บทที่ 4 คาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เลือกใช้เทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

2.คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี

เมื่อศึกษาย้อนไปในอดีตจะพบว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง รูปทรง กลไกการทำงาน วิธีการใช้งาน วัสดุ และวิธีการผลิต เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเกิดจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น จนเกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

    ดังนั้นการเลือกใช้หรือการพัฒนาเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี การจัดการปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม จากหัวข้อต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย

เทกลางแจ้ง

    เมื่อมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น จึงมีการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดโดยการเทกองรวมกันไว้กลางแจ้งในพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อให้ขยะมูลฝอยเน่าเปื่อยตามธรรมชาติเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยากต่อการจัดการขยะมูลฝอยและใช้งบประมาณน้อยเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค และเกิดกลิ่นรบกวนใช้พื้นที่มาก ทำให้บ้านเมืองสกปรกและไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ และทัศนียภาพ

ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล   

    ขยะมูลฝอยส่งกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคจึงมีการนำขยะมูลฝอยมาฝังกลบในบ่อขยะที่จัดเตรียมไว้ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างตามหลักวิชาการ เช่น การปูพื้นบ่อขยะด้วยพลาสติกกันซึม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำหรือปนเปื้อนลงในดิน การวางท่อระบายแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่อยู่ในบ่อขยะ

หมักทำปุ๋ย 

   ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ของเหลือจากการเกษตร)เพิ่มมากขึ้น พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝังกลบ จึงใช้ความรู้เรื่องการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยนำขยะอินทรีย์มาผ่านกระบวนการหมักให้เป็นปุยเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน

เตาเผาในชุมชน

  มื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล แต่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการผาไหม้มากขึ้น จึงมีการสร้างเตาเผาชุมชนที่มีขนาดเล็กสามารถจัดการขยะมูลฝอยปริมาณไม่มากได้เป็นอย่างดี

เตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน

   ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมด และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดเป็นแนวคิด "เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน"

การเลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอย

   ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมด และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดเป็นแนวคิด "เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน"

 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์

    เป็นการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนที่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบหลัก มีลักษณะใกล้เคียงกับบึงในธรรมชาติ หลักการทำงาน สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำหรือชั้นหิน โดยได้รับออกชิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ

    เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์มากขึ้น จึงมีการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เครื่องเติมอากาศ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องเติมอากาศให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้รวดเร็วกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์


ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง

     เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์สูงมากขึ้น ใช้เวลาในการบำบัดนาน จึงมีการเติมแบคทีเรียซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย พร้อมกับมีการเติมอากาศ ซึ่งเป็นการผสมให้น้ำเสียและจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ให้เร็วขึ้น


ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโดแอกกูเลชัน (Coagulation)

     การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่สามารถบำบัดน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็ก (อนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-1 นาโนเมตร) จึงนำหลักการของกระบวนการโคแอกกูเลชันซึ่งเป็นกระบวนการประสานคอลลอยด์มาใช้ในการบำบัด โดยการเติมสารช่วยให้เกิดการตกตะกอน เช่น สารส้ม ลงไปในน้ำเสียทำให้สารแขวนลอยขนาดเล็กจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน จนมีน้ำหนักมากและสามารถตกตะกอนลงมาได้อย่างรวดเร็ว


ระบบนำบัดน้ำเสียแบบการแลกเปลี่ยนประจุ

     โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งมีโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำเสีย จึงมีการพัฒนาระบบให้สามารถบำบัดโลหะหนักได้โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างโลหะหนักในน้ำเสียกับตัวกลางหรือเรซินโดยโลหะหนักจะแลกเปลี่ยนประจุกับเรซินแล้วถูกเรซินจับไว้ ทำให้น้ำเสียที่ผ่านระบบไม่มีสารปนเปื้อนของโลหะหนักเหลืออยู่


 การเลือกใช้เทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย  

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียข้างต้น จะพบว่าเทโนโลยีการบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธี เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิบฐ์ บ่อเติมอากาค ตะกอนเร่ง โคแอกกูเลชัน และการแลกเปลี่ยนประจุ ดังนั้นในการเลือกใช้เทคบำบัดน้ำเสียจะต้องพิจารณาลักษณะน้ำเสียเบื้องต้นว่าเป็นน้ำเสียประเภทใด เช่น น้ำเสียจากชุมชน เกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งน้ำเสียแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน ส่งผลให้ต้องใช้เทคนโลยีการบำบัดที่แตกต่างกันด้วย และต้องพิจารณาปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบต่อวัน งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง งบประมาณในการดูแลรักษา พื้นที่ที่อยู่ข้างเคียงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างและใช้ระบบนั้น ๆ


การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต

การคาดการณ์ เป็นการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือใช้ข้อมูลความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาช่วยในการคาดคะเน


อ้างอิงจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ของ สสวท.  

สื่อการเรียนรู้

อ้างอิงแหล่งที่มา :: https://proj14.ipst.ac.th/m2/m2-dt/

ใบงาน

กิจกรรมที่ 4.1 เรื่องเลือกใช้เทคโนโลยี.pdf