บทที่ 7 ส่วนประกอบของหนังสือ

ประเภทของหนังสือ

แบ่งตามเนื้อหาได้ 2 ประเภท คือ

1. หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Book) คือสิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นจากจินตนาการหรือประสบการณ์ของผู้แต่งเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินใจของผู้อ่าน อาจแทรกข้อคิด คติชีวิตในแง่มุมต่างๆ

2. หนังสือสารคดี (Non - Fiction Book) คือสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริง ทฤษฎี แนวคิดสูตรต่าง ๆ ที่ถูกต้อง สามารถใช้อ้างอิงได้

ส่วนประกอบของหนังสือ

นังสือมีส่วนประกอบสำคัญ แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้ 4 ส่วน ดังต่อไปนี้

1. ส่วนปก 2. ส่วนต้นเล่ม 3. ส่วนเนื้อเรื่อง 4. ส่วนอ้างอิงและเพิ่มเติม

1. ส่วนปก

คือส่วนนอกของเล่ม ช่วยให้ตัวเล่มเป็นรูปร่างคงทน ประกอบด้วย

(1) ใบหุ้มปก คือ แผ่นหุ้มปกนอกของหนังสือ มีสีสันสวยงาม อาจมีภาพประวัติของผู้แต่ง เนื้อเรื่องย่อของหนังสือ ช่วยให้ปกหนังสือใหม่อยู่เสมอ

(2) ปกหนังสือ อาจเป็นปก อ่อนหรือปกแข็งก็ได้ ปกหนังสือเป็นส่วนสำคัญในการรักษารูปทรงของหนังสือให้เป็นรูปเล่มคงทน

(3) ใบยึดปกและใบรองปก เกระดาษที่ปะติดปกนอกด้านในอีกส่วนหนึ่งปล่อยวางไว้ ทำให้ปกหนังสือติดกับตัวเล่ม แข็งแรง หนังสือปกอ่อนมักไม่มีใบยึดปกและใบรองปก

2. ส่วนต้นเล่ม

คือส่วนเริ่มต้นของเล่มให้รายละเอียดขั้นต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ ประกอบด้วย

(1) หน้าชื่อเรื่อง ทำหน้าที่รักษาหน้าปกในไว้มิให้สูญหาย หากปกหนังสือจะหลุดขาดไปหน้าชื่อเรื่องจะมีเพียงชื่อหนังสือ หรือชื่อชุดเท่านั้น หนังสือบางเล่มอาจไม่มีหน้าชื่อเรื่อง

(2) หน้าปกใน เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดในส่วนต้นเล่มให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนเราสามารถใช้รายละเอียดในหน้าปกในไปใช้ในการอ้างอิงในการเขียนรายงานได้ รายละเอียดที่ว่าได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น

(3) หน้าลิขสิทธิ์ คือหน้าที่แจ้งให้ทราบถึงจำนวนครั้งที่จดลิขสิทธิ์ และปีที่ได้รับลิขสิทธิ์ให้พิมพ์เผยแพร่แต่ละครั้ง ผู้ได้รับลิขสิทธิ์อาจเป็นสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์ หรือผู้แต่ง ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แสดงความเป็นเจ้าของ ผู้ใดต้องการพิมพ์เผยแพร่ครั้งต่อไปจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน

ปัจจุบันในหน้าลิขสิทธิ์ของหนังสือบางเล่มจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

1) เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)

2) ข้อมูลการพิมพ์รายการหนังสือ คือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำรายการหนังสือหรือการจัดทำบัตรรายการ หรือการทำบรรณานุกรม

(4) หน้าคำอุทิศ เป็นคำกล่าวของผู้แต่งเพื่อประกาศเกียรติคุณ หรือ\แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ หรือผู้มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือในการเขียนหนังสือเล่มนั้นๆ

(5) หน้าประกาศคุณูปการ หรือกิตติกรรมประกาศ คือคำที่ผู้แต่งกล่าวขอบคุณบุคคลหรือ\หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในการแต่งหนังสือเล่มนั้นๆ

(6) หน้าคำนำ หนังสือภาษาไทยอาจใช้คำอื่น เช่น คำปรารภ คำชี้แจง อารัมภบทก็ได้ คำนำคือคำแถลงของผู้แต่งต่อผู้อ่าน ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ เหตุผลในการแต่งหนังสือ บอกขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆ

(7) สารบัญ คือเนื้อเรื่องของหนังสือโดยสังเขป แจ้งให้ทราบถึงลำดับของเนื้อหาของหนังสือ

(8) สารบัญภาพหรือบัญชีภาพประกอบ บัญชีตาราง มักมีในหนังสือที่มีตาราง สถิติ การวิจัย ส่วนใหญ่มีในหนังสือประเภทวิทยานิพนธ์ภาพประกอบ บัญชีตาราง

