เรื่องที่ 3 เงื่อนเชือก

3.1 ความหมายของเงื่อนเชือก

เงื่อนเชือก หมายถึง การนำเชือกมาผูกกันเป็นเงื่อน เป็นปม สำหรับต่อเชือก เข้าด้วยกัน หรือทำเป็นบ่วง สำหรับคล้องหรือสวมกับเสา หรือใช้ผูกกับวัตถุ สำหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึง ไม่หลุดง่าย แต่สามารถแก้ปมได้ง่าย

3.2 ความสำคัญของเงื่อนเชือก

กิจกรรมลูกเสือ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องการให้ลูกเสือรู้จักใช้วัสดุที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เพื่อการดำรงความเป็นอยู่อย่างอิสระและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

การผูกเงื่อนเชือก เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้ เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในการอยู่ค่ายพักแรม การสร้างฐานกิจกรรมผจญภัย การตั้งค่ายพักแรม รวมทั้งการใช้งานเงื่อนในการช่วยผู้เจ็บป่วยได้

เงื่อนแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะการผูก

1. เงื่อนที่ใช้ผูกต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากัน หรือผูกในเชือกเส้นเดียวกันเช่น เงื่อนพิรอด เงื่อนบ่วงคนกลาง เป็นต้น

2. เงื่อนผูกต่อกับเชือกที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือผูกกับห่วง เช่น เงื่อนขัดสมาธิ

3. เงื่อนที่ใช้ผูกกับวัตถุต่าง ๆ เช่น ผูกกับเสา หรือหลักเพื่อการยึดโยง ได้แก่ เงื่อนกระหวัดไม้ เงื่อนตะกรุดเบ็ด

เงื่อนเชือก

เงื่อนเชือกยังมีบทบาทและความสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตของคนเรา ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ จะเจริญเข้ามาก็ตาม จะเห็นได้ว่าเงื่อนเชือกจะเกี่ยวข้องกับเราตั้งแต่ แรกเกิดเมื่อเราคลอดออกมาหมอจะให้เชือกในการผูกสายสะดือ ตอนเด็กใช้เงื่อนเชือกผูกทำเปลนอน ผูกสายมุ้ง ตอนโตใช้เงื่อนเชือก ผูกรองเท้า ผูกเนคไท ผูกสิ่งของต่าง ๆ และยังใช้เงื่อน เชือกถักเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ต่าง ๆ หลายชนิด บางครั้งเงื่อนเชือกมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับการด˚าเนินชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น ลูกเสือวิสามัญควรจะต้องศึกษาเรื่องเงื่อนเชือก เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป

3.3 การผูกเงื่อนเชือก

การผูกเงื่อนที่สำคัญและควรเรียนรู้ มีดังนี้


1. เงื่อนพิรอด

ประโยชน์

1) ใช้ต่อเชือก 2 เส้น มีขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน

2) ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่าง ๆ

3) ใช้ผูกเชือกรองเท้า (ผูกเงื่อนพิรอดกระตุกปลาย 2 ข้าง)

4)  ใช้ผูกโบว์ ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ

5) ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการ ควรเป็นผ้าเหนียว ในกรณีที่ไม่มี เชือก เช่น ต่อผ้าปูที่นอน เพื่อใช้ช่วยคนในยามฉุกเฉินเมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้ ใช้ช่วยคนที่ติดอยู่ บนที่สูง โดยใช้ผ้าพันคอลูกเสือต่อกัน


การผูกเงื่อนขัดสมาธิ

ประโยชน์

1) ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน หรือขนาดต่างกัน (เส้นเล็กพันขัดเส้นใหญ่)

2)  ใช้ต่อเชือกอ่อนกับเชือกแข็ง (เอาเส้นอ่อนพันขัดเส้นแข็ง) ต่อเชือกที่มี ลักษณะค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์

3) ใช้ต่อด้าย ต่อเส้นด้ายเส้นไหมทอผ้า

4) ใช้ผูกกับขอ หรือบ่วง


เงื่อนตะกรุดเบ็ด แบบที่ 1

เงื่อนตะกรุดเบ็ด แบบที่ 2


ประโยชน์

1) ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือสิ่งอื่น ๆ จะให้ความปลอดภัยมาก ถ้าผูกกลาง ๆ ของเชือก ถ้าใช้ปลายเชือกผูกอาจไม่แน่น กระตุกบ่อย ๆ จะหลุดปมเชือกจะคลาย

2)  ใช้ทำบันไดเชือก บันไดลิง

3) ใช้ในการผูกเงื่อนต่าง ๆ ที่ผูกกับหลักหรือวัตถุ

4) ใช้ในการผูกเงื่อนกระหวัดไม้

5) ใช้ในการผูกเงื่อนแน่น เช่น ผูกประกบ กากบาท

6) ใช้ในการผูกปากถุงขยะ


วิธีการเก็บเชือก 

การรักษาเชือก มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

1) ระวังรักษาเชือกให้แห้งเสมอ อย่าให้เปียกชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา

2) การเก็บเชือก ควรขดเก็บเป็นวง มัดให้เรียบร้อย เก็บให้ห่างไกลจากมด แมลง หนู หรือสัตว์อื่น ๆ และควรแขวนไว้ ไม่ควรวางไว้กับพื้น

3)  อย่าให้เชือกผูกรั้ง เหนี่ยว ยึดหรือลาก ฉุดของหนักเกินก˚าลังเชือก

4)  ขณะใช้งาน อย่าให้เชือกลากครูด หรือเสียดสีกับของแข็ง จะท˚าให้เกลียว ของเชือกสึกกร่อนและขาดง่าย

5) ก่อนเอาเชือกผูกมัดกับต้นไม้ กิ่งไม้หรือของแข็ง ควรเอากระสอบพันรอบ ต้นไม้หรือกิ่งไม้ก่อน และเชือกที่ใช้งานเสร็จแล้วจะต้องระวังรักษา ดังนี้

(1) เชือกที่เลอะโคลนเลนหรือถูกน้ำเค็ม เมื่อเสร็จงานแล้ว ต้องช˚าระล้าง ด้วยน้˚าจืดให้สะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง ขดมัดเก็บไว้กับขอหรือบนที่แขวน

(2) เชือกลวดเมื่อเสร็จงาน ต้องรีบทำความสะอาด ล้างด้วยน้ำจืด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งแดดจนแห้งสนิท แล้วเอาน้ำมันจาระบี หรือยากันสนิมชโลมทาให้ทั่ว จึงเก็บให้เรียบร้อย

(3)  ปลายเชือกที่ถูกตัด จะต้องเอาเชือกเล็ก ๆ พันหัวเชือกเพื่อป้องกันเชือกคลายเกลียว