เรื่องที่ 3 ชีวิตชาวค่าย

ชีวิตชาวค่าย เป็นกิจกรรมสร้างนิสัย การบำเพ็ญประโยชน์ รู้จักการปรับตัวเข้า หา

กัน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยการฝึกปฏิบัติตนด้วยการทำงานร่วมกันเป็นหมู่ รู้จักยอมรับในบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง เมื่อมีเหตุการณ์คับขัน รู้จักการดำรงชีพกลางแจ้งโดยไม่นิ่งเฉย เชื่อฟังกฎกติกาอยู่ในระเบียบ อย่างเคร่งครัด สร้างเสริมคุณธรรม สร้างความมีวินัย

ชีวิตชาวค่าย ประกอบด้วย

1. เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นสำหรับชีวิตชาวค่าย

2. การสร้างครัวชาวค่าย

3. การสร้างเตาประเภทต่าง ๆ

4. การประกอบอาหารแบบชาวค่าย

5. การกางเต็นท์ และการเก็บเต็นท์ชนิดต่าง ๆ

3.1 เครื่องมือ และเครื่องใช้ ที่จ˚าเป็นสำหรับชีวิตชาวค่าย

เครื่องมือ และเครื่องใช้ สำหรับการอยู่ค่ายพักแรม มีหลากหลายประเภท แยกตาม

ลักษณะของการใช้งาน แบ่งออกเป็น ของมีคม ได้แก่ มีด ขวาน เลื่อย เครื่องมือที่ใช้ สำหรับขุด ได้แก่ จอบ เสียม พลั่ว พลั่วสนาม และเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอก ได้แก่ ค้อน โดย แยกเก็บตามประเภท และลักษณะการใช้งาน เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน และความเป็น ระเบียบเรียบร้อย

มีด คือ เครื่องมือชนิดแรก ๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่าง

ยาวนาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันแทบทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต มีด เป็นเครื่องมือตัด เฉือนชนิดมีคม สำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลม สำหรับกรีดหรือแทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว

ขวาน เป็นเครื่องมือที่ท˚าด้วยเหล็ก มีสันหนาใหญ่ ใช้ในการตัดไม้ ฟันไม้

ผ่าไม้ ตอกไม้ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ โดยทั่วไปขวานจะประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ ส่วนหัว และส่วนด้ามจับ โดยขวานจะมีทั้งแบบที่ด้ามยาว และแบบด้ามสั้น ขึ้นอยู่กับงานที่ใช้

การดูแลรักษามีดและขวาน

1.ไม่ควรวางมีดหรือขวานไว้กับพื้น เพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ถ้าเผลอ ไป

เหยียบ รวมทั้งจะทำให้คมมีดและขวานเป็นสนิมได้

2..อย่าใช้มีดหรือขวานหั่นถากวัตถุที่แข็งเกินไป เพราะอาจทำให้หมดคม หรืออาจ

บิ่นเสียหายได้

3.ไม่ควรเอามีดหรือขวานลนไฟหรือหั่นสับสิ่งที่กำลังร้อนเพราะจะทำให้

ทื่อง่าย

 

4. หลังจากใช้มีดหรือขวานเสร็จแล้ว ต้องล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมัน

แล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย ถ้าเป็นมีดหรือขวานที่มีปลอก มีหน้ากาก ควรสวมปลอกหรือ หน้ากากก่อนแล้วนำไปเก็บ

5. เมื่อคมมีด หรือคมขวานทื่อ ควรลับกับหินลับมีด หรือหินกากเพชร

6.ถ้าด้ามมีด หรือด้ามขวาน แตกร้าว ต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี ก่อนนำไป

เก็บหรือนำไปใช้งาน

วิธีถือมีดและขวานให้ปลอดภัย

1. ต้องหันด้านคมของมีดหรือขวานออกนอกตัว

2. เวลาแบกขวาน ต้องระวังอย่าให้คมขวานห้อยลง หรือหันเข้าหาตัว

3. ถ้าเป็นขวานขนาดเล็ก เวลาถือให้จับที่ตัวขวาน ปล่อยด้ามขวานชี้ลงพื้น หันคมขวานไป

