เห็ด..สร้างรายได้ให้ชุมชน

มาทำความรู้จักเห็ดกัน..

เห็ด (Mushrooms) เป็นราชนิดหนึ่ง ที่ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) ไม่สามารสังเคราะห์แสงด้วยตัวเองได้เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เห็ดจึงเป็นราขนาดใหญ่ซึ่งมีการเจริญเติบโตเป็นเส้นใย เมื่อถึงระยะที่จะสืบพันธุ์เส้นใยจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนดอกเห็ด เพื่อสร้างสปอร์ไว้กระจายพันธุ์ต่อไป มีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเห็ดนั้น ๆ

ชุมชนหมู่บ้านหนองผำ และบ้านหัวขัว 

เห็ด..หลากหลาย..จากชุมชนสู่ผู้บริโภค

หมู่บ้านหนองผำ - หัวขัว ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ เชิงเขา เป็นชุมชนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง สภาพดินฟ้าอากาศของชุมชน นับว่าเหมาะกับการเจริญเติบโตของเห็ด ดังนั้นจึงมีเห็ดชุกชุมโดยเฉพาะในฤดูฝนตามภาคต่างๆ จะมีเห็ดขึ้นทั่วไป มีทั้งเห็ดชนิดที่รับประทานได้เเละที่รับประทานไม่ได้ สำหรับชุมชน รู้จักเลือกใช้เห็ดเป็นอาหารมานานเเล้วเช่นเดียวกัน ส่วนชนิดของเห็ดต่างๆ ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ก็มีทั้งที่รับประทานได้เเละไม่ได้ โดยเห็ดที่ขึ้นในฤดูฝนและสร้างรายได้ให้กับชุมชนมีดังนี้  


เห็ดแดง

เห็ดไข่เหลือง

เห็ดไข่ห่าน

เห็ดตับเต่า

เห็ดแดง

เห็ดแดง หรือเห็ดก่อแดงพบมากทางภาคเหนือ ตามป่าบนดอยสุเทพสามารถกินสดได้ เติบโตเป็นดอกเดี่ยวๆ แต่อยู่ใกล้กันเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก มักจะพบบริเวณที่มีต้นก่อ เห็ดแดงนำมาทำเมนูได้หลากหลาย มีรสออกหวานถ้านำไปผัดน้ำมันหอยจะกรอบอร่อย และถ้านำไปแกงก็จะนุ่มหอม 

ห็ดระโงก

เห็ดระโงกหรือเห็ดไข่ห่านมีหลายสี เช่น ขาวเหลือง ส้ม เป็นเห็ดป่าราคาแพง พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง

เห็ดระโงกมักขึ้นเป็นดอกเดี่ยวแต่อยู่ใกล้กันเป็นกลุ่ม 4-5 ดอก นิยมกินกันแพร่หลายในภาคเหนือและอีสาน นำไปปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดน้ำมันหอย นึ่งจิ้มแจ่ว หรือแกงใส่ใบมะขามอ่อน 

ห็ดตับเต่า

ทางเหนือเรียก เห็ดห้า เนื่องจากมักพบอยู่ใต้ต้นหว้า ส่วนทางอีสานเรียกว่า เห็ดผึ้ง หรือเห็ดเผิ่ง เพราะเมื่อนำไปทำอาหาร น้ำแกงมีสีคล้ายน้ำผึ้ง เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติในป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าสะแก และพบได้ตามสวนไม้ผล เช่น มะม่วง มะไฟ ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ และในบริเวณที่มีต้นทองหลาง กระถินเทพา แค และโสน 

แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ https://sciplanet.org/content/8846  

                     เพจ เฟสบุ๊ค บ้านและสวน Garden & Farm

ผู้เรียบเรียง นางรัตนา ปักกัง

ภาพถ่าย :  นางสาวกาญจนา   ยาแปง