ประเพณีทำบุญสลากภัตวัดพระธาตุจอมสวรรค์

วัดพระธาตุจอมสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตบ้านบวก หมู่ที่ ๓ ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประดิษฐานพระธาตุเก่าแก่และสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอลี้ อยู่ท่ามกลางป่าเขา ซึ่งพระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เคยมาบูรณะไว้ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๘) วัดพระธาตุจอมสวรรค์ มีพระภิกษุประจำ 1 รูป     ปีหนึ่งชาวบ้านเขตนี้ถึงจะขึ้นมาสรงน้ำพระธาตุ ตามประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมสวรรค์และทำบุญสลากภัตเป็นประจำทุกปี

 


ประเพณีสลากภัต

ประเพณีสลากภัต

            ประเพณีตานข้าวสลากหรือสลากภัต ความหมาย ตานข้าวสลากหรือตานก๋วยสลาก เป็นภาษาถิ่น   หมายถึงการที่ทายกทายิกา(ผู้ให้ทาน)นำข้าวปลาอาหารพร้อมทั้งสิ่งของ  ใส่ในก๋วยหรือชะลอมที่สาน ด้วยไม้ไผ่ที่สมควรแก่พระสงฆ์ต้องใช้ชาวนาน้อย เรียกว่า กิ๋นสลาก บางท้องที่เรียกว่า ตานก๋วยสลาก  บางแห่งเรียกว่า  การถวายสลากภัต  นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่ที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนา และเป็นประเพณีทางศาสนาที่สำคัญที่ชาวนาน้อยปฏิบัติสืบต่อกันมา
ประวัติความเป็นมาของการถวายสลากภัต
        ในสมัยพุทธกาล  ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร     ได้มีนางกุมาริกาได้อุ้มลูกชายวิ่งหนีนางยักษ์ผู้มีเวรต่อกันหลายชาติแล้วติดตามมาจะทำร้ายลูกของนาง  นางเห็นจวนตัวจึงพาลูกวิ่งหนีเข้าไปวัดเชตวันนำลูกน้อยวางแทบพระบาทพระพุทธเจ้า    พระพุทธเจ้าทรงตรัสคำสอนต่อนางมาริกาและนางยักษ์ด้วยคำสอนที่ว่า  เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร  เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร  แล้วให้นางทั้งสองเห็นผิดชอบชั่วดีนางยักษ์รับศีลห้าแล้วร้องไห้สะอึกสะอื้นกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า     เมื่อรับศีลแล้วไม่รู้จะทำมาหากินอย่างไรนางกุมาริกาเห็นดังนั้น  จึงรับอาสาพานางยักษ์ไปอยู่ด้วย นางยักษ์ได้รับการอุปการะจากนางกุมาริกาหลายประการจึงอยากตอบแทนบุญคุณนาง จึงเป็นผู้พยากรณ์เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศให้กับนางมาริกาทำให้นางมาริการ่ำรวยขึ้นจากการประกอบอาชีพตามคำพยากรณ์ของนางยักษ์จนเพื่อนบ้านมีความสงสัยพากันขอความช่วยเหลือจากนางยักษ์ จนมีฐานะร่ำรวยขึ้น ด้วยความสำนึกในบุญคุณนางยักษ์จึงพากันซื้อเครื่องอุปโภค    บริโภคอาหารการกินเครื่องใช้มาสังเวยให้กับนางยักษ์เป็นจำนวนมาก จนข้าวของนางยักษ์มีเหลือกินเหลือใช้นางยักษ์จึงนำมาเป็นสลากภัต  โดยให้พระสงฆ์ได้ทำการจับเบอร์ด้วยหลักอุปโลกกรรม  คือ ของที่ถวายมีทั้งของราคามากราคาน้อยพระสงฆ์รูปใดได้ของที่ราคาน้อยก็อย่าเสียใจให้ถือว่าเป็นโชคของตน
ประเพณีดังกล่าวประกอบด้วยเหตุผล   ๗   ประการ
( ๑)   ประชาชนว่างเว้นจากภารกิจการทำนา
( ๒)   ผลไม้  เช่น  ส้มโอ  ส้มเขียวหวาน   ส้มเกลี้ยง   กำลังสุก
( ๓)   ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางเพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน
( ๔)   พระสงฆ์จำพรรษาอย่างพรักพร้อม
( ๕)   ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจน
( ๖)   ถือว่ามีอานิสงส์มาก   คนทำบุญสลากมักจะมีโชคลอยมา
( ๗)   มีโอกาสหาเงินและวัตถุบำรุงวัด
          ระยะเวลาทำบุญทานสลากภัตหรือกิ๋นสลาก  ทำกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือเป็นเรื่อยมาจนถึงเดือนยี่เหนือ   คือ  ช่วงเดือน ๑๑ - ๑๒ ของภาคกลาง ชาวบ้านจะนำพืชผลมาถวายใส่ไว้ในก๋วยสลาก  สลากภัตของชาวนาน้อย  แต่ปัจจุบันนิยมใส่จานธรรมดา  ซึ่งของชาวตำบล เกาะตาล  จะทำกันมากก็หน้าผลไม้  เช่น  หน้ามะม่วง  ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม  ของทุกปี

นื้อหาโดย :  นายจอมแก่น  พิศวงค์ /  อบต.เกาะตาล จังหวัดกำแพงเพชร
เรืยบเรียงเนื้อหาโดย :  นายจอมแก่น  พิศวงค์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : โดย นายจอมแก่น  พิศวงค์ / เทศบาลตำบลดงดำ /โรงเรียนบ้านบวก(อภิชัยราษฎรร์นฤมิต