ทางด้านหลัง

วิธีส่งมดและขวานให้ปลอดภัย

1.การส่งมีด ผู้ส่งจับสันมีดหันคมมีดออกนอกตัวหรือหันด้านคมลงพื้นส่งด้านมีดให้ผู้จับ

2. การส่งขวาน ผู้ส่งจับปลายด้ามขวานห้อยตัวขวานลง ให้คมขวานหันไปด้านข้าง ผู้รับต้อง

จับด้ามขวานใต้มือผู้ส่ง

 

เลื่อย เป็นเลื่อยสำหรับงานไม้โดยทั่วไป ทำด้วยโลหะแผ่นบาง มีฟันเป็นซี่ ๆ โดยฟันของซี่เลื่อยมีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

การดูแลรักษา

1.       หลังจากการใช้งานให้คลายใบเลื่อยออกเล็กน้อย เพื่อยืดอายุใบเลื่อยให้ ใช้งานได

ยาวนานขึ้น

2. ใช้แปรงปัดทำความสะอาดทุกส่วน ทาด้วยน้ำมัน แล้วเก็บไว้ในที่เก็บหลังการใช้งาน

 

จอบ เป็นเครื่องมือขุดเดิน ที่มีน้ำหนักปานกลางและมีความทนทานสูง จอบใช้ในการขุดดิน

แข็ง ๆ และขุดหลุมให้มีขนาดกว้างและลึกได้ ลักษณะเด่นของจอบ คือ มีใบ ที่แบนกว้างและคม สามารถเจาะผ่านพื้นดินหรือก้อนดินที่แข็ง ๆ ให้แยกขาดออกจากกัน ได้โดยง่าย

การดูแลรักษา

หลังจากการใช้ทุกครั้งควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เพื่อจัดดินที่ติดตาม ใบจอบ และคม

จอบให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง แล้วทาน้˚ามันกันสนิมและเก็บเข้าที่ ให้เรียบร้อย

เสียม เป็นเครื่องมือขุดดิน ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในบรรดาเครื่องมือขุดดิน

ทุกชนิดด้วยรูปทรงที่เล็กมีน้ำหนักเบา จึงไม่กินแรงผู้ใช้ เสียมจึงมีบทบาทสำคัญในงานด้าน การเกษตรทุกชนิด จึงพูดได้ว่าเสียมเป็นเครื่องมือการเกษตรที่มาคู่กับจอบ เพราะสิ่งที่จอบทำได้ เสียมก็สามารถทำได้ เช่น การขุดดิน ขุดลอก เป็นต้น แต่สิ่งที่เสียมทำได้นั้นจอบไม่สามารถ ทำได้ก็ คือ การขุดหลุดที่ลึกและแคบ และการขุดดินในที่แคบๆ ที่ต้องใช้ความความระมัดระวังสูง เช่น การขุดล้อมต้นไม้ขนาดเล็ก และการขุดหน่อกล้วย เป็นต้น

การดูแลรักษา

หลังจากการใช้งานทุกครั้งควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เพื่อกำจัดดินที่ติด ปลายเสียม

ให้หมดเสียก่อน จากนั้นใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วนำเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย พลั่ว เป็นเครื่องมือใช้ในการตักดิน หรือตักทรายที่มีความละเอียดมาก หรือเป็นก้อนที่ไม่ใหญ่นัก พลั่วมีน้ำหนักพอ ๆ กับเสียม แต่มีใบที่กว้างและบางกว่าเสียมและ จอบเล็กน้อย คมของพลั่วไม่ได้มีไว้ใช้ในการขุดหรือเจาะ แต่มีไว้ในการตักหรือโกย เศษทราย เศษดิน หรือเศษวัชพืช ที่ได้ทำการกวาดรวม ๆ กันไว้เป็นกอง ๆ เรียบร้อยแล้ว เพื่อตักไปใส่

ถุงปุ๋ย หรือปุ้งกี๋ หรือถังขยะ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการจัดเก็บและทำความสะอาด

การดูแลรักษา

หลังจากการใช้ทุกครั้งควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เพื่อกำจัดเศษดิน เศษทรายที่

