาร จะเป็นที่สนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่มีประโยชน์มากเพราะเป็นเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่มีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม รายละเอียดในจุลสารบางเล่มไม่อาจหาได้จากสิ่งพิมพ์ลักษณะอื่น การจัดเก็บจุลสาร ห้องสมุดโดยทั่วไปมักไม่นิยมให้เลขหมู่ แต่แยก ตามเนื้อเรื่องใส่แฟ้ม ใส่ ตู้เอกสาร เรียงตามลำดับอักษรของหัวเรื่องที่กำหนดให้ หรือใส่กล่องไว้ที่เคาเตอร์หน้าห้องทำงาน บรรณารักษ์ หนังสืออ้างอิง เป็นต้น

3. กฤตภาค (Clippings) คือ ข่าวสาร บทความ สำคัญ ๆ และน่าสนใจ จัดทำโดยห้องสมุด ด้วยการตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสารเก่า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ นำมาผนึกลงบนกระดาษ บอกแหล่งที่มา เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ วัน เดือน ปี เลขหน้า นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิงการจัดเก็บ กฤตภาค ห้องสมุดโดยทั่วไปมักไม่นิยมให้เลขหมู่ แต่แยก ตามเนื้อเรื่องใส่แฟ้มใส่ตู้เอกสาร เรียงตามลำดับอักษรของหัวเรื่องที่กำหนดให้ หรือใส่กล่องไว้ที่เคาเตอร์บรรณารักษ์

4. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่นนิตยสารหรือวารสารที่ออกทุกสัปดาห์เรียก นิตยสารหรือวารสารรายสัปดาห์ หากออกทุก 15 วัน เรียกว่ารายปักษ์ ออกทุกเดือนเรียกว่ารายเดือน ถ้าออกทุกวันมักเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งบางฉบับ อาจออกเป็นราย3 วันก็มี

นิตยสาร (Magazines) วารสาร (Journals) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลเนื้อหาที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ให้ความรู้ใหม่ๆ สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า และการใช้สำหรับเป็นแหล่งอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้า เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง มีกำหนดออกแน่นอนเป็นวาระต่างๆ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 2 เดือน ราย 3 เดือน เป็นต้น

o นิตยสารมีเนื้อหาเป็นเรื่องทั่วไป เน้นหนักไปทางด้านให้ความบันเทิงเพื่อการพักผ่อน

o วารสารมีเนื้อหาเน้นหนักด้านการให้ความรู้ทั่วไป และวิชาการเฉพาะสาขา

หนังสือพิมพ์ (Newspaper) มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน เช่น ออกเป็นรายวัน หรือราย 3 วัน หนังสือพิมพ์มุ่งเน้นการเสนอข่าวที่ทันต่อเหตุการณ์ และเสนอเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ การศึกษา อาชีพ กีฬาและบันเทิง หนังสือพิมพ์ที่ให้บริการในห้องสมุดมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

วัสดุไม่ตีพิมพ์

วัสดุโสตทัศน์หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูลโดยเน้นการใช้ภาพ เสียงและสัญลักษณ์อื่นๆ นอกเหนือจากตัวพิมพ์ โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ทางตา และช่วยให้เข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น แบ่งเป็น

1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) คือการใช้ภาพ สัญลักษณ์ และคำประกอบเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายเรื่องราว ผู้ใช้อาจดูได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจใช้อุปกรณ์ช่วยในการดูก็ได้ ได้แก่ แผนภูมิหรือแผนภาพ, รูปภาพ, การ์ตูน, ภาพโฆษณาสามารถดูได้ด้วยตาเปล่า แต่ ภาพนิ่ง, ภาพโปร่งใส ต้องใช้กับเครื่องฉายเป็นต้น

2. โสตวัสดุ (Audio Materials) คือวัสดุที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดความหมายของเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ได้แก่แผ่นเสียง, เทปบันทึกเสียง, แผ่นคอมแพคดิสก์หรือซีดี เป็นต้น

3. โสตทัศนวัสดุ (Audio – Visual Materials) คือวัสดุที่บันทึกทั้งภาพและเสียงควบคู่กันไป ได้แก่ ภาพยนต์, แถบวีดีทัศน์ หรือวีดีโอเทป ภาพนิ่งประกอบเสียงหรือภาพเลื่อนประกอบเสียง เป็นต้น

4. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็กเช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภท จานแสง (optical disk) บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่าต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูลปัจจุบันวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาจนเข้ามาแทนที่ โสตวัสดุและโสตทัศนวัสดุได้ทั้งหมด สามารถใช้เป็นสื่อ ได้อย่างหลากหลาย จัดเป็นวัสดุสำคัญในยุคนี้

5. ต้นฉบับตัวเขียน คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดทำขึ้น โดยใช้ลายมือเขียน ได้แก่ หนังสือที่จัดทำในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการพิมพ์ โดยการใช้จาร หรือสลักลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น แผ่นหิน แผ่นดินเหนียว แผ่นไม้ แผ่นโลหะ แผ่นหนัง ใบลาน กระดาษ เป็นต้น ตัวอย่างของต้นฉบับตัวเขียน ได้แก่ ศิลาจารึก สมุดข่อย ใบลาน แผ่นปาปิรัส (papyrus) รวมถึงต้นฉบับของผู้แต่งหนังสือ ก่อนที่จะนำไปพิมพ์เผยแพร่ อาจอยู่ในรูปของต้นฉบับตัวเขียนที่เขียนด้วยลายมือของผู้แต่งเอง หรือเป็นต้นฉบับพิมพ์ดีดก็ได้

ต้นฉบับตัวเขียน