หลังจากที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามโครงการเรียบร้อยแล้ว จะต้องสรุปผลการดำเนินงาน ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น การสรุปผลการดำเนินงานควรประกอบด้วยเนื้อหาที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1. ผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือผลที่เกิดขึ้นตาม “ผลที่ คาดว่าจะได้รับ” ที่เขียนไว้ในโครงการ

2. ปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการด˚าเนินงานตามโครงการ โดยให้ระบุปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหา หรืออุปสรรคเหล่านั้นเกิดขึ้นอีก

       3. ข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อจะทำให้การปฏิบัติงาน โครงการในครั้งต่อไป ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ การสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อน˚าเสนอผลต่อที่ประชุม สามารถจัดทำได้ตามองค์ประกอบ ดังนี้

1. ส่วนนำเป็นส่วนแรกของรายงาน ซึ่งควรประกอบด้วย

1. ปก ควรมีทั้งปกนอก และปกใน ซึ่งมีเนื้อหาซ้ำกัน

2. คำนำ หลักการเขียนคำนำที่ดีจะต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ ต้องการที่จะ อ่านเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในรายงาน

3. สารบัญ หมายถึง การระบุหัวข้อสำคัญในเล่มรายงาน โดยต้องเขียนเรียงลำดับ ตามเนื้อหาของรายงาน พร้อมระบุเลขหน้า

2. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. หลักการและเหตุผลของโครงการ หรือความเป็นมา และความสำคัญของโครงการ

2. วัตถุประสงค์

3. เป้าหมายของโครงการ

4. วิธีดำเนินการ หรือกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานตามโครงการเป็นการเขียนถึงขั้นตอน การดำเนินงานโครงการแต่ละขั้นตอนตามที่ได้ปฏิบัติจริง ว่ามีการดำเนินการอย่างไร

5. ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการเป็นการเขียนผลการดำเนินงาน ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานโครงการ

6. ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานโครงการ (เป็นการเสนอความคิดเห็นที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้อ่าน หรือต่อการดำเนินงานโครงการในครั้งถัดไป)

7. ภาคผนวก (ถ้ามี) เช่น รูปภาพจากการดำเนินงานโครงการ แบบสอบถาม หรือเอกสารที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อจัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการ เสร็จสิ้นแล้ว ให้นำ รูปเล่มรายงานส่ง/เสนอต่อผู้ที่อนุมัติโครงการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน โครงการ ต่อไป

นอกจากนี้ การเสนอผลการดำเนินงานโครงการ บางหน่วยงาน หรือบางโครงการ ผู้อนุมัติโครงการ อาจมีความประสงค์ให้ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอโครงการในลักษณะของ การพูด สื่อสาร ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้นำเสนอ จึงควรมีการ เตรียมความพร้อมและปฏิบัติ ดังนี้

1. ผู้นำเสนอ ควรมีการสำรวจตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตนเอง ทั้งใน เรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกายที่เหมาะสม และการทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ เป็นอย่างดี หากมีผู้นำเสนอมากกว่า 1 คน ควรมีการเตรียมการโดยการแบ่งเนื้อหารับผิดชอบ ในการนำเสนอ เพื่อให้การนำเสนอเกิดความต่อเนื่อง ราบรื่น

2. กล่าวทักทาย/สวัสดีผู้ฟัง โดยเริ่มกล่าวทักทายผู้อาวุโสที่สุดแล้วเรียงล˚าดับ รองลงมาจากนั้นแนะนำตนเอง แนะนำสมาชิกในกลุ่ม และแนะน˚าชื่อโครงการ

3. พูดด้วยเสียงที่ดัง อย่างเหมาะสม ไม่เร็ว และไม่ช้าเกินไป

4. หลีกเลี่ยงการอ่าน แต่ควรจดเฉพาะหัวข้อสำคัญ ๆ เพื่อใช้เตือนความจำในขณะที่พูดรายงาน โดยผู้นำเสนอควรจัดความคิดอย่างเป็นระบบ และนำเสนออย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายเป็นธรรมชาติ

5. ผู้นำเสนอควรรักษาเวลาของการนำเสนอ โดยไม่พูดวกไปวนมาหรือพูดออก นอกเรื่องจนเกินเวลา

6. รู้จักการใช้ท่าทางประกอบการพูดพอสมควร

7. ควรมีสื่อประกอบการนำเสนอ เพื่อให้การนำเสนอมีความน่าสนใจ น่าเชื่อถือ และเพื่อความสมบูรณ์ในการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ และควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ ซักถามเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจในกรณีที่ผู้ฟังมีข้อสงสัย