ติดตามปลายพลั่วให้หมดเสียก่อน จากนั้นก็ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้ว เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

ค้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น  สำหรับการใช้งาน  เช่น การตอกตะปู การ

จัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมา ให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ ด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมาก เท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวด ด้วยความเร่งมาก แรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้วย

การดูแลรักษา

1. เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงาน

2. เมื่อใช้งานเสร็จควรเช็ดทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันที่หัวค้อนเพื่อป้องกันสนิม

3.2 การสร้างครัวชาวค่าย

การสร้างครัว เป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับใช้ในการประกอบอาหาร ตลอด

ระยะเวลาในการอยู่ค่ายพักแรม มีองค์ประกอบในการสร้างครัว ดังนี้

ที่ทำครัว ควรมีเขตทำครัวโดยเฉพาะ โดยเลือกพื้นที่ที่จะเป็นเหตุให้เสียหาย แก่พื้นที่น้อย

ที่สุด ถ้ามีหญ้าขึ้นอยู่ต้องแซะหญ้าออก (ให้ติดดินประมาณ 10 ซม.) แล้วจึงค่อยตั้ง เตาไฟ ส่วนหญ้าที่แซะออกนั้นจะต้องหมั่นรดน้ำไว้ เมื่อการอยู่ค่ายพักแรมได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็ให้ ปลูกหญ้าไว้ที่เดิม แล้วรดน้ำเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิม

ในการจัดทำเครื่องใช้นั้น อะไรควรจัดทำก่อน อะไรควรจัดท˚าภายหลัง ถือหลักว่า อัน

ไหนสำคัญที่สุดก็ให้จัดทำก่อน แล้วจึงค่อย ๆ จัดทำสิ่งที่มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ ต่อไปนี้ คือ คำแนะในการสร้างเครื่องใช้ต่าง ๆ

เตาไฟ มีหลายแบบ เช่น แบบขุดเป็นราง แบบใช้อิฐ หรือก้อนหินวางเป็น

สามเส้า แบบเตายืนเป็นแบบสะดวกในการทำครัว ก่อนตั้งเตาไฟควรทำความสะอาดบริเวณนั้น อย่าให้มีเชื้อไฟหรือสิ่งที่ติดไฟง่ายอยู่ใกล้ ๆ

กองฟืน ลักษณะของฟืนที่นำมาใช้ควรเป็นไม้แห้ง  เพื่อง่ายต่อการก่อไฟ

ควรกองให้เป็นระเบียบ อยู่ไม่ห่างจากเตาไฟ ถ้าฝนตกจะต้องมีหลังคาคลุมดิน สำหรับเตายืน อาจเอาฟืนไว้ใต้เตาก็ได้

เครื่องใช้ต่าง ๆ หม้อ กระทะ แก้วน้ำ มีด เขียง ฯลฯ ที่เก็บมีด ที่เก็บกระบอกน้ำ ที่เก็บ

จาน ที่เก็บถังน้ำ ที่เก็บอาหาร จะต้องจัดทำขึ้น

ที่หุงต้มและรับประทานอาหาร ควรมี หลังคามุงกันแดดกันฝน

อาจใช้โต๊ะอาหารและม้านั่ง ควรจัด ทำขึ้นตามแบบง่าย ๆ

 

 

 

 

 

หลุมเปียก ขุดหลุมขนาดใหญ่ให้ลึกพอสมควร ที่ปากหลุมใช้กิ่งไม้ ใบไม้ สานเป็นแผงปิด แล้ว

เอาหญ้าโรยข้างบน หลุมเปียกสำหรับเทน้ำต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว เช่น น้ำปน ไขมัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อเทลงไป ไขมันและสิ่งต่าง ๆ จะติดอยู่ที่หญ้า มีแต่น้ำแท้ ๆ ไหลลงไป ในหลุม แผงที่ปากหลุมจะต้องน˚าไปเผา และเปลี่ยนใหม่วันละครั้งเป็นอย่างน้อย

