ขั้นตอนการเขียนโครงการ มีดังนี้

1. สำรวจชุมชนและสังคม เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อน˚าข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการพัฒนา การแก้ปัญหา โดยการศึกษา สภาพ ปัญหา และสาเหตุของปัญหา เพื่อหาวิธีการคิดค้น วิธีการพัฒนาและ สาเหตุของปัญหา โดยใช้วิธีการสำรวจข้อมูลที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การศึกษาภูมิหลัง ของชุมชน การสัมภาษณ์ การสอบถาม การทำเวทีประชาคม ฯลฯ เป็นต้น

2. ตรวจสอบข้อมูล หลังจากที่มีการสำรวจข้อมูลชุมชนและนำข้อมูลมาสรุป

เรียบร้อยแล้ว เพื่อความถูกต้อง ชัดเจนของข้อมูลดังกล่าว ควรจัดให้มีเวทีเพื่อการตรวจสอบข้อมูล โดยกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลที่สำรวจมาได้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3. นำข้อมูลที่ได้หลังจากตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว มาวิเคราะห์ พร้อมจัดลำดับ

ความสำคัญ เพื่อจำแนกความสามรถในการจัดทำโครงการ

4. การกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาชุมชนและสังคม เมื่อผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สำรวจชุมชนและสังคม ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน และสังคม นำผลสรุปการวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและสังคมมากำหนดแนวทางการ ดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและสังคมว่ามีสภาพปัญหาเป็นอย่างไร มีความต้องการ อย่างไร แล้วจึงกำหนดแนวทางแก้ไขตามสภาพปัญหานั้น หรือเขียนแนวทางเพื่อสนอง ความต้องการของชุมชนและสังคมนั้น ๆ ควรเขียนในลักษณะของโครงการ เพื่อดำเนินการในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและสังคม ควรขอความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนา ได้เข้ามาร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน หรือร่วมกันเขียนโครงการด้วย

5. การเขียนและเสนอขออนุมัติโครงการ การเขียนโครงการ ผู้เขียนโครงการต้องนำข้อมูลจากการศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและสังคม และข้อมูลที่ได้จากการกำหนด แนวทางการดำเนินงานมาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการเขียนโครงการ ซึ่งการเขียนโครงการ ควรเขียนให้เป็นไปตามรูปแบบขององค์ประกอบการเขียนโครงการ (ดังตัวอย่าง)

ตัวอย่างโครงการ

1. ชื่อโครงการโครง การเพลินคิด จิตอาสา  ปลูกป่าชายเลน

2. หลักการและเหตุผล

ป่าชายเลน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและมีคุณประโยชน์อย่าง ใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลและต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา เพราะธรรมชาติ เป็นแหล่ง สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต ป่าชายเลนเป็นพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่นำ หรือ ปากอ่าวซึ่งเป็นบริเวณที่มีนำทะเลท่วมถึงในช่วงที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุดประกอบไปด้วยพันธ์ไม้ สกุลไม้โกงกาง เช่น โกงกาง แสม เป็นพืชที่มีรากที่หยั่งลึกแข็งแรงและแผ่บริเวณกว้างขวาง ลักษณะเช่นนี้ จะช่วยป้องกันลมพายุทางทะเล   ไม่ให้พัดทำลายที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ของประชาชนแถบชายทะเลและเป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำทะเล เราจึงเรียนรู้ที่จะเข้าใจธรรมชาติ อนุรักษ์ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี มีความตระหนักว่า ป่าชายเลนมีคุณประโยชน์ มากมาย ซึ่งนับวันจะลดปริมาณลงเรื่อย ๆ จนท˚าให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ซึ่งใช้ป่าชายเลน เป็นที่อยู่อาศัย และเพาะพันธ์สัตว์อ่อน จึงจัดทำโครงการ เพลินคิด จิตอาสา ปลูกป่าชายเลน เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความสามัคคี ให้เกิดขึ้นแก่ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี

3. วัตถุประสงค์

3.1  เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

3.2 เพื่อสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้น

3.3 เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประเภทป่าชายเลน

4. เป้าหมาย

4.1 เชิงปริมาณ

ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี จำนวน  30 - 60 คน

4.2 เชิงคุณภาพ

ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการ อนุรักษ์ป่าชายเลนและนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีจิตส˚านึกในการช่วยกันรักษาป่าชายเลน และช่วยฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์

5. วิธีดำเนินการ

5.1 ขออนุมัติโครงการฯ

5.2 ติดต่อประสานงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน อเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 2 ลุ่มน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

5.3 รับฟังบรรยายเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลนและการปลูกป่าชายเลนอย่างถูกวิธี

5.4 ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี ปลูกป่าชายเลน คนละ 10  ต้น

6. ระยะเวลาศึกษาโครงการ วันเสาร์ ที่ 28 กรกฎาคม 2561

7. สถานที่ดำเนินการ บริเวณป่าชายเลน ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

8. งบประมาณ ใช้เงินบริจาค จำนวน 3,000 บาท

9. ผู้รับผิดชอบ ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี

10. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

10.1 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

10.2 สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 2 ลุ่มน้ำเวฬุ อ˚าเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

11. การประเมินผล

11.1 การสังเกต

11.2 การสัมภาษณ์

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

12.1 ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี มีความสามัคคีในหมู่คณะและเห็นความสำคัญ ของป่าชายเลนมากขึ้น

12.2 ได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนเป็นอย่างดี ทรัพยากรจะมีความอุดมสมบูรณ์

12.3 ได้ความรู้และวิธีปลูกป่าชายเลนที่ถูกต้องและป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

 13. ผู้ประสานงานโครงการ

นางนันทิยา หากุหลาบ หัวหน้านายหมู่ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี 

โทร 089-7443982


ลงชื่อ                 ผู้เสนอโครงการ

(นางนันทิยา หากุหลาบ)

หัวหน้านายหมู่ลูกเสือ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี

 

    ลงชื่อ                             ที่ปรึกษาโครงการ

 (นายศรัณยพงศ์ ขัติยะนนท์)

         ครู กศน. ตำบล

                                   ผู้กำกับกองลูกเสือ

 

ลงชื่อ                   ผู้เห็นชอบโครงการ

(ว่าที่ร้อยโท เตชวัตร แก้วเกตุ)

ครูชำนาญการพิเศษ

             ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ

 

ลงชื่อ                                 ผู้อนุมัติโครงการ

         (นางอุบลรัตน์ ชุณหพันธ์)

                  ผู้อำนวยการศูนย์ กศน. อำเภอเมืองจันทบุรี