ทักษะกระบวนการจัดการความรู้

ปัจจัยที่ทำให้การจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการประสบผลสำเร็จ

1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในกลุ่ม คนในกลุ่มต้องมีเจตคติที่ดีในการแบ่งปันความรู้ซึ่ง กันและกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ให้เกียรติกัน และเคารพความคิดเห็นของคนในกลุ่มทุกคน

2. ผู้นำกลุ่ม ต้องมองว่าคนทุกคนมีคุณค่า มีความรู้จากประสบการณ์ ผู้นำกลุ่มต้องเป็นต้นแบบ ในการแบ่งปันความรู้ กำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ในกลุ่มให้ชัดเจน หาวิธีการ ให้คนในกลุ่มนำเรื่องที่ตนรู้ออกมาเล่าสู่กันฟัง การให้เกียรติกับทุกคนจะทำให้ทุกคนกล้าแสดงออก ในทางสร้างสรรค์

3. เทคโนโลยี ความรู้ที่เกิดจากการรวมกลุ่มปฏิบัติการเพื่อถอดองค์ความรู้ ปัจจุบันมีการใช้ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการจัดเก็บ เผยแพร่ความรู้กันอย่างกว้างขวาง จัดเก็บในรูปของเอกสารใน เวบไซต์วีดิีโอ VCD หรือจดหมายข่าว เป็นต้น

4. การนำไปใช้ การติดตามประเมินผล จะช่วยให้ทราบว่า ความรู้ที่ได้จากการรวมกลุ่มปฏิบัติมี การนำไปใช้หรือไม่ การติดตามผลอาจใชวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ หรือถอดบทเรียนผู้เกี่ยวข้อง ประเมินผล จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกลุ่ม เช่นการเปลี่ยนแปลงทางดา้นความคิด ของคนในกลุ่ม พฤติกรรมของ คนในกลุ่ม ความสัมพันธ์ ความเป็นชุมชนที่รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้กันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการ พัฒนาด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลให้กลุ่มเจริญเติบโตขึ้นด้วย

กระบวนการจัดการความรู้ด้วยกลุ่มปฏิบัติการ มีข้นัตอนดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้ สำรวจปัญหา วิเคราะห์ปัญหาภายในกลุ่ม แยกปัญหาเป็นขอ้ ๆ เรียง ตามลำดับความสา คัญกำหนดความรู้ที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา ความรู้นั้นอาจอยู่ในรูปของเอกสาร หรืออยู่ที่ ตัวบุคคลผู้ที่เคยปฏิบัติในเรื่องนั้นและสำเร็จมาแล้ว

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เมื่อกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาแล้ว ทำการสำรวจและแสวงหาความรู้ที่ต้องการจากหลาย ๆ แหล่ง

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ นา ขอ้มูลที่ได้จากการแสวงหาความรู้ มาจดัให้เป็นระบบ เพื่อ แยกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และตัดสินใจในการนำไปใช้

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ในยุคที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีการนา เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการมากขึ้น ความรู้บางอย่างอาจล้าสมัย ใช้แก้ปัญหาไม่ได้ ในสมัยนี้ ต้องมีการประมวลและกลั่นกรองความรู้ก่อนนำมาใช้ ความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ มาแล้ว ถือเป็นความรู้ที่สำคัญเนื่องจากมีบทเรียนจากการปฏิบัติ และหากเป็นความรู้ตามที่เราต้องการก็ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกลุ่มได้

5. การเข้าถึงความรู้ สมาชิกในกลุ่มทุกคนควรจะเข้าถึงความรู้ได้ทุกคน เนื่องจากทุกคนมี ความสำคัญในการแก้ปัญหา พัฒนา รวมทั้งเป็นผู้สร้างพลังให้กับกลุ่ม การแก้ปัญหาไม่ได้ หมายความว่า ผู้นำกลุ่มคนเดียวสามารถแก้ปัญหาได้หมด ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ความรู้ที่จา เป็นในการ แก้ปัญหาหรือพัฒนากลุ่ม ต้องมีการจดัการให้ทุกคนสามารถเขา้ถึงความรู้ ได้ง่าย หากเป็นกลุ่มปฏิบัติการ