หลุมแห้ง ขุดเป็นอีกหลุมหนึ่ง เมื่อทิ้งเศษอาหารแล้ว จะต้องเอาดินกลบถ้าเป็นกระป๋อง ก่อน

ทิ้งต้องทุบให้แบนและเผาไฟ ในกรณีที่ค่ายนั้นมีถังสำหรับเผาขยะหรือเศษ อาหารโดยเฉพาะอยู่แล้ว ก็ให้นำขยะและเศษอาหารไปเผา ณ ที่กำหนดไว้

3.3 การสร้างเตาประเภทต่าง ๆ

เตาสำหรับหุงอาหาร

เตาไฟที่ใช้ในการหุงอาหารในการอยู่ค่ายพักแรมมีอยู่หลายแบบ ซึ่งจะจัดการ สร้างได้ขณะ

อยู่ค่ายพักแรมตามสภาพของพื้นที่ เตาไฟแบบต่าง ๆ ได้แก่ เตาราง เตาใช้อิฐและ หิน เตายืน เตาแขวน ในการก่อสร้างเตาแต่ละครั้ง ลูกเสือจะต้องทำความสะอาดรอบ ๆ บริเวณ ที่ก่อสร้างเตา ให้เตียนและอย่าให้มีเชื้อไฟหรือวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย ๆ อยู่ใกล้บริเวณนั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เตาสามเส้า เป็นการนำก้อนหินสามก้อนมาวางบนพื้น จัดระยะห่างให้พอดี กับก้นหม้อเป็น






สามมุมดูให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

 

 

 

 

เตาหลุม ขุดหลุมให้มีขนาดกว้างพอเท่ากับหม้อ ลึกพอประมาณ แล้วเจาะรู เพื่อใส่ฟืน

ด้านหน้า แล้วมีรูระบายอากาศ ด้านข้างเพื่อให้ควันออก





 

 

 

 

 

 

 

 

 


เตาลอย ให้ขุดหลุมสี่มุม แล้วนำท่อนไม้แข็งแรงสี่ต้นทำเป็นเสาสี่มุม นำไม้มา วางพาดผูก






เป็นสี่เหลี่ยมและวางคานให้เต็มพื้นที่ ใช้ใบไม้ปูให้ราบ เอาดินปูพื้นให้หนาพอสมควร อีกชั้น แล้วใช้ก้อนหินทำเป็นเตาสามเส้า หรือเตารางแล้วแต่สะดวก (หากเป็นหน้าฤดูฝน สามารถสร้างหลังคาต่อเติมได้)

 

เตารางไม้ นำไม้ที่มีง่ามสองท่อนมาปักลงดินตรงข้ามกัน แล้วนำไม้ท่อนตรง วางพาดเป็น

คานไว้แขวนภาชนะ (ไม้ที่ควรใช้พาดควรเป็นไม้ดิบ ซึ่งจะไม่ท˚าให้ไหม้ได้ง่าย)

 

 

 

 

 

 

 

 

เตาแขวน หรือเตาราว ใช้ไม้ที่มีง่ามมาปักลงดินเป็นระยะห่างให้พอดี แล้วหาไม้ยาวเป็นคาน

มาพาดง่ามไว้สำหรับแขวนภาชนะ

 

เตากระป๋อง นำกระป๋องหรือถังขนาดเล็ก ที่พอดีกับหม้อหรือภาชนะ มาผ่าข้าง ออกเป็นประตูลมแล้วเจาะรูส่วนบนสี่รูเพื่อให้อากาศถ่ายเท

3.4 การประกอบอาหารแบบชาวค่าย

การปรุงอาหารในขณะอยู่ค่ายพักแรมหรือเดินป่า เป็นการปรุงอาหาร เเบบชาวค่าย ไม่

สามารถเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการหุงต้มได้ครบถ้วน เช่น ใช้เตาหลุม เตาสามเส้า เตาราง ใช้มะพร้าวอ่อนแทนหม้อ กระบอกไม้ไผ่ ใช้ดินพอกเผาแทนการต้ม การปิ้ง เป็นต้น

การปฏิบัติหรือประกอบอาหารบางอย่างที่จ˚าเป็นในขณะที่อยู่ค่ายพักแรม ควรเลือก

ประกอบอาหารอย่างง่าย รวดเร็ว คงคุณค่าทางอาหาร ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

