ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำแม่แวน

ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ

คำว่า ผี คงหมายเอาวิญญาณหรือสิ่งที่สิงสถิตอยู่ในที่นั้นๆ

คำว่า ขุน หมายถึงความเป็น, ต้นตอ, ประธานหรืออำรักษ์

คำว่า น้ำ มีความหมายเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ในที่นี้หมายถึงเอาแม่น้ำลำคลอง

 เครื่องสำหรับสังเวยบูชา

 มีเทียน 4 เล่ม ดอกไม้ 4 สวย (กรวย) พลู 4 สวย หมาก 4 ขดหรือ 4 ก้อม (1 ขดเอามาตัดครึ่ง เท่ากับ 1 ก้อม) ช่อขาว (ธง) 8 ผืน มะพร้าว 2 คะแนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม หม้อใหม่ 1 ใบ แกงส้ม แกงหวาน หัวหมู ไก่ต้ม สุรา และโภชนาการ 7 อย่าง รวมทั้งเมี่ยงและบุหรี่ เป็นต้น


วิธีการเลี้ยง

ก่อนทำการเลี้ยงต้องมีการประชุมกันก่อนระหว่างลูกเหมืองลูกฝาย (หมายถึงผู้ที่ใช้น้ำในแม่น้ำลำธารนั้นๆทำการเกษตร) เมื่อประชุมตกลงกันและหำฤกษ์งามยามดีกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มีการเรี่ยไรเงิน ทองกันคนละนิดคนละหน่อย เพื่อจัดซื้อเครื่องสังเวยต่ำงๆ และช่วยกันตกแต่งเครื่องสังเวย

เมื่อจัดการแต่งดำเครื่องสังเวยพร้อมแล้ว ก็ทำชะลอมขึ้น 3 ใบ สำหรับใส่เครื่องสังเวยต่ำงๆ ที่ จัดเตรียมไว้ ชะลอม 2 ใบแรกให้คนหำบไป ส่วนใบที่ 3 นั้นให้คอนไป แล้วให้ทำศาลขึ้นหลังหนึ่ง ณ ที่ต้น น้ำลำธารสำหรับที่จะเลี้ยงนั้น ประกอบด้วยหลักช้างหลักม้า ปักอยู่ใกล้ๆ ศาล แล้วน้ำเอาเครื่องสังเวยต่ำงๆ ขึ้นวางบนศาลนั้น แล้วทำพิธีกล่าวอัญเชิญเทวดาอำรักษ์ ตลอดถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางต่ำงๆ อันประจำรักษา อยู่ ณ ต้นน้ำลำธารที่นั้นให้ได้รับรู้แล้วมารับเอาเครื่องสังเวยต่ำงๆตลอดจนอ้อนวอนขอจงอำนวยอวยชัยให้ มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล โดยมากใช้ถ้อยคำโวหารเป็นภาษาทางภาคเหนือว่า “ขออัญเจินผีแพะผีป่าขุนแวน เจ้าตี้ เจ้าดิน เทวดาอารักษ์ตังหลายอันปกป้องรักษายังป่าต้น น้ำลำธาร เหมืองฝาย ภูผาปูดอย จุ่งช่วยปล่อยน้ำปล่อยฝนตกลงมาหื้อชาวบ้านชาวเมือง สัตว์ตั๋วน้อยตั๋วใหญ่ สัพพะทั้งหลายจุ่งหื้อมีน้ำกินน้ำใช้ หื้อพืชชะข้าวกล้ำจุ่งปันอุดมสมบูรณ์งามดี อย่าได้มีศัตรูหมู่ของร้ายมา กวนมาควีแด่เต๊อะ ฯลฯ เป็นต้น

ต่อจากนั้นพอตั้งเครื่องสังเวยนานพอสมควรแล้ว สมมติว่าเจ้าที่เจ้าทาง ผีสาง อำรักษ์ทั้งหลายรับ เครื่องสังเวยอิ่มแล้ว ก็นำเอาเครื่องสังเวยเหล่ำนั้นแบ่งปันเลี้ยงดูกันกินต่อไป ก็เป็นอันเสร็จพิธี

จุดประสงค์

1.เพื่อให้เกิดความสามัคคีซึ่งกันและกัน เช่น มีการประชุมตกลงกันก่อนจึงจะมีพิธีการเลี้ยง

2.เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เช่น มีการเรี่ยไรเงินทองกันคนละนิดหน่อย

3.เพื่อแสดงความกตัญญูต่อสิ่งที่มีคุณและให้ประโยชน์แก่ตนเอง เช่น การเลี้ยงผีขุนน้ำก็เพื่อ ต้องการแสดงความกตัญญูต่อธรรมชาติที่อำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้กับมนุษย์ และมองเห็นความสำคัญ ของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์

 การเลี้ยงผีขุนน้ำหรือต้นน้ำลำธารไหนก็ได้ แต่ส่วนมากทำที่ต้นน้ำลำธารใหญ่ๆ และสำคัญที่เป็นเหมือนเส้นสายชีวิตของเกษตรกรในแหล่งน้ำนั้นๆ ส่วนเครื่องสังเวยต่างๆ ตลอดถึงวิธีการอาจแตกต่าง กันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ และความเชื่อถือ 



เนื้อหาโดย :  นายจอมแก่น  พิศวงค์
เรืยบเรียงเนื้อหาโดย :  นายจอมแก่น  พิศวงค์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : โดย นายจอมแก่น  พิศวงค์

ขอขอบคุณบทความของพ่อหลวงนายเมือง ท้าวคำลือ. บ้านเลขที่ 114 บ้านท่าสารภี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่