กระบวนการจัดการความรู้ การรวมกลุ่มเพื่อต่อยอดความรู้และการจัดทำสารสนเทศ

เรื่องที่ 2 : รูปแบบและกระบวนการในการจัดการความรู้

1. รูปแบบการจัดการความรู้ การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ หรือที่เรียกกันว่า “โมเดล” มีหลากหลายโมเดล หวัใจ ของ การจดัการความรู้ คือ การจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวคนในฐานะผู้ปฏิบัติและเป็นผู้มีความรู้ การจดัการความรู้ ที่ท าให้คนเคารพในศักดิ์ศรีของคนอื่น การจัดการความรู้นอกจากการจัดการความรู้ในตนเองเพื่อให้เกิด การพัฒนางานและพัฒนาตนเองแล้วยังมองรวมถึงการจัดการความรู้ในกลุ่มหรือ องคก์รด้วยรูปแบบการ จัดการความรู้จึงอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในตัวคน ดร.ประพนธ์ ผาสุกยึด ได้คัดคนรูปแบบการจดัการความรู้ไว้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบ ปลาทูหรือที่ เรียกว่า “โมเดลปลาทู” และรูปแบบปลาตะเพียน หรือที่เรียกว่า “โมเดลปลาตะเพียน” แสดงให้เห็นถึง รูปแบบการจัดการความรู้ในภาพรวมของการจัดการที่ครอบคลุมทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง และความรู้ที่ฝังลึก ดังนี้

โมเดลปลาทู เพื่อให้การจดัการความรู้ หรือ KM เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย จึงหนดให้การจัดการความรู เปรียบ เหมือนกับปลาทูตัวหนึ่ง มีสิ่งที่ต้องด าเนินการจัดการความรู้อยู่ 3 ส่วน โดยกำหนดว่า ส่วนหัว คือการ กำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่ชัดเจน ส่วนตัวปลาคือการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกัน และกัน และ ส่วนหางปลาคือ ความรู้ที่ไดร้ับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ส่วนที่ 1 “หวัปลา” หมายถึง “Knowledge Vision” KV คือ เป้าหลายของการจดัการความรู้ ผใู้ช้ ต้องรู้ว่าจะจัดการความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายอะไร เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างใด เช่น จัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน จดัการความรู้เพื่อพฒันา ทกัษะชีวติดา้นยาเสพติด จัดการความรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม จดัการความรู้เพื่อพฒันาทกัษะ ชีวิตดา้นชีวิตและทรัพย์สิน จัดการความรู้เพื่อฟื้นฟูขนบธรรมเนียม ประเพณี ดั้งเดิมของคนในชุมชน เป็นต้น ส่วนที่ 2 “ตัวปลา” หมายถึง “Knowledge Sharing” หรือ KS เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการ แบ่งปันความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนผู้ปฏิบัติ เนน้การแลกเปลี่ยนวิธีการทำ งานที่ประสบผลสำเร็จ ไม่เน้นที่ปัญหา เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีหลากหลายแบบ อาทิ การเล่าเรื่อง การสนทนาเชิงลึก การชื่นชมหรือการ สนทนาเชิงบวก เพื่อนช่วยเพื่อน การทบทวนการปฏิบตัิงาน การถอดบทเรียน การถอดองคค์วามรู้ ส่วนที่ 3 “หางปลา” หมายถึง “Knowledge Assets” หรือ KA เป็นขุมความรู้ที่ไดจ้ากการ แลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือในการจดัเก็บความรู้ที่มีชีวิตไม่หยุดนิ่ง คือ นอกจากจัดเก็บความรู้ แล้วยังง่าย ในการนา ความรู้ออกมาใชจ้ริง ง่ายในการน าความรู้ออกมาต่อยอด และง่ายในการปรับข้อมูลไม่ให้ล้าสมัย ส่วนนี้จึงไม่ใช่ส่วนที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลไว้เฉย ๆ ไม่ใช่ห้องสมุดส าหรับเก็บสะสม ขอ้มูลที่นา ไปใช้จริง ได้ยาก ดังนั้น เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ จึงเป็นเครื่องมือจัดเก็บความรู้อันทรงพลังยิ่งใน กระบวนการจดัการความรู้