การหุงข้าวด้วยวิธีต่าง ๆ

1. การหุงข้าวด้วยหม้อหู สามารถหุงข้าวได้ 2 แบบ คือ แบบไม่เช็ดน้ำ และเช็ดน้ำ

1.1 การหุงข้าวไม่เช็ดน้ำ ข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 - 2.5 ส่วน

วิธีหุง

1) ซาวข้าวให้หมดสิ่งสกปรก รินน้ำทิ้ง

2) ตวงน้ำใส่น้ำหม้อ ปิดฝาให้สนิท ตั้งบนเตา ใส่ไฟแรงจัด

3) เมื่อน้ำเดือดใช้พายกวน 1 ครั้ง พอน้ำจวนแห้งปิดฝาหม้อให้สนิท นำถ่าน หรือฟืนออก

เหลือเกลี่ยไว้ให้ไฟน้อยที่สุด (การกวนคนข้าวนี้เพื่อให้ได้รับความร้อนทั่วถึงกัน)

1)      เอียงข้างๆ หม้อให้รอบ ๆ ตั้งต่อไปจนน้ำแห้งให้ข้าวสุกและระอุดี ใช้เวลา

ประมาณ 20 – 25 นาที

1.2 การหุงข้าวเช็ดน้ำข้าว 1 ส่วน ต่อ น้ำ 3 ส่วน

วิธีหุง

1) ซาวข้าวพอหมดสิ่งสกปรก รินน้ำทิ้ง

2) ตวงน้ำใส่หม้อ ปิดฝาให้สนิท ตั้งบนไฟใช้ไฟแรงจนกระทั่งข้าวเดือด

3) เมื่อน้ำเดือดใช้พายกวนข้าว 1 ครั้ง หรือมากกว่า เพื่อให้ได้รับความร้อนทั่วถึง

4) สังเกตดูพอเม็ดข้าวบาน รินน้ำข้าวทิ้ง เอาขึ้นดงบนเตา ใช้ไฟอ่อน ตะแคงหม้อ หมุนให้ได้

ความร้อนทั่วจนน้ำแห้ง จากนั้นให้ยกลงจากเตา

วิธีการแก้ข้าวแฉะ

ข้าวแฉะเกิดจากปล่อยทิ้งไว้จนเม็ดข้าวบานมาก หรือใส่น้ำน้อยจนน้ำข้าวข้นมาก ก่อนจะ

เช็ดน้ำข้าวให้ใส่น้ำเปล่าลงไปให้น้ำไม่ข้น คนให้ทั่วหม้อ แล้วเช็ดน้ำให้แห้งปิดฝาหม้อ ให้สนิท แล้วหมุนหม้อไปมา และนำหม้อข้าวไปตั้งที่เตาไฟ โดยใช้ไฟอ่อน ๆ

วิธีแก้ข้าวดิบ

ให้ใช้น้ำพรมข้าวพอประมาณ คุ้ยพรมให้ทั่วหม้อ แล้วจึงนำหม้อข้าวขึ้นดงใหม่ หมุนให้ทั่ว

ดงให้นานกว่าดงข้าวธรรมดา เมื่อยกลงห้ามเปิดฝาดู ควรปิดให้สนิท เพื่อข้าวจะได้สุก ระอุดี

วิธีแก้ข้าวไหม้

หากได้กลิ่นข้าวไหม้ รีบเปิดฝาหม้อเพื่อให้ไอน้ำออก และความร้อนในหม้อจะได้ ลดลงเร็ว

ขณะเดียวกันกลิ่นไหม้จะได้ออกไปด้วย คุ้ยข้าวตอนบนที่ไม่ไหม้ให้สุก แล้วเปิดฝาทิ้งไว้

 

 

 

การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ

การต้ม ทำได้ 2 วิธี คือ

1.       โดยการใส่ของที่จะท˚าให้สุกลงไปพร้อมกับน้˚า แล้วน˚าไปตั้งไฟ เช่น การต้มไข่ ถ้าใส่ใน

น้ำเดือดแล้วไข่จะแตกเสียก่อน

2. โดยการใส่ของที่จะท˚าให้สุก เมื่อน้ำนั้นเดือดแล้ว เช่น การต้มปลากันเหม็นคาว

การผัด หมายถึง การท˚าวัตถุสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง ซึ่งต้องการให้สุกสำเร็จเป็น

 

อาหารสิ่งเดียว

วิธีการผัด

โดยการใช้น้ำมันหรือกะทิ ใส่ในภาชนะที่จะใช้ผัด  แล้วนำของที่จะผัดรวมลงไปคนให้สุกทั่ว

กันและปรุงรสตามชอบ

 

การทอด ใส่น้ำมันลงในภาชนะที่จะใช้ในการทอด โดยประมาณให้ท่วมของ ที่จะทอด ตั้งไฟให้น้ำมันร้อนจัด จึงใส่ของลงไปทอด การสังเกตของ ที่ทอดว่าสุกหรือยังให้สังเกต ตามขอบของสิ่งที่ทอด

การถนอมอาหาร

การตากแห้ง เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด มากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและ

ผลไม้ เป็นวิธีที่ท˚าให้อาหารหมดความชื้นหรือมี ความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์ สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

การรวน เป็นวิธีการที่คล้ายกับการคั่วแต่ต้องใส่น้ำมัน นิยมใช้ประกอบอาหารประเภท

เนื้อสัตว์ และปรุงรสให้เค็มมากขึ้น เพื่อให้สามารถ เก็บไว้รับประทานได้นาน เช่น ไก่รวน เป็ดรวน และ ปลาหมึกรวน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.5 การกางเต็นท์และการเก็บเต็นท์ชนิดต่าง ๆ

การไปอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ แต่ก่อนนั้นลูกเสือไปหาที่พักข้างหน้า ตามแต่จะดัดแปลงได้

ในภูมิประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าถ้าลูกเสือไม่พักในอาคาร ลูกเสือจะต้องนอนกลางแจ้ง ซึ่งจะต้องหาวิธีสร้างเพิงที่พักง่าย ๆ ที่สามารถกันแดดกันฝนกันลม และป้องกันสัตว์เลื้อยคลานได้ โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ ต่อมาเริ่มมีการเตรียม อุปกรณ์ไปด้วย เช่น เชือกหลาย ๆ เส้น พลาสติกผืนใหญ่ เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการสร้างเพิงที่พัก มากขึ้น

ปัจจุบันลูกเสือส่วนมากจะเตรียมเต็นท์สำเร็จรูปไปด้วย เพราะเต็นท์มีขาย อย่างแพร่หลาย

และมีให้เลือกหลายแบบหลายสีหลายขนาดมีน้ำหนักเบามีขนาดกะทัดรัด สามารถนำพาไปได้สะดวก

 






การกางเต็นท์กระแบะ หรือเต็นท์ 5 ชาย

อุปกรณ์และส่วนประกอบ

ในการใช้เต็นท์ส˚าหรับอยู่ค่ายพักแรม จะใช้เต็นท์ 5 ชาย ซึ่งเหมาะส˚าหรับลูกเสือ จ˚านวน 2 คน ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการกางเต็นท์ไม่มากนักและวิธีกางก็ไม่ยุ่งยาก ส่วนประกอบของ เต็นท์ 5 ชาย มีดังนี้

1. ผ้าเต็นท์ 2 ผืน

2. เสาเต็นท์ 2 ชุด (2 เสา) ชุดละ 3 ท่อน (3 ท่อนต่อกันเป็น 1 ชุด)

3. สมอบก 10 ตัว (หัวท้าย 2 ตัว ชายด้านล้างด้านละ 3 ตัว ประตูหน้า 1 ตัว และหลัง 1 ตัว)

4. เชือกยึดสมอบก 10 เส้น (เชือกยาวใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์ 2 เส้น เชือกสั้นใช้ยึด ชายเต็นท์ 6 เส้น และประตูหน้า - หลัง 2 เส้น)

การกางเต็นท์

การกางเต็นท์ 5 ชายนั้นมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ติดกระดุมทั้ง 2 ผืนเข้าด้วยกัน

