ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญประเภทหนึ่ง ที่จัดหา รวบรวมสรรพวิชาการต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้น จากทั่วโลกมาจัดระบบ และให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ปัจจุบันมีคำอื่น ๆ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ในความหมายของคำว่า ห้องสมุด เช่น ห้องสมุด และศูนย์ สารสนเทศ สำนักบรรณาสารการพัฒนา สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารกับหอสมุด การบริการ เป็นต้น ห้องสมุดโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. หอสมุดแห่งชาติ

นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ดำเนินการโดยรัฐบาล ทำหนา้ที่หลักคือ รวบรวมหนังสือ สิ่งพิมพ์ และสื่อความรู้ ทุกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศ และ ทุกอย่างที่เกี่ยวกับประเทศ ไม่ว่าจะจัดพิมพ์ใน ประเทศใด ภาษาใด ทั้งนี้เป็นการอนุรักษสสื่อความรู้ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติมิให้สูญไป และให้ มีไวใช้ในอนาคต นอกจากรวบรวมสิ่งพิมพ์ในประเทศแล้ว ก็มีหน้าที่รวบรวมหนังสือที่มีคุณค่า ซึ่งพิมพ์ในประเทศอื่นไว้เพื่อการค้นคว้าอ้างอิง ตลอดจนทา หน้าที่ เป็นศูนย์รวบรวมบรรณานุกรมต่าง ๆ และจัดทา บรรณานุกรมแห่งชาติออกเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันว่ามีหนังสืออะไรบ้างที่ผลิตขึ้นในประเทศ หอสมุดแห่งชาติ จึงเป็นแหล่งให้บริการทางความรู้แก่คนทั้งประเทศ ช่วยเหลือการค้นคว้าวิจัยตอบคำถาม และให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับหนังสือ

2. ห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยรัฐ อาจจะ เป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น หรือเทศบาล แล้วแต่ระบบ การปกครอง ตามความหมายเดิม ห้องสมุดประชาชนเป็น ห้องสมุดที่ประชาชนต้องการให้มี ในชุมชนหรือเมืองที่เขาอาศัยอยู่ ประชาชนจะสนับสนุนโดยยินยอมให้รัฐบาลจ่ายเงิน รายได้จากภาษีต่าง ๆ ในการจัดตั้งและดำเนินการห้องสมุด ประเภทนี้ให้เป็นบริการของรัฐ จึงมิได้เรียกค่าตอบแทน เช่น ค่าบำรุง ห้องสมุด หรือค่าเช่าหนังสือ ทั้งนี้เพราะถือว่าประชาชนได้บำรุงแล้ว โดยการเสียภาษีรายได้ให้แก่ประเทศ หนา้ที่ของห้องสมุด ประชาชนก็คือ ให้บริการหนังสือและสื่ออื่น ๆ เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต บริการข่าวและ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประชาชนควรทราบ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ข่าวสาร ข้อมูลที่จ าเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านต่าง ๆ

3. ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย

เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ท าหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตาม หลกัสูตร โดยการจัดรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่น ๆ ในหมวดวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรช่วยเหลือใน การค้นคว้าวิจัยของอาจารย์และนกัศึกษา ส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาการของอาจารย์ และนักศึกษา และช่วยจัดทา บรรณานุกรมและดรรชนีสำหรับค้นหาเรื่องราวที่ต้องการแนะนำ นักศึกษาในการใช้หนังสืออ้างอิง บัตรรายการและคู่มือสำหรับการค้นเรื่อง

4. ห้องสมุดโรงเรียน

เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียน การสอนตามหลกัสูตร โดยการรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่น ๆ ตามรายวิชา แนะนา สอนการใช้ ห้องสมุดแก่ นกัเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน แนะน าให้รู้จักหนังสือที่ควรอ่าน ให้รู้จักวิธีศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ให้รู้จักรักและถนอมหนังสือ และเคารพสิทธิของผู้อื่นในการใช้ห้องสมุดและ ยืมหนังสือซึ่งเป็นสมบัติของทุกคน ร่วมกัน ร่วมมือกับครูอาจารย์ในการจัดชั่วโมงใช้ห้องสมุด จัดหนังสือ และสื่อการสอนอื่น ๆ ตามรายวิชาให้แก่ครูอาจารย์