จากโมเดล “ปลาทู” ตัวเดียวมาสู่โมเดล “ปลาตะเพียน” ที่เป็นฝงู โดยเปรียบแม่ปลา “ปลาตัวใหญ่” ได้กับ วิสัยทศัน์ พันธกิจ ขององค์กรใหญ่ ในขณะที่ปลาตวัเล็กหลาย ๆ ตวั เปรียบได้กับเป้าหมายของการจัดการ ความรู้ที่ต้องไปตอบสนองเป้าหมายใหญ่ขององค์กร จึงเป็นปลาทั้งฝูงเหมือน “โมบายปลาตะเพียน” ของ เล่นเด็กไทยสมัยโบราณที่ผู้ใหญ่สานเอาไว้แขวนเหนือเปลเด็ก เป็นฝูงปลาที่หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน และมีความเพียรพยายามที่จะว่ายไปในกระแสน ้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปลาใหญ่อาจเปรียบเหมือนการพัฒนาอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนซึ้ง การพัฒนาอาชีพดังกล่าว ต้องมีการแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกันไปทั้งระบบเกิดกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นในชุมชนเพื่อ การเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งการทำบัญชีครัวเรือน การทำเกษตรอินทรีย์ การทา ปุ๋ยหมัก การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ

หากการแก้ปัญหาที่ปลาตัวเล็กประสบผลสำเร็จ จะส่งผลให้ปลาใหญ่หรือ เป้าหมายในระดบัชุมชนประสบ ผลสำเร็จด้วยเช่น นั่นคือ ปลาว่ายไปข้างหน้าอย่างพร้อมเพรียงกัน ที่สำ คัญ ปลาแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน เพราะการจัดการความรู้ของ แต่ ละเรื่อง มีสภาพของความยากง่ายในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน รูปแบบของการจัดการความรู้ของแต่ละ หน่วยย่อยจึงสามารถสร้างสรรค์ ปรับให้เข้ากับแต่ละที่ได้อย่างเหมาะสม ปลาบางตัวอาจมีท้องใหญ่ เพราะ อาจมีส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาก บางตัวอาจเป็นปลาที่หางใหญ่ เด่นในเรื่องของการจัดระบบคลัง ความรู้เพื่อใชใ้นการปฏิบัติมา แต่ทุกตัวต้องมีหัวและตาที่มองเห็น เป้าหมายที่จะไป

2. กระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการจดัการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าถึงขั้นตอน ที่ทา ให้ เกิดการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่า เป้าหมายการทา งานของเราคืออะไร และเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายเราจา ตอ้งรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไร อยู่ในรูปแบบใด อยู่กับใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการจดับรรยากาศและวฒันธรรมการทา งานของคนใน องค์กรเพื่อเอื้อให้คนมีความกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้าง ความรู้ใหม่เพื่อใช้ในการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 3. การจดัการความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการจัดทำสารบัญและจัดเก็บความรู้ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การเก็บรวบรวมและการค้นหาความรู้ น ามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปเอกสาร หรือ รูปแบบ อื่น ๆ ที่มีมาตรฐาน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและใช้ได้ง่าย

5. การเขา้ถึงความรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและ สะดวก เช่น ใชเ้ทคโนโลยี เวบ็บอร์ด หรือบอร์ดประชาสัมพนัธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทา ให้หลายวิธีการ หากเป็นความรู้เด่นชัด อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากเป็นความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัวคน อาจจดัทำเป็นระบบ แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมข้ามสายงาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ พี่เลี้ยงสอนงาน การสับเปลี่ยนงาน การยืมตวั เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น 7. การเรียนรู้ การเรียนรู้ของบุคคลจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งจะไปเพิ่มพูน องค์ ความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ความรู้เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ๆ เป็นวงจร ที่ไม่สิ้นสุด เรียกว่าเป็น “วงจรแห่งการเรียนรู้

ตัวอย่างของการะบวนการจัดการความรู้ “วิสาหกิจชุมชน” บ้านทุ่งรวงทอง

1. การบ่งชี้ความรู้ หมู่บ้านทุ่งรวงทองเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในอำเภอจุน จงัหวดัพะเยา จากการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ ไปส่งเสริมให้เกิดกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นในชุมชน และเห็นความสำคัญของการรวมตัวกัน เพื่อเกื้อกูล คนในชุมชน ให้มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีเป้าหมายจะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน จึงต้องมีการบ่งชี้ ความรู้ที่จำเป็นที่จะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน นั่นคือ หาขอ้มูลชุมชนในประเทศไทยมีลกัษณะ เป็นวิสาหกิจชุมชน และเมื่อศึกษาข้อมูลแล้วท าให้รู้ว่าความรู้เรื่องวิสาหกิจ ชุมชนอยู่ที่ไหน นั่นคือ อยู่ที่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่มาส่งเสริม และอยู่ในชุมชนที่มีการทำวิสาหกิจชุมชนแล้วประสบผลสำเร็จ