2. ตั้งเสาเต็นท์ทั้ง 2 เสา

3. ผูกเชือกรั้งหัวท้ายกับสมอบก

4. ตอกสมอบกยึดชายเต็นท์

การรื้อเต็นท์ที่พักแรม

1. แก้เชือกที่รั้งหัวท้ายกับสมอบกออก

2. ล้มเสาเต็นท์ทั้ง 2 เสาลง

3. ถอนสมอบกที่ยึดชายเต็นท์และที่ใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์

4. แกะกระดุมเพื่อแยกให้เต็นท์เป็น 2 ผืน

 

 

 

5. ทำความสะอาด เก็บพับให้เรียบร้อย

6. นำผ้าเต็นท์และอุปกรณ์เก็บรวมไว้เป็นที่เดียวกัน

เต็นท์สำเร็จรูป

เต็นท์สำเร็จรูปจะมีลักษณะ และ รูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งมีวางจำหน่าย โดยทั่วไป ง่ายต่อ

การประกอบและการเก็บ แต่ละแบบจะ มีรูปแบบการประกอบไม่เหมือนกัน จึงให้ผู้ใช้ พิจารณาตามวิธีการของเต็นท์

 

 

 

 

 

 

 

 

เต็นท์สำเร็จรูปใช้เป็นที่พัก

สำหรับลูกเสือทั้งหมู่ (1 หมู่) เป็นเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเต็นท์กระแบะ มีน้˚าหนักมากกว่า

เต็นท์ กระแบะสามารถพกพาไปได้สะดวก พื้นที่ที่ใช้กางเต็นท์จะมีบริเวณกว้างพอสมควร ส่วนวิธีกางเต็นท์ ไม่ยุ่งยากมีลูกเสือช่วยกันเพียง 2 คนก็สามารถกางเต็นท์ได้

ส่วนประกอบของเต็นท์ส˚าเร็จรูป มีดังนี้

1. ผ้าเต็นท์ 1 ชุด

2. เสาเต็นท์ 2 ชุด (2 เสา) ชุดละ 3 ท่อน (3 ท่อนต่อกันเป็น 1 ชุด หรือ 1 เสา)

3. สมอบก 12 ตัว (ยึดมุมพื้น 4 ตัว ยึดชายหลังคา 6 ตัว หัว 1 ตัว ท้าย 1 ตัว)

4. เชือกยึดสมอบก 8 เส้น ทุกเส้นมัดติดกับแผ่นเหล็กส˚าหรับปรับความตึงหย่อน ของเชือก (เชือกสั้น 6 เส้นใช้ยึดชายหลังคา เชือกยาว 2 เส้นใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์)

 

วิธีกางเต็นท์สำเร็จรูป ปฏิบัติดังนี้

1. ยึดพื้นของเต็นท์ทั้ง 4 มุมด้วยสมอบก 4 ตัว

2. นำเสาชุดที่ 1 (ต่อ 3 ท่อนเข้าด้วยกัน) มาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่1 จับไว้

3. ให้คนที่ 2 ใช้เชือกยาว 1 เส้น ยึดจากหัวเสา (หรือห่วง) ไปยังสมอบกด้านหน้า (โดยผูก

ด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด หรือผูกเงื่อนกระหวัดไม้ ไม่ต้องใช้เงื่อนผู้รั้ง เพราะเป็นแผ่นปรับ ความตึงอยู่แล้ว) แล้วใช้เชือกสั้น 2 เส้น ยึดชายเต็นท์เข้ากับสมอบกให้เต็นท์กางออกเป็นรูป หน้าจั่ว

4.ให้คนที่ 2 เดินอ้อมไปอีกด้านหนึ่งต่อเสาที่ 2 เสียบเข้ารูหลังคา เต็นท์อีกด้าน

หนึ่งแล้วจับเสาไว้ให้คนที่ 1 ปล่อยมือจากเสาที่ 1 แล้วนำเชือกยาวเส้นที่ 2 ยึดจากหัวเสาที่ 2 ไปยังสมอบกด้านหลัง

 

 

 