3. ส่วนเนื้อเรื่อง

ส่วนเนื้อเรื่อง คือเนื้อหา รายละเอียดเนื้อเรื่องของหนังสือ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหนังสือ มีการเรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับ

ตามที่แจ้งในหน้าสารบัญ และอาจมีส่วนอ้างอิงหรือเพิ่มเติมดังนี้คือ

  • เชิงอรรถ (Footnote) คือคือหลักฐานอ้างอิงข้อความที่คัดลอกหรือนำมาจากที่อื่นเพื่อประกอบการเขียนเนื้อหาหรือข้อความเพิ่มเติมเนื้อหา หรือการโยงเนื้อหาในหน้าอื่น อาจอยู่ส่วนล่างของหน้าที่ปรากฏข้อความหรืออาจรวมเชิงอรรถไว้ท้ายบทก็ได้

  • หน้าบอกตอน เป็นกระดาษคั่นระหว่างบทหรือตอนของเนื้อหาในหนังสือ

4. ส่วนอ้างอิงและเพิ่มเติม

คือส่วนท้ายเล่มที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น สามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ส่วนอ้างอิงและเพิ่มเติมประกอบด้วย

(1) อภิธานศัพท์ (Glossary) คือคำอธิบายคำศัพท์ยากหรือศัพท์เฉพาะ ในเนื้อเรื่องของหนังสือ

(2) ภาคผนวก (Appendix) คือเนื้อเรื่องหรือคำอธิบายเพิ่มเติมเนื้อเรื่อง บางตอนหรือ มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง

(3) ดรรชนี (Index) คือบัญชีคำสำคัญหรือหัวข้อย่อย ๆ ของเนื้อเรื่องในหนังสือจัดเรียงตามลำดับอักษรพร้อมระบุเลขหน้าที่คำหรือหัวข้อย่อย ๆ เหล่านั้นปรากฏอยู่ ดรรชนีช่วยให้ผู้อ่านค้นหาเรื่องราวที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

4) บรรณานุกรม (bibliography) หรือเอกสารอ้างอิง คือบัญชีรายชื่อสิ่งพิมพ์โสตทัศนวัสดุหรือ แหล่งข้อมูลที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานในการค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเขียน จัดเป็นส่วนสำคัญที่สุดของส่วนอ้างอิงและเพิ่มเติม


ความเป็นมาของระบบ ISBN เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBNย่อมาจาก International Standard Book Number) เป็นรหัสเฉพาะกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือทั่วไปแต่ละชื่อเรื่อง ถูกสร้างขึ้นในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2509 โดยบริษัทผู้จัดพิมพ์และขายหนังสือ ดับเบิลยู เอช สมิธโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้กำหนดเลขให้แต่ละประเทศทั่วโลกและมอบหมายให้หน่วยงานในแต่ละประเทศเป็นผู้บริการเลข ISBN สำเร็จรูปให้กับสำนักพิมพ์ สำหรับประเทศไทยมอบให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้บริการเลข ISBN

ประโยชน์ของเลข ISBN

1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ในการสั่งซื้อหนังสือ การยืมคืน ระหว่างห้องสมุด การสืบค้น และแลกเปลี่ยนข้อมูล

2. เมื่อนำไปใช้ร่วมกับระบบบาร์โค้ด สามารถนำข้อมูลไปใช้บริหารสินค้า วางแผนการผลิต ควบคุมสินค้าคงคลัง

โครงสร้างของระบบ ISBN

ISBN ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก แบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยใช้เครื่องหมายขีด (-) แบ่งกลุ่มตัวเลข ดังนี้

ISBN 978 - 974 - 13 - 3479 – 6

1 - 2 - 3 - 4 - 5

ส่วนที่ 1 รหัสบาร์โค้ด แสดงสินค้า/ผลิตภัณฑ์

ส่วนที่ 2 รหัสกลุ่มประเทศ (Group identifier) แบ่งตามประเทศหรือกลุ่มประเทศตามภูมิศาสตร์ หรือกลุ่ม ประเทศตามภาษา มี 1-5 หลัก เช่น 974 รหัสประเทศไทย

ส่วนที่ 3 รหัสสำนักพิมพ์ (Publisher prefix) มี 2-7 หลัก ขึ้นกับว่าสำนักพิมพ์นั้นพิมพ์หนังสือ มากน้อย เพียงใดถ้าพิมพ์มากจะได้รหัสน้อยหลัก

ส่วนที่ 4 รหัสลำดับชื่อเรื่อง (Title number) มีกี่หลักขึ้นกับจำนวนรหัสกลุ่มและรหัสสำนักพิมพ์

ส่วนที่ 5 เลขตรวจสอบ (Check digit) ใช้ตรวจสอบว่าเลขที่ถูกป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์นั้น

ถูกต้องหรือไม่ มี 1 หลัก (0-9) หรือ X

กลับหน้าแรก