การเขียนรายงานการวิจัยอย่างง่ายและการเผยแพร่ผลงานวิจัย

แนวทางการเขียนโครงร่างการวิจัยโดย

การวิจัย คือ กระบวนการค้นหาความรู้ ข้อเท็จจริง อย่างมีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความข้อมูล เพื่อแสวงหาคำตอบ สำหรับคำถามหรือประเด็นการศึกษาที่ตั้งไว้ ด้วยกระบวนการ อันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ นิยมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าวิธีนี้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้มากที่สุด

โดยทั่วไปก่อนที่นักวิจัยจะทำการวิจัย จะต้องมีการวางแผนงานเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) นอกจากจะทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัยแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาขออนุมัติทำวิจัย หรือขอทุนสำหรับทำวิจัยอีกด้วย เพื่อให้ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่า การวิจัยที่จะทำนั้นมีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ และประโยชน์ สมควรได้รับการอนุมัติให้ทำการวิจัยได้

สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนโครงร่างการวิจัยที่ดี ก็คือความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ที่จะการวิจัยว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไรและอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งหากผู้ที่ทำวิจัยไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็ยากที่จะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได้

การเขียนรายงานวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัย

รูปแบบของรายงานวิจัย

ขั้นตอนสุดท้ายของงานวิจัยคือ การเขียนรายงานและการนำเสนอ ผลงานวิจัย โดยการเผยแพร่งานในที่นี้ จะเสนอเป็นรูปของรายงานการวิจัย อันเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่นิยมทำกันมากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไป การเขียนรายงานการวิจัย ใดๆ ก็ตามจะประกอบด้วย

1. ส่วนนำเรื่อง

2. ส่วนเนื้อเรื่อง

3. ส่วนท้ายเรื่องหรืออ้างอิง

ส่วนนำเรื่อง ประกอบด้วย

1. ปกนอกและปกใน หรือหน้าที่มีรายชื่อเรื่อง รายชื่อผู้แต่ง

2. บทคัดย่อ หรือบทสรุปสำหรับผู้บริหาร

3. กิตติกรรมประกาศ

4. คำนำ

5. สารบัญ

6. สารบัญตาราง

7. สารบัญภาพ

8. คำย่อ

9. คำศัพท์

ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย

บทที่ 1 บทนำ

1. ปัญหาและความสำคัญ

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

3. ของเขตของการวิจัย

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

5. การนำเสนอรายงาน

บทที่ 2 การนำเสนอรายละเอียดของเรื่องที่ศึกษา

บทที่ 3 วรรณกรรมปริทัศน์

1. แนวคิด ทฤษฏี.................

2. งานวิจัยที่ทำมาแล้ว

บทที่ 4 วิธีการศึกษา

1. แนวคิด / กรอบแนวคิด

2. การวิเคราะห์ข้อมูล/แบบจำลอง

3. ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล

บทที่ 5 ผลการวิเคราะห์

บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ

1.สรุป

2. ข้อเสนอแนะ

- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

- ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษา

ส่วนท้ายเรื่อง หรือส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย

1. เอกสารอ้างอิง

2. ภาคผนวก

3. ดรรชนี

การเขียนบทคัดย่อ

มีไว้ในรายงานการวิจัย โดยจะอยู่ในหน้าสุดท้ายก่อนสารบัญ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการวิจัยเบื้องต้น ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดในส่วนของเนื้อหา ผู้วิจัยควรเขียนให้กระชับที่สุด แต่ให้ครอบคลุมงานวิจัย โดยมีข้อมูลครบถ้วน ให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของงานวิจัยที่ทำ

การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานการวิจัย

ผู้วิจัย สามารถทำการเผยแพร่ผลงานโดยเขียนเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ เสนอใสวารสารต่าง ๆ หรือเสนอในที่ประชุมทางวิชาการ หรือเป็นบทความที่มาจากงานที่ทำ หรือบทความที่ตีพิมพ์ตามเวลาที่มีผลงานออกมา ซึ่งเป็นการกำหนดของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อชี้แจงให้เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของหน่วยงานนั้นผลิตผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ

บรรณานุกรม