เรื่องที่ 3 บทบาทหน้าที่ของลูกเสือ กศน. ที่มีต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

ลูกเสือ กศน. มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาตนเอง ซึ่งเน้นการพัฒนาความสามารถ ศักยภาพ และสมรรถนะที่ทันต่อสภาพความจำเป็น ตามความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลง ของสังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น การพัฒนาตนเอง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ถึงความสำคัญของการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รู้วิธีการวางแผนพัฒนาตนเอง ในบทบาทของผู้นำ และผู้ตาม

ผู้เรียน กศน. ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือ กศน. เริ่มต้นด้วยการแสวงหาความรู้ทั่วไป ที่เกี่ยวกับทักษะการดำรงชีวิต โดยใช้กระบวนการคิดเป็น ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวกับทักษะลูกเสือ กิจกรรมกลางแจ้ง การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจแก้ปัญหา และเข้าพิธีประจำกองลูกเสือ วิสามัญ โดยผู้กำกับกองลูกเสือวิสามัญ จะเป็นผู้ประกอบพิธีประจำกองให้แก่ลูกเสือ กศน. ให้ลูกเสือ กศน.แต่งเครื่องแบบลูกเสือวิสามัญ มาพร้อมกันที่ คูหาลูกเสือวิสามัญ (Rover Den) หรือสถานที่นัดหมายอื่นที่เหมาะสม เพื่อทบทวนหลักการ การเป็นพลเมืองดีในทัศนะของลูกเสือ พิจารณาคติพจน์ คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือทั้ง 10 ข้อ ที่จะนำสู่การปฏิบัติตนเป็นคนดี สำรวจตัวเอง และเข้าพิธีประจำกองตามลำดับ

การปฏิบัติตนตามคติพจน์ของลูกเสือ กศน. คือ “บริการ” ซึ่งเป็นเสมือนหัวใจ ของลูกเสือ กศน. ที่จะต้องยึดมั่นในการเสียสละด้วยการบริการ แต่การบริการนี้มิได้หมายถึง เป็นผู้รับใช้หรือคนงาน การบริการในความหมายของการลูกเสือนี้ เรามุ่งที่จะอบรมบ่มนิสัยและ จิตใจให้ได้รู้จักเสียสละ ได้รู้จักวิธีหาความรู้และประสบการณ์ ที่เป็นประโยชน์ในอนาคตและ ในที่สุดก็จะท˚าให้สามารถประกอบอาชีพโดยปกติสุขในสังคม

การบริการ หมายถึง การประกอบคุณประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติ ด้วยการถือว่า เป็นเกียรติประวัติสูงสุดแห่งชีวิตของเรา ในการที่รู้จักเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อบำพ็ญ ประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อจุดมุ่งหมายให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้โดยปกติ เป็นการสอนให้ลูกเสือ วิสามัญตั้งตนอยู่ในศีลธรรมไม่เอาเปรียบผู้ที่ยากจนหรือด้อยกว่า นอกจากนั้นการบริการแก่ผู้อื่น เปรียบเสมือนเป็นการชำระหนี้ที่ได้เกิดมาแล้ว อาศัยอยู่ในโลกนี้ด้วยความมุ่งหวังจะให้ทุกคน เข้าใจในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม มองเห็นความจำเป็นของสังคมว่าไม่มีใครสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง ทุกคนจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันไม่ว่าด้านอาหารการกิน ด้านเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรืออื่น ๆ

ลูกเสือ กศน. พึงนำคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือ มาเป็นแนวทาง การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนี้

1. พัฒนาทางกาย พัฒนาทางด้านร่างกาย มุ่งเน้นการเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง

2. พัฒนาทางสติปัญญา พัฒนาทางด้านสติปัญญา มุ่งเน้นการทำงานอดิเรก การฝีมือ การรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

3. พัฒนาทางจิตใจศีลธรรม พัฒนาทางด้านความคิดเรื่องศาสนา ซึ่งมีวิธีการ แตกต่างกันไป ตามศาสนาที่ตนนับถือ มุ่งเน้นยึดมั่นในหลักการของศาสนา เพื่อให้บรรลุผล แห่งความจงรักภักดีต่อศาสนา

4. พัฒนาในเรื่องสร้างค่านิยมและเจตคติ พัฒนาทางด้านความรู้สึกด้านค่านิยม มุ่งเน้นการเอาใจใส่ ระมัดระวังในการเผชิญปัญหา สถานการณ์ปัจจุบันเป็นพิเศษ

5. พัฒนาทางสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มุ่งเน้นการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข

6. พัฒนาสัมพันธภาพทางสังคม สร้างสัมพันธภาพทางสังคม มุ่งเน้นการทำงาน เป็นระบบหมู่ ในบทบาทของผู้นำและผู้ตามที่ดี

7. พัฒนาสัมพันธภาพต่อชุมชน มีความรับผิดชอบต่อชุมชน มุ่งเน้นความสำคัญ ของความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อผู้อื่นด้วยการบำเพ็ญประโยชน์

8. พัฒนาทางด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นความสนใจในสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ธรรมชาติ