ปู๋จาข้าวบ้าน

ลดเคราะห์

(บ้านแม่ลอง) 

ส่งเคราะห์บ้าน

         วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี ชาวบ้านแม่ลองจะมึกิจกรรมส่งเคราะห์หมู่บ้านและปู๋จาข้างบ้าน ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน จะทำพิธีที่ศาลากลางหมู่บ้าน พิธีสงเคราะห์หมู่บ้าน ต้อง เตรียมสะตวงขนาดใหญ่จำนวน 5 อัน สิ่งงในสะตวงจะประกอบไปด้วยแกงส้มแกงหวาน(ใบมะขาม ใบมะละกอ ผลไม้ ข้าวสารอาหารแห้ง พริก เกลือ ข้าวตอกดอกไม้ ข้าวควบ ข้าวแคบ ฯลฯ รูปสัตว์ต่างๆเช่น ความ ไก่ งู ) ช่อขาว ช่อแดง ช่อดำ ช่อน้ำเงินที่จะปักไว้ในแต่ละสะตวง นั้น เพื่อเตรียมส่งเคาราะห์บ้าน เป็นการส่งให้แก่ท้าวเวสสุวัณณ์ ผู้เป็นใหญ่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย และเป็นท้าวโลกบาลผู้หนึ่งซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาโลกให้เป็นปกติสุข 

      ในช่วงเวลาประมาณ 13.00 น.ชาวบ้านก็จะเริ่มทยอยกันมาสู่บริเวณศาลากลางหมู่บ้านเพื่อร่วมประกอบพิธีโดยพิธีจะเริ่มที่แต่ละครอบครัวจำนำสิ่งของที่จะร่วมทำบุญและทรายกลางแม่น้ำ ใบผีเสื้อน้อย ฝ้าย  โดยพิธีกรรมการส่งเคราะห์หมู่บ้านจะเริ่มจากป้ออาจารย์จำทำการกล่าวโอกาสส่งเคราะห์พร้อมกับเทศธรรมส่งเคราะห์ในแต่ละทิศด้วย โดยการนำแตะไม้ หรือสะตวง ที่ประกอบไปด้วยเครื่องพลีกรรมต่างๆไปวางไว้ในแต่ละทิศจนครบทั้งสี่ทิศ และอีกหนึ่งสะตวงจำนำมาวางไว้ที่กลางประรำพิธี จากนั้นป่ออาจารย์เริ่มพิธีเทศธรรมส่งเคราะห์


พิธีเจริญพุทธมนต์สืบชะตาหมู่บ้าน 

            หลังจากเสร็จสิ้นพิะีส่งเคราะห์หมู่บ้าน ต่อมาก็จะเป็นการเจริยพระพุทธมนต์สืบชะตาหมู่บ้าน โดยพิธีจะเริ่มที่ผู้ใหญ่บ้านจะทำการอาราธนานิมนต์พระภิกษุสามเณรจำนวน 5 รูป เพื่อมาเจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาซึ่งก่อนหน้าพิธีกรรมป๋ออาจารย์จะกระทำการขึ้นเท้าทั้งสี่ เพื่อเป็นสัญญาณให้ท้าวจตุโลกบาล รับรู้ถึงพิธีกรรม อีกทั้งช่วยคุ้มครองการทำพิธีกรรม ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งพิธีกรรมการขึ้นท้าวทั้งสี่ จะเป็นพิธีที่ต้องกระทำไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืออวมงคล จากนั้นเมื่อพระสงฆ์มาถึงศาลากลางหมู่บ้านที่ประกอบพิธีกรรม ป้ออาจารย์ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะที่เตรียมไว้ โโยป้ออาจารย์จะเริ่มกล่าวไหว้พระสวดมนต์ พร้อมทั้งขอศิล จากนั้นป้ออาจารย์จะกล่าวอาราธนาพระปริตรเพื่อที่พระสงฆ์จะได้เริ่มสวดมนต์ โดยป้ออาจารย์จำะนำด้ายสายสิญจน์ ที่โยงมาจากแต่ละบ้านและโยงมาจากกองเสื้อผ้าถังใส่ทรายและถังที่บรรจุน้ำขมิ้นส้มป่อยให้แก่พระสงฆ์ผู้ทำพิธี มีการประเคนบาตรน้ำพุทธมนต์แก่พระสงฆ์รูปแรกผู้เป้นประธานสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์จะเจริญพุทธมนต์ เสร็จแล้วชาวบ้านจะถวายจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ พร้อมทั้งพระสงฆ์กล่าวอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธีหลังจากพิธีส่งเคราะห์หมู่บ้านและสืบชะตาเสร็จสิ้น บรรดาชาวบ้านผู้มาร่วมพิธีแบ่งน้ำขมิ้นส้มป่อย ที่พระสงฆ์ทำการเจริญพุทธมนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และนำถังทรายกลับบ้าน โดยนำทรายไปหว่านบริเวณรอบๆบ้านและน้ำฝ้ายมัดด้วยใบผีเสื่อน้อยไว้ทางประตูหน้าบ้านและประตูเข้าบ้านด้วยความเชื่อที่ว่า สามารถป้องกันภูตผีปีศาจและเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือนของตน ในส่วนน้ำขมิ้นส้มป่อย จะนำมาสรงน้ำพระบนหิ้งพระของตน ตลอดจนนำไปประพรมให้แก่ลูกหลาน ที่ไม่ได้ไปร่วมพิธีส่งเคราะห์ และสืบชะตาหมุ่บ้าน ถือเป็นอันเสร็จพิธีส่งเคราะห์และสืบชะตาหมู่บ้านในวันปากปีของล้านนา

เนื้อหาโดย :  นายจอมแก่น  พิศวงค์
เรืยบเรียงเนื้อหาโดย :  นายจอมแก่น  พิศวงค์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : โดย นายจอมแก่น  พิศวงค์