ทักษะการเขาถึงสารสนเทศของห้องสมุดประชาชน


ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ช่วยลดขั้นตอนการหาข้อมูลของห้องสมุดประชาชน ผู้เรียน สามารถค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ตว่ามีห้องสมุดประชาชนที่ใดบ้าง สถานที่ตั้ง เวลาเปิด - ปิด หมายเลข โทรศัพท์ กิจกรรมที่ให้บริการ ช่วยให้ผู้ใช้สะดวกและสามารถเข้าถึงห้องสมุดได้ง่าย ห้องสมุดทุกประเภททุกชนิดจะมีการจดัระบบหมวดหมู่ของสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิ่งที่ต้องการสนใจได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสะดวกในการบริหารจดัการห้องสมุด เพื่อการบริการกลุ่มเป้าหมายในระยะยาว ระบบหมวดหมู่ที่ห้องสมุดน ามาใช้จะเป็นระบบสากลที่ทั่วโลกใช้ และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงได้ง่าย ระบบที่นิยมใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ มี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบทศนิยม ของดิวอี้ ซึ่งใช้ ตัวเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์ แทนหมวดหมู่สารสนเทศ นิยมใช้ในห้องสมุดประชาชน กับอีกระบบหนึ่ง ได้แก่ ระบบรัฐสภาอเมริกัน ใช้อักษรโรมนั (A - Z) เป็นสัญลกัษณ์ นิยมใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ระบบทศนิยมของ ดิวอี้ แบ่งความรู้ในโลกออกเป็นหมวดหมู่จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดย่อย จาก หมวดย่อยแบ่งเป็นหมู่ย่อย และหมู่ย่อยๆ โดยใช้เลขอารบิก 0 - 9 เป็นสัญลักษณ์ ดังนี้ 000 สารวิทยาความรู้เบ็ดเตล็ดทั่วไป 100 ปรัชญาและวิชาที่เกี่ยวข้อง 200 ศาสนา 300 สังคมศาสตร์ 400 ภาษาศาสตร์ 500 วิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์) 600 เทคโนโลยี (วิทยาศาสตร์ประยุกต์) 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง 800 วรรณคดี 900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

ระบบรัฐสภาอเมริกา (Library of Congress Classification) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งปรับปรุง และ พัฒนาโดย เฮอร์เบิร์ด (Herbirt Putnum) เมื่อปี พ.ศ. 2445 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งหมวดหมู่วิชาออกเป็น 20 หมวด ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ A - Z ยกเว้นตัวอักษร I, O, W, X, Y เพื่อสำหรับการขยายหมวดหมู่วิชาการใหม่ ๆ ในอนาคต ตารางการแบ่งหมวดหมู่หนังสือระบบหอสมุดอเมริกัน แบ่งหมวดหมู่วิชาการเป็น 20 หมวดใหญ่ ดังนี้

1. หมวด A : ความรู้ทั่วไป 2. หมวด B : ปรัชญา ศาสนา 3. หมวด C : ประวตัิศาสตร์

4. หมวด D : ประวัติศาสตร์สากล 5. หมวด E-F : ประวัติศาสตร์อเมริกา 6. หมวด G : ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา คติชนวิทยา 7. หมวด H : สังคมศาสตร์ 8. หมวด J : รัฐศาสตร์ 9. หมวด K : กฎหมาย 10. หมวด L : การศึกษา 11. หมวด M : ดนตรี 12. หมวด N : ศิลปกรรม 13. หมวด P : ภาษาและวรรณคดี 14. หมวด Q : วิทยาศาสตร์ 15. หมวด R : แพทยศาสตร์ 16. หมวด S : เกษตรศาสตร์ 17. หมวด T : เทคโนโลยี 18. หมวด U : วิชาการทหาร 19. หมวด V : นาวิกศาสตร์ 20. หมวด Z : บรรณารักษศาสตร์

สำหรับห้องสมุดประชาชนซึ่งผู้ใช้บริการเป็นประชาชนทั่วไป การจัดหมวดหมู่หนังสือ นอกจาก ระบบดังกล่าวแล้ว ยังมีชื่อหมวดหนังสือและสื่อเพื่อเพิ่มความสะดวกในการค้นหา เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กีฬา นนัทนาการ เป็นต้น

การเข้าถึงสารสนเทศห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประชาชนมีหลากหลายสังกัด เช่น สังกัดสำนักงาน กศน. สังกัดกรุงเทพมหานคร สังกัด เทศบาล การจดัระบบการสืบค้นห้องสมุดประชาชนได้อำนวยความสะดวกในการสืบคน้สาร สนเทศ ดังนี้

1. การใช้โปรแกรมเพื่อการสืบค้นในยุคปัจจุบันสำนกังาน กศน. ได้พัฒนาโปรแกรม เพื่อ บริหารจัดการงานห้องสมุดให้ครบวงจร เช่น ข้อมูลหนังสือ สื่อ ข้อมูล สมาชิก ข้อมูลอื่น ๆ ดังนั้น หากผู้ใช้บริการต้องการรู้ว่ามีหนังสือหรือสื่อที่ต้องการในห้องสมุดแห่งนั้นหรือไม่ ก็สามารถค้นหาได้ด้วย โปรแกรมดังกล่าว ซึ่งห้องสมุดจะมีคอมพิวเตอร์ให้สืบค้นได้ด้วยตนเอง โดยพิมพ์ค าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ เช่น ประวัติศาสตร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การศึกษา โลกร้อน ฯลฯ ส่วนรายละเอียดวิธีการใช้โปรแกรม สามารถศึกษาได้จากห้องสมุดประชาชนแห่งนั้น

2. การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้วยบัตรรายการ ห้องสมุดประชาชนบางแห่งอาจยังจัดบริการสืบค้นด้วยบัตรรายการ ซึ่งมีลักษณะเป็นบัตร แข็ง เก็บไว้ในลิ้นชักรายการ

ตัวอย่างลักษณะของตัวรายการ

ตัวรายการหนังสือที่ปรากฏข้างบน จะมีชื่อผู้แต่งอยู่บรรทัดบนสุด มีชื่อเรียกว่า บัตรผู้แต่ง กิจกรรม ให้ครู กศน. รวมกลุ่มผู้เรียน แบ่งเป็นกลุ่มละประมาณ 10 คน ไปห้อง สมุดประชาชน โดย ประสานงานกับบรรณารักษ์ให้แนะนา ห้องสมดุ การใช้ห้องสมดุแหล่งสารสนเทศ และให้ผู้เูรียนแข่งขันการ หาหนังสือจากโปรแกรมห้องสมุด หรือจากตู้บัตรรายการ ให้ผู้แข่งขันหยิบหนังสือตาม รายการที่ค้นให้ได้ จากชั้นหนังสืออย่างรวดเร็ว และให้แต่ละกลุ่มจัดทำรายงานส่งครู

636.53 วรวทิย์วณิชาภิชาติว 2812 ไข่และการฟักไข่ วรวิทย์ วณิชาภิชาติ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ รั้วเขียว 2531. 240 หนา้ ภาพประกอบ : 25 ซ.ม. “หนังสือนี้ได้รับทุนอุดหนุนการแต่งต าราและเอกสาร การสอนของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวฺทยาลัยสงขลา นครินทร์” ISBN 974-605-041-9 1. ไข่

2. ชื่อเรื่อง เลขเรียกหนังสือ

จังหวัด/ เมืองที่พิมพ์

จำนวนหน้ำ ของหนังสือ

เรื่อง/หัวเรื่อง

ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนงัสือ

สำนักพิมพ์/ โรงพิมพ์

ปีที่พิมพ์

เรื่องที่ 4 : การใช้แหล่งเรียนรู้สำคัญๆ ภายในประเทศ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ในโอกาสมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา เมื่อปีพุทธศกัราช 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานพระราชานุญาติ ให้ดา เนิน โครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อสนอง แนวทาง พระราชดำริในการส่งเสริมการศึกษาสำหรับประชาชนที่ได้ทรงแสดงในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในโอกาสที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเป็นองค์ประธานในการประชุมสัมชชาสากล ว่าด้วย การศึกษาผู้ใหญ่ เมื่อวนัที่ 12 มกราคม 2533 ได้ทรงพระราชทานลายพระหัตฤทัยชวนให้ “ร่วมกันทำให้ชาวโลกอ่านออกเขียนได้” และในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ห้องสมุดในทศันะของข้าพเจ้า” ได้ทรงกล่าวว่า “...ความรู้ของมนุษย์เป็นมรดกที่ตกทอดกันมาแต่โบราณ เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอักษรขึ้น ความรู้ก็ได้บันทึกความรู้ของตน สิ่งที่ตนค้นพบเป็นการจารึก หรือเป็นหนังสือทา ให้บุคคลอื่น กลุ่มเดียวกัน หรืออนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาทราบถึงเรื่องนั้น ๆ และได้ใช้ความรู้เก่า ๆ เป็นพื้นฐาน ที่จะหา ประสบการณ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความก้าวหน้าเป็นความเจริญสืบต่อไป... ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บเอกสารต่าง ๆ อันเป็นแหล่งความรู้ดังกล่าว แล้วจึงเรียกได้ว่า เป็นครู เป็นผู้ชี้นำให้เรามีปัญญาวิเคราะห์วิจารณ์ให้รู้สิ่งควรรู้อันชอบด้วยเหตุผลได้ ข้าพเจ้าอยากให้เรามีห้องสมุดที่ดี มีหนังสือครบทุกประเภทสา หรับประชาชน...” ด้วยความจงรักภักดีและความมุ่งมั่นศรัทธาที่จะร่วมสนองแนวทางพระราชดำริในการส่งเสริม โอกาสทางการศึกษา ภายในปี 2533 และ 2534 ได้มีประชาชนในแต่ละพื้นที่ หน่วยงาน ภาครัฐและ ภาคเอกชนให้ความสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จา นวน 59 แห่ง ในพื้นที่ 47 จังหวัด เกินเป้าหมายที่ก าหนดไว้เดิม 37 แห่ง และนับเนื่องจากนั้น ยงัมีขอ้เสนอจากจังหวัดต่างๆ ขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมจวบจนปัจจุบันมีห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จา นวน 82 แห่ง (ขอ้มูลจากสถาบันพัฒนาวตักรรมการเรียนรู้ สา นักงาน กศน. พฤศจิกายน 2553)