เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสําคัญ และกระบวนการของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ในปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นเป็น อันมาก การเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาไม่อาจท าให้บุคคลศึกษาความรู้ได้ครบทั้งหมด การไขว่คว้าหา ความรู้ดว้ยตนเอง จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสนองความต้องการของบุคคลได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่บุคคลมีใจ รักที่จะศึกษา ค้นคว้า สิ่งที่ตนต้องการจะรู้ บุคคลนั้นก็จะด าเนินการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ตอ้ง มีใครบอก ประกอบกับระบบการศึกษาและปรัชญาการศึกษาเพื่อเตรียมคนให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แสวงหาความรู้ดว้ยตนเอง ใฝ่หาความรู้ รู้แหล่งทรัพยากรการเรียน รู้วิธีการหาความรู้ มีความสามารถ ในการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีนิสัยในการทำงานและการดา รงชีวิต และมีส่วนร่วมในการ ปกครองประเทศ

การเรียนรู้ในสาระทักษะการเรียนรู้ เป็นสาระเกี่ยวกับรายวิชาการเรียนรู้ด้วยตนเอง รายวิชาการใช้ แหล่งเรียนรู้ รายวิชาการจัดการความรู้ รายวิชาการคิดเป็น และรายวิชาการวิจัยอย่างง่าย ในส่วนของรายวิชา การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ในดา้นการเรียนรู้ดว้ยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อมุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีนิสัยรัก การเรียนรู้ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการชี้นำตนเองใน การเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) เป็นแนวทางการเรียนรู้หนึ่งที่สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจุบัน และเป็นแนวคิดที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสมาชิกในสังคมสู่การ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้บุคคลมีการริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่แน่นอน มีความรับผิดชอบในชีวิตของตนเอง ไม่พึ่งคนอื่น มีแรงจูงใจ ทำให้ผเู้รียน เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้วิธีเรียน สามารถเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้มากกว่าการ เรียนที่มีครูป้อนความรู้ให้เพียงอย่างเดียว การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลักการทางการศึกษาซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นโดยลำดับในทุกองค์กร การศึกษา เพราะเป็นแนวทางหนึ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในอนัที่จะหล่อหลอมผู้เรียนให้มีทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามที่มุ่งหวังไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบัที่ 2) พ.ศ. 2545 การเรียนรู้ดว้ยตนเอง เป็นหลกัการทางการศึกษาที่มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีของ กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติเป็นคนดี มีเสรีภาพและความเป็นตนเอง มีความเป็นปัจเจกชน มีศกัยภาพ และการรับรู้ตนเอง มีความเป็นจริงในสิ่งที่ตนสามารถเป็นได้ มีการรับรู้ มีความรับผิดชอบและความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้นับว่าเป็นคุณลักษณะที่ดีที่สุด ซึ่งมีอยู่ในตัวบุคคล ทุกคน ผู้เรียนควรจะมีคุณลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองจัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ยอมรับในศักยภาพของผเูรียนว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อที่ตนเองสามารถที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข

ความหมาย และความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เป็นเรื่องของทุกคน ศักดิ์ศรีของผู้เรียนจะมีได้เมื่อมีโอกาสในการเลือกเรียนในเรื่องที่ หลากหลายและมีความหมายแก่ตนเอง การเรียนรู้มีองค์ประกอบ 2 ดา้น คือ องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ สภาพแวดลอ้ม โรงเรียน สถานศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวก และครู องค์ประกอบภายใน ได้แก่ การคิดเป็น พึ่งตนเองได ้ มีอิสรภาพ ใฝ่รู้ ใฝ่สร้างสรรค ์มีความคิดเชิงเหตุผล มีจิตส านึกในการเรียนรู้ มีเจตคติเชิงบวก ต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นจากการฟังคคำบรรยายหรือท าตามที่ครูผู้สอนบอก แต่อาจเกิดขึ้น ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. การเรียนรู้โดยบังเอิญ การเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ มิได้เกิดจากความตั้งใจ

2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจของผู้เรียน ซึ่งมีความปรารถนาจะรู้ใน เรื่องนั้น ผู้เรียนจึงคิดหาวิธีการเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ หลังจากนั้นจะมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทวีความส าคญัในโลกยุคโลกาภิวตัน์ บุคคลซึ่งสามารถปรับตนเองให้ตามทนั ความก้าวหน้าของโลกโดยใช้สื่ออุปกรณ์ยุคใหม่ได้ จะทำให้เป็นคนที่มีคุณค่าและประสบความส าเร็จได้อย่างดี ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นบุคลิกลักษณะส่วนบุคคลของผู้เรียน ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ตามเป้าหมายของการศึกษา ผเู้รียนที่มีความพร้อมในการเรียนด้วยตนเองจะมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ความรับผิดชอบต่อความคิดและการกระทำของตนเอง สามารถควบคุมและโตต้อบสถานการณ์ สามารถ ควบคุมตนเองให้เป็นไปในทิศทางที่ตนเลือก โดยยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่มาจากความคิด ตัดสินใจของตนเอง การเริ่มต้นเรียนรู้ด้วยตนเองที่ดีที่สุดนั้น เรามาเริ่มต้นทคี่วามพร้อม ในการ เรียนรู้ด้วยตนเอง และท่านคงทราบในเบื้องต้นแล้วว่า ระดับ ความพร้อม ในการเรียนรู้ด้วยตนเองของท่าน อยู่ในระดับใด (มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด)

