ความหมาย ความสำคัญ หลักการ
เรื่องที่ 1 : แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ความหมายของการจัดการความรู้ การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการในการเขา้ถึงความรู้ และการถ่ายทอด ความรู้ที่ ตอ้งดา เนินการร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเริ่มต้นจากการบ่งชี้ความรู้ที่ต้องการใช้การสร้าง และแสวงหา ความรู้ การประมวลเพื่อกลั่นกรองความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การสร้างช่องทางเพื่อการสื่อสาร กับผู้เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดการสมัยใหม่กระบวนการทางปัญญา เป็นสิ่งสำคัญในการคิด ตัดสินใจ และส่งผลให้เกิดการกระท า การจดัการจึงเนน้ไปที่การปฏิบัต ิความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่ควบคู่กับการปฏิบัติ ซ่ึงในการปฏิบัติการ เป็น ต้องใช้ความรู้ ที่หลากหลายสาขาวชิามาเชื่อมโยงบูรณาการเพื่อการคิดและตดัสินใจ และลงมือปฏิบัติ จุดก าเนิดของความรู้ คือสมองของคน เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในสมอง ชี้แจงออกมาเป็นถ้อยค าหรือ ตวัอกัษรไดย้าก ความรู้นั้นเมื่อ นำไปใช้จะไม่หมดไป แต่จะยิ่งเกิดความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นอยู่ในสมองของผู้ปฏิบัติ ในยุคแรก ๆ มองว่า ความรู้ หรือทุนทางปัญญา มาจากการจัดกระบวนการตีความ สารสนเทศ ซึ่ง สารสนเทศก็มาจากการประมวลข้อมูล ขั้นของการเรียนรู้ เปรียบดังปิรามิดตามรูป แบบนี้
การจัดการความรู้ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง การจัดการกับความรู้และ ประสบการณ์ที่ มีอยู่ในตัวคนและความรู้เด่นชัด นำมาแบ่งปันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว ด้วยการผสมผสาน ความสามารถของคนเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม มีเป้าหมายเพื่อการพฒันางาน พฒันาคน และพํฒนาองค์กร ใหเ้ป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในปัจจุบํนและในอนาคต โลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งความรู้กลายเป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคน ทำ ให้คนจำเป็นต้องสามารถแสวงหาความรู้ พฒันาและสร้างองค์กรความรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำพาตนเองสู่ความสำเร็จ และนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้า และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ คนทุกคนมีการจดัการความรู้ในตนเอง แต่ยังไม่เป็นระบบ การจัดการความรู้เกิดขึ้นได้ใน ครอบครัวที่มีการเรียนรู้ตามอัธยาศัยพ่อแม่สอนลูก ปู่ย่า ตายาย ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญา ให้แก่ ลูกหลานในครอบครัว ทำกันมาหลายชั่วอายุคน โดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่นพูดคุย สั่งสอน จดจำ ไม่มี กระบวนการที่เป็นระบบแต่อย่างใด วิธีการดังกล่าวถือเป็นการจัดการความรู้รูปแบบหนึ่ง แต่อย่างใดก็ตาม โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ การใชว้ิธีการจัดการ ความรู้แบบธรรมชาติ อาจก้าวตามโลกไม่ทัน จึงจำ เป็นตอ้งมีกระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถท าให้บุคคลได้ ใชค้วามรู้ตามที่ตอ้งการไดท้นัเวลา ซ่ึงเป็นกระบวนการพฒันาคนให้มีศกัยภาพ โดยการสร้างและใชค้วามรู้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม การจดัการ ความรู้หากไม่ปฏิบัติจะไม่เข้าใจเรื่องการจัดการ ความรู้ นั่นคือ “ไม่ทำ ไม่รู้” การจัดการความรู้จึงเป็นกิจกรรมของนักปฏิบัติ กระบวนการจดัการความรู้จึงมี ลักษณะเป็นวงจรเรียนรู้ที่ต่อเนื่องสมำ่เสมอ เป้าหมายคือ การพัฒนางานและพฒันาคน การจดัการความรู้ที่แทจ้ริง เป็นการจัดการความรู้โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เป็นการดำเนินกิจกรรม ร่วมกันในกลุ่มผู้ทำงาน เพื่อช่วยกันดึง “ความรู้ในคน” และคว้าความรู้ภายนอกมาใชใ้นการทำ งาน ทำ ให้ ได้รับความรู้มากขึ้น ซ่ึงถือเป็นการยกระดับความรู้และนำความรู้ที่ไดร้ับการยกระดบัไปใช้ในการทำ งาน เป็นวงจรต่อเนื่องไม่จบสิ้น การจัดการความรู้จึงต้องร่วมมือกันทำหลายคน ความคิดเห็นที่แตกต่างในแต่ละ บุคคลจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ด้วยการใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปณิธานมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ ประสบผลสำเร็จดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อดำเนินการจัดการความรู้แล้วจะเกิดนวัตกรรมในการทำงาน นั่นคือ การต่อ ยอดความรู้ และมีองคค์วามรู้เฉพาะเพื่อใชใ้นการปฏิบตัิงานของตนเอง การจัดการความรู้มิใช่การเอาความรู้ ที่มีอยู่ในตาราหรือจากผู้ที่เชี่ยวชาญมากองรวมกัน และจัดหมวดหมู่ เผยแพร่ แต่เป็นการดึงเอาความรู้เฉพาะ ส่วนที่ใช้ในงานมาจัดการให้เกิดประโยชน์กับตนเอง กลุ่ม หรือชุมชน
“การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ นำผลจากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เสริมพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการชื่นชม ทำ ให้เป็นกระบวนการแห่งความสุข ความภูมิใจ และการ เคารพเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน ทักษะเหล่านีน้า ไปสู่การสร้างนิสัยคิดบวกทาบวก มองโลก ในแง่ดี และ สร้างวฒันธรรมในองค์กรที่ผ้คูนสัมพันธ์กันด้วยเรื่องราวดี ๆ ด้วยการแบ่งปันความรู้ และ แลกเปลี่ยนความรู้ จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยที่กิจกรรมเหล่านีส้อดคล้องแทรกอย่ใูนการทำงานประจำ ทุกเรื่อง ทุก เวลา”