การเข้าถึงความรู้ได้ง่าย คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในตัวคน การศึกษาดูงานกลุ่มอื่น การศึกษาหาความรู้จาก เวบไซต์ หรือการน าเอกสารมาให้สมาชิกได้อ่าน

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ในสมองคนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติไม่สามารถ ถ่ายทอดออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ในรูปของเอกสาร หรือสื่ออื่น ๆ ที่จับต้องได้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมี ความสำคัญอย่างมากในการดึงความรู้ที่อยู่ในตัวคนออกมา เป็นการต่อยอด ความรู้ให้แก่กันและกัน การ แลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ร่วมกัน ทำได้หลายวิธี เช่นการประชุม สัมมนา การศึกษาดูงาน การเป็นพี่เลี้ยง สอนงาน หรือการรวมกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติเฉพาะเรื่องที่สนใจ

7. การเรียนรู้ สมาชิกในกลุ่มเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน การได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็ถือเป็นการ เรียนรู้ นั่นคือ เกิดความเข้าใจและมีแนวคิดในการนำไปปรับใช้ หากมีการนำไปใช้โดยการปฏิบัติจะส่งผล ให้ผู้ปฏิบัติเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะในระหว่างการปฏิบัติจะมีปัญหาเข้ามาให้ แก้ไขเป็นระยะ ๆ การทำไปแก้ปัญหาไป เป็นการเรียนรู้ที่ดี และเมื่อปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ อาจเป็นผลสำเร็จที่ไม่ใหญ่โต สำเร็จในขั้นที่หนึ่ง หรือขั้นที่สอง ก็ถือเป็นผลสำเร็จจาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ best practice ของผู้ปฏิบัตินั่นเอง

การสรุปองค์ความรู้และการจัดการท าสารสนเทศการจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ การรวมกลุ่มปฏิบัติการ ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง กลุ่มจะต้องมีการสรุปองค์ความรู้เพื่อจัดทา เป็นสารสนเทศ เผยแพร่ ความรู้ให้กับสมาชิกกลุ่ม และกลุ่มอื่น ๆ ที่สนใจในการเรียนรู้ และเมื่อมีการดา เนินการจดัหา หรือสร้าง ความรู้ใหม่จากการพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการก าหนดสิ่งสำคัญที่จะเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ และต้องพิจารณาถึง วิธีการในการเก็บรักษาและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความต้องการ ซึ่งกลุ่ม ต้องจัดเก็บองค์ความรู้ไว้ให้ ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารสนเทศ การวิจัย การพัฒนา โดยต้อง คำนึงถึงโครงสร้างและสถานที่หรือ ฐานของการจัดเก็บ ต้องสามารถค้นหาและส่งมอบให้อย่างถูกต้อง มีการจำแนกหมวดหมู่ของความรู้ไว้อย่าง ชัดเจน

การสรุปองค์ความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ การจัดการความรู้กลุ่มปฏิบัติการ เป็นการจัดการความรู้ของกลุ่มที่รวมตัวกัน มีจุดมุ่งหมายของ การท างานร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีกลุ่มปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า “ชุมชนนกัปฏิบัติ” เกิดขึ้นอย่าง มากมาย เช่น กลุ่มฮักเมืองน่าน กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเลี้ยงกบ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่ม สัจจะออมทรัพย์ หรือ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน กลุ่มเหล่านี้พร้อมที่จะเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน องค์ความรู้จึงเป็นความรู้และปัญญาที่แตกต่างกันไปตามสภาพและบริบทของชุมชน การสร้าง องค์ความรู้หรือชุดความรู้ของกลุ่มได้แล้ว จะทำให้สมาชิกกลุ่มมีองค์ความรู้หรือชุดความรู้ ไว้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น หรือกลุ่มอื่นอย่างภาคภูมิใจ เป็นการต่อยอดความรู้