“เด็กตามธรรมชาติต้องพึ่งพิงผู้อื่นและต้องการผู้ปกครองปกป้องเลี้ยงดูและตัดสินใจแทนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็พัฒนามีความอิสระ พึ่งพิงจากภายนอกลดลงและเป็นตัวเองจนมีคุณลักษณะการชี้น าตนเองในการเรียนรู้”

3. การเรียนรู้โดยกลุ่ม การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่ผู้เรียนรวมกลุ่มกันแล้วเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ มา บรรยายให้กับสมาชิก ทำให้สมาชิกมีความรู้เรื่องที่วิทยากรพดู

4. การเรียนรู้จากสถาบันการศึกษา เป็นการเรียนแบบเป็นทางการ มีหลกัสูตร การประเมินผลมีระเบียบการเข้าศึกษาที่ชัดเจน ผู้เรียนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด เมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตร จากสถานการณ์การเรียนรู้ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้อาจเกิดได้หลายวิธี และการเรียนรู้นั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาเสมอไป การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ จากการเรียนโดยกลุ่มก็ได้ และการที่บุคคลมีความตระหนักเรียนรู้อยู่ภายในจิตสำนึกของบุคคลนั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นการเรียนรู้ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ซึ่งมีความสำคัญสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน และสนับสนุนสภาพ “สังคมแห่งการเรียนรู้” ได้เป็นอย่างดี

การเรียนรู้ด้วยตนเองมีลักษณะอย่างไร การเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. ลักษณะที่เป็นบุคลิกคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้เรียน ในการเรียนด้วยตนเอง จัดเป็น องค์ประกอบภายในที่จะท าให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจอยากเรียนต่อไป โดยผู้เรียนที่มีคุณลักษณะในการเรียนด้วย ตนเองจะมีความรับผิดชอบต่อความคิดและการกระทำเกี่ยวกับการเรียน รวมทั้งรับผิดชอบในการบริหาร จัดการตนเอง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงสุดเมื่อมีการจัดสภาพการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกัน

2. ลักษณะที่เป็นการจดัการเรียนรู้ให้ผู้เรียนไดเ้รียนด้วยตนเอง ประกอบด้วย ขั้นตอนการวาง แผนการเรียน การปฏิบตัิตามแผน และการประเมินผลการเรียน จัดเป็นองค์ประกอบภายนอกที่ส่งผลต่อการ เรียนด้วยตนเองของผูเ้รียน ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบนี้ผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากการเรียนมากที่สุด Knowles (1975) เสนอให้ใช้สัญญาการเรียน (Learning contracts) เป็นการมอบหมายภาระงานให้แก่ผู้เรียน ว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้รับความรู้ตามเป้าประสงค์และผู้เรียนจะปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น

การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผ้เูรียน มีความตั้งใจและมีแรงจูงใจสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความ

ยืดหยุ่นมากขึน้ มีการปรับพฤติกรรม การทำงานร่วมกับผ้อูื่นได้ รู้จักเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์ ปรับและประยุกต์ใช้วิธีการแก้ปัญหาของตนเอง จัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น และสามารถนา ประโยชน์ของการเรียนรู้ไปใช้ได้ดีและยาวนานขึน้ ทา ให้ผ้เูรียน ประสบความสำเร็จในการเรียน

องค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเองมีอะไรบ้าง องค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีดังนี้

1. การวเิคราะห์ความต้องการของตนเอง

2. การกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน โดยเริ่มจากบทบาทของผู้เรียนเป็นส ำคัญ ผเู้รียน ควรศึกษาจุดมุ่งหมายของวิชา แล้วเขียนจุดมุ่งหมายในการเรียนของตนให้ชัดเจน เนน้พฤติกรรมที่ คาดหวงั วดัได้ มีความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในแต่ละระดับ

3. การวางแผนการเรียน ให้ผู้เรียนก าหนดแนวทางการเรียนตามวตัถุประสงคท์ี่ระบุไว้ จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการและความสนใจของตน ระบุการจดัการเรียนรู้ให้ เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

4. การแสวงหาแหล่งวิทยาการทั้งที่เป็นวัสดุและบุคคล

4.1 แหล่งวิทยาการที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

4.2 ทักษะต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการแสวงแหล่งวิทยาการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น ทักษะการตั้งค าถาม ทักษะการอ่าน เป็นต้น

5. การประเมินผล ควรประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามที่กำหนดจุดมุ่งหมายของการ เรียนไว้ และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เกี่ยวกับความรู้ ความเขา้ใจ ทกัษะ ทัศนคติ ค่านิยม มี ขั้นตอนในการประเมิน คือ

5.1 กำหนดเป้าหมาย วตัถุประสงค์ให้ชัดเจน

5.2 ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ

5.3 รวบรวมหลักฐานจากผลการประเมินเพื่อตัดสินใจซึ่งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ข้อมูลที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้

5.4 เปรียบเทียบข้อมูลก่อนเรียนกับหลังเรียนเพื่อดูว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าเพียงใด

5.5 ใช้แหล่งข้อมูลจากครูและผู้เรียนเป็นหลักในการประเมิน