5. ห้องสมุดเฉพาะ เป็นห้องสมุดซึ้งรวบรวมหนังสือในสาขาวิชาบางสาขาโดยเฉพาะ มักเป็นส่วนหนึ่งของ หน่วยราชการ องค์การ บริษัทเอกชน หรือธนาคาร ทำหน้าที่จดหาหนังสือและให้บริการความรู้ ขอ้มูล และ ข่าวสารเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ ห้องสมุดเฉพาะจะเน้น การรวบรวม รายงานการค้นคว้าวิจัยวารสารทางวิชาการ และเอกสารเฉพาะเรื่องที่ผลิตเพื่อการใช้ในกลุ่มนักวิชาการ

บริการของห้องสมุดเฉพาะ จัดพิมพ์ข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์เฉพาะเรื่องส่งให้ถึงผู้ใช้ จัดส่งเอกสารและเรื่อง ย่อของเอกสารเฉพาะเรื่องให้ถึงผู้ใช้ตามความสนใจเป็นรายบุคคล

ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ โดยเฉพาะวารสารทางวิชาการ รายงาน การวิจัย และรายงานการประชุมทางวิชาการมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากมาย แต่ละสาขาวิชา แยกย่อยเป็น รายละเอียดลึกซึ้ง จึงยากที่ห้องสมุดแห่งใดแห่งหนึ่งจะรวบรวมเอกสารเหล่านี้ได้หมดทุกอย่าง และ ให้บริการได้ทุกอย่างครบถ้วน จึงเกิดมีหน่วยงานดำเนินการเฉพาะเรื่อง เช่น รวบรวม หนังสือและสิ่งพิมพ์ อื่น ๆ เฉพาะสาขาวิชาย่อย วิเคราะห์เนื้อหา จัดทำเรื่องย่อ และดรรชนีค้นเรื่องนั้น ๆ แล้วพิมพ์ออกเผยแพร่ ให้ถึงตัวผู้ต้องการเรื่องราวข่าวสารและข้อมูล ตลอดจนเอกสารในเรื่องนั้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเภทนี้ จะมีชื่อเรียกว่า ศูนย์เอกสาร ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข่าวสาร หรือศูนย์สารนิเทศ เช่น ศูนย์เอกสารการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ ศูนย์ข่าวสารการประมง เป็นตน้ ศูนย์เหล่านี้บางศูนย์เป็นเอกเทศ บางศูนย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ห้องสมุด บางศูนย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของ หน่วยงานเช่นเดียวกับห้องสมุดเฉพาะ

ห้องสมุดประชาชน ในทีนี้จะกล่าวถึงห้องสมุดประชาชนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นห้องสมุดที่ให้บริการในทุกอา เภอ และใน กทม.บางเขต หรือให้บริการประชาชนทั่วไป และอยู่ในชุมชนใกล้ตัวนักศึกษามากที่สุด ห้องสมุดประชาชน หมายถึง สถานที่จดัหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการอ่าน และ การศึกษาค้นคว้าทุกชนิด ทุกประเภท มีการจัดระบบหมวดหมู่ตามหลักสากล เพื่อการบริการ และจดับริการ อย่างกว้างขวางแก่ประชาชนในชุมชน สังคม โดยไม่จำกัดเพศวัย ความรู้ เชื้อชาติ ศาสนา รวมทั้งการจัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยมีบรรณารักษ์เป็นผอู้า นวยความสะดวก ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ส านกังาน กศน. (ห้องสมุด ประชาชน ทั่วประเทศ) กรุงเทพมหานคร (ห้องสมุดประชาชนในเขต กทม.) เทศบาล (ห้องสมุด ประชาชนเทศบาล) เป็นต้น