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ จากการศึกษาหาข้อมูลแล้วว่า หมู่บ้านที่ทำเรื่องวิสาหกิจชุมชนประสบผลสำเร็จอยู่ที่ไหน ได้ ประสานหน่วยงานราชการ และจัดทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมการในการไปศึกษาดูงาน เมื่อไปศึกษา ดูงานไดแ้ลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น เข้าใจรูปแบบ กระบวนการ ของการทำวิสาหกิจ ชุมชน และแยกกันเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม เพื่อน าความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการทำวิสาหกิจชุมชนในหมู่บ้าน ของตนเอง เมื่อกลับมาแล้ว มีการทำเวทีหลายครั้ง ทั้งเวทีใหญ่ที่คนทั้งหมู่บ้านและหน่วยงานหลาย หน่วยงานมาให้ค าปรึกษาชุมชนร่วมกันคิด วางแผน และตดัสินใจ รวมทั้งมีเวทีย่อยเฉพาะกลุ่ม จากการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเวทีชาวบ้านหลายครั้ง ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในหลายด้าน เช่น ความสัมพนัธ์ของ คนในชุมชน การมีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การทำหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นความรู้ใหม่ของคนในชุมชน ชาวบ้านได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีส่วนราชการและ องค์กรเอกชนต่าง ๆ ร่วมกันหนุนเสริมการท างานอย่างบูรณาการ และจากการถอดบทเรียนหลายครั้ง ชาวบ้านมีความรู้เพิ่มมาก ขึ้นและบันทึกความรู้อย่างเป็นระบบนั่นคือ มีความรู้เฉพาะกลุ่ม ส่วนใหญ่จะบันทึกในรูปเอกสาร และมีการ ทำวิจัยจากบุคคลภายนอก

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ มีการจดัทำข้อมูล ซึ่งมาจากการถอดบทเรียน และการจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่เฉพาะกลุ่ม เป็น แหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา กศน. และนกัเรียนในระบบโรงเรียน รวมทั้งมีนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทา เป็นหลักสูตรท้องถิ่นของ กศน. อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

5. การเข้าถึงความรู้ นอกจากการมีขอ้มูลในชุมชนแล้วหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล ไดจ้ดทำข้อมูลเพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ได้ง่าย ได้นำข้อมูลใส่อินเตอร์เน็ต และในแต่ละตำบลจะมี อินเตอร์เน็ตตำบล ให้บริการ ทำให้คนภายนอกเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และมีการเข้าถึงความรู้จากการ แลกเปลี่ยนเรียนร่วมกันจาก การมาศึกษาดูงานของคนภายนอก

6. การแบ่งปันแลกเปลยี่นความรู้ ในการดำเนินงานกลุ่ม ชุมชน ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหลายรูปแบบ ทั้งการไปศึกษาดูงาน การศึกษาเป็นการส่วนตัว การรวมกลุ่มในลักษณะชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ที่แลกเปลี่ยน เรียนร่วมกันทั้งเป็น ทางการและไม่เป็นทางการ ท าให้กลุ่มได้รับความรู้มากขึ้น และบางกลุ่มเจอปัญหาอุปสรรคโดยเฉพาะเรื่อง การบริหารจัดการกลุ่ม ทำให้กลุ่มต้องมาทบทวนร่วมกันใหม่ สร้างความเข้าใจร่วมกัน และเรียนรู้เรื่องการ บริหารจัดการจากกลุ่มอื่นเพิ่มเติม ทำให้กลุ่มสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ล่มสลาย

7. การเรียนรู้ กลุ่มได้เรียนรู้หลายอย่างจากการดำเนินการวิสาหกิจชุมชน การที่กลุ่มมีการพัฒนาขึ้น นั่นแสดงว่า กลุ่มมีความรู้มากขึ้นจากการลงมือปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การพฒันา นอกจากความรู้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดบัความรู้ของคนในชุมชนแล้วยังเป็นการพัฒนาความคิด ของคนในชุมชน ชุมชนมี ความคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีการท ากิจกรรมเพื่อเรียนรู้ร่วมกันบ่อยขึ้น มีความคิดในการพึ่งพาตนเอง และ เกิดกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน