เรื่องที่ 3 การวัดสัญญาณชีพและการประเมินเบื้องต้น

สัญญาณชีพเป็นสิ่งที่บ่งบอกความมีชีวิตของบุคคล ถ้าสัญญาณชีพปกติ จะบ่งบอก

ถึงภาวะร่างกายปกติ ถ้าสัญญาณชีพมีการเปลี่ยนแปลง สามารถบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลง ในการ ทำหน้าที่ของร่างกาย ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และความรีบด่วนที่ต้องการรักษา

สัญญาณชีพ หมายถึง สิ่งที่แสดงให้ทราบถึงการมีชีวิต สามารถสังเกตและ

ตรวจพบได้จากชีพจร อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย และความดันโลหิต ซึ่งเกิดจากการ ทำงานของอวัยวะของร่างกายที่สำคัญมากต่อชีวิต ได้แก่ หัวใจ ปอด และสมอง รวมถึงการ ทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ

วัตถุประสงค์ของการวัดสญญาณชีพ

1.-เพื่อประเมินระดับอุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้น ลักษณะชีพจรการหายใจ และความ

ดันโลหิต

2. เพื่อสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่วย และเป็นการประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้น

ข้อบ่งชี้ของการวัดสัญญาณชีพ

1. เมื่อแรกรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล

2. วัดตามระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติของโรงพยาบาลหรือตามแผนการรักษาของแพทย์

3. ก่อนและหลังการผ่าตัด

4. ก่อนและหลังการตรวจวินิจฉัยโรคที่ต้องใส่เครื่องมือตรวจเข้าไปภายในร่างกาย

5. ก่อนและหลังใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด

 

 

 

6. เมื่อสภาวะทั่วไปของร่างกายผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความรู้สึกตัวลดลง หรือความ

รุนแรงของอาการปวดเพิ่มขึ้น

7. ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อสัญญาณชีพ สัญญาณชีพ ประกอบด้วย ชีพจร อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิต มีรายละเอียดดังนี้

7.1 ชีพจรเป็นการหดและขยายตัวของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการบีบตัว ของ

หัวใจ จังหวะการเต้นของเส้นเลือดจะสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจ การวัดอัตราการเต้น ของหัวใจ วัดนับจากการใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้คลำการเต้นของหลอดเลือดแดงตรงด้านหน้า ของข้อมือ (ด้านหัวแม่มือ) ที่อยู่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ ประมาณ 60–100 ครั้งต่อนาที

7.2 อัตราการหายใจ การหายใจเป็นการน˚าเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและ นำ

คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย การวัดอัตราการหายใจดูจากการขยายตัวของช่องอก ประมาณ 12 – 20 ครั้งต่อนาที

7.3 อุณหภูมิร่างกายเป็นระดับความร้อนของร่างกาย ซึ่งเกิดจากความสมดุล ของ

การสร้างความร้อนของร่างกายและการสูญเสียความร้อนของร่างกาย มีหน่วยเป็นองศา- เซลเซียส (°C) หรือองศาฟาเรนไฮต์ (°F) ซึ่งจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักถึงแม้อุณหภูมิ ภายนอกอาจจะเปลี่ยนแปลง ค่าปกติ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส +/- 0.5 องศาเซลเซียส

7.4 ความดันโลหิต เป็นแรงดันของเลือดที่ไปกระทบกับผนังเส้นเลือดแดง มีหน่วย

เป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท หรือ mm.Hg.) ความดันโลหิตใช้ตรวจวัดจากเครื่องวัด คนปกติจะมีความดันโลหิต ประมาณ 90/60 - 120/80 มิลลิเมตรปรอท