ลูกเสือ กศน. เป็นผู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ลูกเสือ กศน. ทุกคนพึงนำอุดมการณ์ คำปฏิญาณ กฎ และ คติพจน์ของลูกเสือ เป็นหลักในการพัฒนาตนเอง ให้เป็นพลเมืองดีในทัศนะของลูกเสือ และมี จิตอาสาให้ “บริการ” ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน สังคม และสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับองค์กร หรือหน่วยงานอื่น ๆ

การพัฒนาตนเอง ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. พัฒนาทางด้านความคิดเรื่องศาสนา ซึ่งมีวิธีการแตกต่างกันไปตามศาสนา ที่ตนนับถือ มุ่งเน้น ยึดมั่นในหลักการของศาสนา เพื่อให้บรรลุผลแห่งความจงรักภักดีต่อศาสนา

2. พัฒนาทางด้านความรู้สึกด้านค่านิยม มุ่งเน้นการเอาใจใส่ ระมัดระวังในการ เผชิญปัญหา สถานการณ์ปัจจุบันเป็นพิเศษ

3. พัฒนาทางด้านร่างกาย มุ่งเน้นการเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง

4. พัฒนาทางด้านสติปัญญา มุ่งเน้นการท˚างานอดิเรก การฝีมือ การรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

5. พัฒนาทางด้านสังคม มุ่งเน้นการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

6. พัฒนาทางด้านการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม มุ่งเน้นการท˚างานเป็นระบบหมู่ ในบทบาทของผู้น˚า และผู้ตาม

7. พัฒนาทางด้านความรับผิดชอบต่อชุมชน มุ่งเน้นความส˚าคัญของความ รับผิดชอบของตนเองที่มีต่อผู้อื่นด้วยการบำเพ็ญประโยชน์

8. พัฒนาทางด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นความสนใจในสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ธรรมชาติ

การพัฒนาชุมชน สังคม ในด้านต่าง ๆ เช่น

1. การเป็นพลเมืองดี และการใช้สิทธิเลือกตั้ง (ลูกเสือ กกต.)

2. การดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

3. การสร้างความตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด (ลูกเสือยาเสพติด)

4. การป้องกันและช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุ (ลูกเสือบรรเทาสาธารณภัย)

5. การช่วยอนวยความสะดวกด้านการจราจร (ลูกเสือจราจร)

6. การร่วมเฝ้าระวัง ป้องกัน ข้อมูลข่าวสารที่เป็นภัยออนไลน์ (ลูกเสือไซเบอร์)

7. การเสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยม ความซื่อสัตย์สุจริต (ลูกเสือช่อสะอาด)

8. การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ให้ความรู้สืบไป (ลูกเสือวัฒนธรรม)

9. การป้องกันการทารุณกรรมต่อสัตว์ (ลูกเสือสวัสดิภาพสัตว์)

10. การช่วยดูแล ป้องกันอนุรักษ์ป่าไม้ (ลูกเสือป่าไม้)

11. การสร้างความมีระเบียบวินัยต่อตนเอง รู้จักสามัคคีในหมู่คณะและส่วนรวม (ลูกเสือรัฐสภา)

12. การป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง ลดความเหลื่อมล้ำ (ลูกเสือสันติภาพ)

13. การสร้างโอกาสทางเลือกให้กับชีวิต (ลูกเสือสหรับผู้ด้อยโอกาส)

ลูกเสือ กศน. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว หรือคิดรูปแบบกิจกรรม/ โครงการขึ้นมาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