5. ให้คนที่ 2 ปล่อยมือจากเสาที่ 2 ได้ เต็นท์จะไม่ล้ม ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือก ยึดชาย

หลังคาเต็นท์ (จุดที่เหลือ) ให้เข้ากับสมอบกแล้วปรับความตึงหย่อนของเต็นท์ ให้เรียบร้อย

หมายเหตุ เต็นท์ สำเร็จรูปมีหลายแบบ มีรูปทรงไม่เหมือนกัน บางแบบคล้ายเต็นท์

กระแบะ เป็นต้น ใช้สะดวกและเบามากแต่บอบบาง

 

เต็นท์อย่างง่าย

 

 

 

 

 

 

วิธีนี้ปัจจุบันสะดวกมาก ทั้งยังราคาถูกหาซื้อง่ายใช้ประโยชน์ได้ดีสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่

หาได้ในท้องถิ่น โดยใช้ถุงปุ๋ยหรือเสื่อเย็บต่อกันให้ได้เป็นผืนใหญ่ ๆ สามารถใช้แทนผ้า เต็นท์ได้ จะให้มีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนใหญ่มักจะท˚าเป็นผืนใหญ่ใช้เป็น ที่พักของลูกเสือได้ทั้งหมู่

วิธีทำ

หาไม้สองท่อนมาทำเสา ปักลงในดินให้แน่น แล้วเอาไม้อีกอันหนึ่งพาดทำเป็นขื่อ เสร็จแล้ว

ใช้ถุงที่เย็บหรือผ้าใบ พาดกับขื่อนั้น ที่ปลายทั้งสองข้าง รั้งเชือกกับสมอบก

การนำวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นจะง่าย สะดวกและประหยัด เพื่อเป็นการส่งเสริม และปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

 

รูปแบบเต็นท์แบบต่าง ๆ






เต็นท์แบบโดม






เต็นท์แบบโครง

 

 

 

 


เต็นท์แบบสามเหลี่ยม






เต็นท์แบบกระโจม

 


เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน






เต็นท์แบบอุโมงค์

ข้อควรระวังในการกางเต็นท์

เมื่อต้องการกางเต็นท์หลายหลังเป็นแนวเดียวกัน ขั้นแรกเล็งให้สมอบกและ เสาต้นแรกของ

ทุกเต็นท์อยู่ในแนวเดียวกันการกางเต็นท์แต่ละหลัง ให้เล็งสมอบกตัวแรก เสาแรก เสาหลัง และสมอบกตัวหลังทั้ง 4 จุดอยู่ในแนวเดียวกันเสาทุกต้นที่ยึดเต็นท์จะต้อง ตั้งฉากกับพื้นเสมอหลังคาเต็นท์จะต้อง ไม่มีรอยย่น สมอบกด้านข้างของเต็นท์แต่ละหลัง จะต้องเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ถ้าเต็นท์ตึงไปอาจจะขาดได้ หรือ ถ้าหย่อนเกินไปก็จะกันฝน ไม่ได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุท˚าให้น้˚าซึมได้ง่ายและถ้าหากลมพัดแรง อาจท˚าให้เต็นท์ขาดได้ การผูก เต็นท์ควรใช้เงื่อนผูกรั้งเพราะสามารถปรับให้ตึงหย่อนได้ตามต้องการ

 

 

การดูแลรักษาเต็นท์

การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็น เรื่องยาก ลอง

 

อ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว

1.       ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้ เต็นท์ของ

คุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้น เกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับ เต็นท์ เป็นต้น

2.       ถ้าไม่จำเป็น อย่าเก็บเต็นท์ในขณะที่เปียก เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควร

จะน˚าเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและน˚าเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้ เรียบร้อย

3.       ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะท˚าลาย สารที่

เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะท˚าให้สารเคลือบ หลุดออกเช่นกัน

4.       ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์ คือ ช่วย

ปกป้องตัวเต็นท์ จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์ เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น

5.       ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์สามารถ ทรงตัวได้

อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรง เต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์ แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่งจะ ช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้

6.       ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจ˚าเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนัง เต็นท์มี

รอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป