บทที่ 6 การใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์แทนเลขหมู่

หนังสือในห้องสมุดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หนังสือบันเทิงคดี และหนังสือสารคดี ซึ่งการใช้สัญญลักษณ์ในการแบ่งหมวดหมู่ แตกต่างกันดังต่อไปนี้

หนังสือบันเทิงคดี

หนังสือบันเทิงคดีใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือห เช่น หนังสือนวนิยาย, เรื่องแปล,เรื่องสั้น,หนังสือสำหรับเยาวชน โดยจะใช้ตัวอักษรย่อ ดังนี้

  1. นวนิยายภาษาไทย ใช้สัญลักษณ์ น.

  2. นวนิยายภาษาต่างประเทศ ใช้สัญลักษณ์ Fic. ( Fiction )

  3. เรื่องแปลนวนิยาย ใช้สัญลักษณ์ ร.ป.

ตัวอย่าง เลขหมู่หนังสือ ใช้สัญลักษณ์ = น.

ผู้แต่งคือ ฐาวรา สิริพิพัฒน์ =

หนังสือเรื่อง เดอะไวท์โรด =

หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 3 ฉบับที่ 1

ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือ

หมายเหตุ ล.1 ,ล.2 “ล” หมายถึง เล่มที่ (กรณีที่หนังสือไม่จบในเล่มเดียว)

ฉ.1 , ฉ.2 “ฉ” หมายถึง จำนวนฉบับที่มีในห้องสมุด

4. เรื่องสั้นภาษาไทย ใช้สัญลักษณ์ ร.ส.

5. หนังสือสำหรับเยาวชนไทย ใช้สัญลักษณ์ ย.

6. หนังสือเยาวชนประเภทการ์ตูนความรู้ เนื้อหาเน้นความบันเทิง ใช้สัญลักษณ์ ย+เลขหมู่ เช่น ย500

7. หนังสือที่เขียนจากเรื่องจริงแต่เน้นความบันเทิง ใช้สัญลักษณ์ พ+เลขหมู่ เช่น พ910 ( พ ย่อมมาจากพ็อกเก็ตบุ๊ค Pocket book)

ตัวอย่าง เลขหมู่หนังสือ ใช้สัญลักษณ์ = ร.ส.

ผู้แต่งคือ อัศศิริ ธรรมโชติ = อ

หนังสือเรื่อง ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง =

หนังสือเล่มนี้มีในห้องสมุด 3 ฉบับ เล่มนี้เป็นฉบับที่ 3 = ฉ.3

ตัวอย่างเลขเรียกหนังสือ

ร.ส.

อ - ข

ฉ.3

หนังสือสารคดี

หนังสือสารคดีปกติจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่อยู่แล้วโดยใช้เลขหมู่หนังสือ แต่มีหนังสือสารคดีบางประเภททางห้องสมุดจัดแยกไว้ต่างหากเพื่อสะดวกในการใช้ โดยแยกชั้น หรือแยกห้อง จัดสถานที่จัดเก็บแยกชัดเจน มี 2 ประเภท คือ

1. หนังสือคู่มือประกอบการเรียน แบบฝึกหัด ข้อสอบ ใช้สัญลักษณ์ ค+เลขหมู่ เช่น ค520 ชั้นหนังสือจัดแยกไว้อยู่บริเวณหน้าห้องดิจิตอล

2. หนังสืออ้างอิง ใช้สัญลักษณ์ +เลขหมู่ เช่น อ923 ชั้นหนังสืออ้างอิงจัดแยกไว้ 2 ที่ คือ ในห้องสมาคมศิษย์เก่าและบริเวณมุมกาญจนาภิเษก

หนังสืออ้างอิงใช้ เลขหมู่หนังสือและ ตัวอักษร “อ” เป็นสัญลักษณ์ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงไว้ต่างหากจากหนังสือทั่วไป ไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด

นอกจากนั้น ที่สันของหนังสืออ้างอิง เลขเรียกหนังสือจะมีอักษร “ อ ” หรือ “ R ”อยู่ เหนือเลขหมู่

หนังสืออ้างอิง ใช้สัญลักษณ์ อ. แทน หนังสืออ้างอิงภาษาไทย

หรือ ใช้สัญลักษณ์ R. แทน Referenceภาษาต่างประเทศ

ตัวอย่างเลขเรียกหนังสือ

423.1

ช - พ

ตัวอย่าง หนังสืออ้างอิง ใช้สัญลักษณ์ = อ.

เลขหมู่หนังสือ = 423.1

ผู้แต่งคือ ชาญ ชินวรกิจกุล =

หนังสือเรื่อง พจนานุกรมวลีและสำนวนอังกฤษ =

หมายเหตุ

หนังสือเล่มนี้มีเพียงเล่มเดียวในห้องสมุด จึงไม่มี ล. หรือ ฉ.

การจัดเรียงหนังสือบนชั้นการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นในห้องสมุดเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์พอสรุปได้ ดังนี้

1. ห้องสมุดจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นโดยพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือ (กรณีที่เป็นหนังสือบันเทิงคดีที่มีเลขหมู่กำกับ)

แต่ถ้าหากเป็นหนังสือบันเทิงคดีที่ไม่มีเลขหมู่กำกับ จะจัดเรียงตามอักษรชื่อผู้แต่ง โดยเรียงลำดับอักษร ตามพจนานุกรม

และถ้าหากอักษรผู้แต่งเหมือนกัน พิจารณาจากอักษรชื่อเรื่องโดยเรียงลำดับอักษร ตามพจนานุกรม

2. จัดเรียงหนังสือจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง

3. จัดลำดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน โดยเรียงลำดับจากเลขน้อยไปหาเลขมาก

4. หนังสือที่เลขหมู่ซ้ำกัน การจัดลำดับก่อนหลัง พิจารณาจากอักษรผู้แต่งโดยเรียงลำดับอักษร ตามพจนานุกรม

5. หนังสือที่เลขหมู่ซ้ำกัน อักษรผู้แต่งเหมือนกัน พิจารณาจากอักษรชื่อเรื่องโดยเรียงลำดับอักษร ตามพจนานุกรม