เส้นทางของภูษา..บ้านหนองผำ.. 1

กระบวนการผลิตผ้าทอกะเหรี่ยง 

            ผ้าทอกะเหรี่ยง เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กระบวนการผลิต อาจแบ่งได้ 3 ขั้นตอนหลักคือ

 1) การปลูกฝ้าย และการเตรียมเส้นฝ้าย 

2) การย้อมสี ซึ่งจะเน้นการย้อมสีธรรมชาติจากวัตถุดิบในชุมชน 

3) การทอผ้าด้วยกี่เอวตามลวดลายที่เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาของชุมชน 

ที่อยู่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพ

กลุ่มผ้าทอกี่เอว "เด่าหนองผะดู"

ที่อยู่    หมู่ที่ 10  ต.ทุ่งหัวช้าง    
          อ.ทุ่งหัวช้าง  จ.ลำพูน 51160  

เบอร์โทรติดต่อ  091 6555 177 

การปลูกฝ้าย และเตรียมเส้นฝ้าย 

. ฝ้ายที่ใช้ในการทอผ้ากะเหรีี่ยง ได้มาจากฝ้ายที่ปลูกในชุมชน โดยทั่วไปช่วงเวลา การเก็บฝ้ายจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคม 

ขั้นตอนการทำเส้นฝ้าย สามารถแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้

 1) เก็บดอกฝ้าย แล้วจะนำมาตากผึ่งแดดให้แห้ง สนิท แล้วเก็บสิ่งสกปรกที่ที่เจือปน ออกจน หมด 

ดอกฝ้าย

การตากดอกฝ้าย

.2) นำไปแยกเมล็ดฝ้าย ออกจากปุยฝ้าย ด้วยวิธีการ นี้เรียกว่า “อิ้วฝ้าย”

3) นำปุยฝ้ายที่แยกจากเมล็ดไปดีด ให้ปุยฝ้ายแตกตัว ละเอียดฟูขึ้นด้วยแรงสั่นสะเทือนของสายดีด ซึ่ง เรียกว่า  “กงดีดฝ้าย” 

4) จากนั้นนำปุยฝ้ายที่ดีดจนเป็นปุยละเอียดดี แล้วไปล้อด้วย “ไม้ล้อ” โดยใช้ไม้ ล้อคลึงบนแผ่นปุยฝ้ายที่วางอยู่บน “กระดานล้อ” ให้เป็นแท่งกลมยาว แล้ว ดึงไม้ล้อออกแท่งกลมยาวที่ล้อเสร็จแล้ว เรียกว่า “ดิ้ว” 

5) หลังจากนั้นจึงนำไปเข็นฝ้ายให้เป็น เส้นใย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “หลา” ที่มีสายพานเชือกโยงจากหลา ไปปั่นหมุนแกนเหล็กไน เพื่อล้อฝ้าย ให้เป็นเส้นใยพันม้วนอยู่กับแกน เหล็กไน เมื่อเต็มเหล็กไนแล้ว จึงจัด ฝ้ายเข้า “ไม้ขาเปีย”เพื่อทำเป็นไจ หรือปอย โดยกะขนาดเอง หลังจาก นั้นจึงนำเส้นฝ้ายไปย้อมสีที่ต้องการ 

ผู้ให้ข้อมูล/ผู้เขียน

ผู้ให้ข้อมูล นางจันทร์  เตชะนา/https://www.sacit.or.th/th/detail/2023-08-22-16-09-54

ผู้เขียน  นางรัตนา  ปักกัง