การเลือกซื้อ การใช้และการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

โดยทั่วไป เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน มักมีการใช้พลังงานสูงแทบทุกชนิด ดังนั้น ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดให้เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อท าให้เกิดความประหยัดและคุ้มค่า ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ทั่วไปในครัวเรือน ดังนี้

1. เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า

เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนขึ้น โดยอาศัยการพาความร้อนจาก

ขดลวดความร้อน (Electrical Heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า คือ

1) ตัวถังน้ำ จะบรรจุน้ำซึ่งจะถูกทำให้ร้อน

2) ขดลวดความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนกับน้ า

3) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิของน้ำถึงระดับที่ตั้งไว้

การดูแลรักษาและความปลอดภัย

1) หมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบความปลอดภัยของเครื่อง

2) ตรวจดูระบบท่อน้ าและรอยต่ออย่าให้มีการรั่วซึม

3) เมื่อพบความผิดปกติในการทำงานของเครื่อง ควรให้ช่างผู้ชำนาญตรวจสอบ

4) ต้องมีการต่อสายดิน

การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

1) เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้ส าหรับบ้านทั่วไปเครื่องทำน้ำอุ่น

ไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 4,500 วัตต์ก็น่าจะเพียงพอ ซึ่งจะช่วยทั้งประหยัดไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าและปั๊มน้ำ

2) ตั้งอุณหภูมิน้ าไม่สูงจนเกินไป (ปกติอยู่ในช่วง 35 - 45 C)

3) ใช้หัวฝักบัวชนิดประหยัดน้ า จะช่วยประหยัดน้ าได้ถึง ร้อยละ 25 - 75

4) ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่าชนิดที่ไม่มีถังน้ าภายใน ร้อยละ 10 - 20

5) ปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน

6) ไม่เปิดเครื่องตลอดเวลาขณะฟอกสบู่อาบน้ำ หรือขณะสระผม

2. กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า

กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ในการต้มน้ำให้ร้อน ประกอบด้วยขดลวดความร้อน(Electrical Heater) อยู่ด้านล่างของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ(Thermostat) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะเกิดความร้อน และถ่ายเทไปยังน้ำภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงจุดเดือด จากนั้นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรหลักออกไป แต่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อน และแสดงสถานะนี้โดยหลอดไฟสัญญาณอุ่นจะสว่างขึ้น เมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าลดลงจนถึงจุด ๆ หนึ่ง อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดความร้อนเต็มที่ทำให้น้ำเดือดอีกครั้งกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าโดยทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีขนาดความจุตั้งแต่ 2 - 4ลิตร และใช้กำลังไฟฟ้าระหว่าง 500 - 1,300 วัตต์

การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

1) เลือกซื้อรุ่นที่มีตรามาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

2) ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการหรือไม่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพราะจะทำให้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเกิดความเสียหาย

3) ระวังอย่าให้น้ำแห้ง หรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดที่กำหนด เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

4) ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา แต่หากมีความต้องการใช้น้ าร้อนเป็นระยะ ๆ ติดต่อกัน เช่น ในที่ทำงานบางแห่งที่มีน้ำร้อนไว้สำหรับเตรียมเครื่องดื่มต้อนรับแขก ก็ไม่ควรถอดปลั๊กออกบ่อย ๆ เพราะทุกครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ำจะค่อย ๆ ลดลง กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าไม่สามารถเก็บความร้อนได้นาน เมื่อจะใช้งานใหม่ก็ต้องเสียบปลั๊ก และเริ่มต้มน้ าใหม่ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน

5) อย่านำสิ่งใด ๆ มาปิดช่องไอน้ำออก

6) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ

7) ไม่ควรตั้งไว้ในห้องที่มีการปรับอากาศ

การดูแลรักษา

การดูแลรักษากระติกน้ำร้อนไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ลดการใช้พลังงานลงและป้องกันอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

1. หมั่นตรวจดูสายไฟฟ้าและขั้วปลั๊กให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอ109

2. ควรนำน้ำที่สะอาดเท่านั้นมาต้ม มิฉะนั้นผิวในกระติกน้ าร้อนไฟฟ้าอาจเปลี่ยนสีเกิดคราบสนิมและตะกรัน

3. หมั่นทำความสะอาดตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน อย่าให้มีคราบตะกรัน ซึ่งจะเป็นตัวต้านทาน การถ่ายเทความร้อนจากขดลวดความร้อนไปสู่น้ำทำให้เวลาในการต้มน้ำเพิ่มขึ้นเป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

4. เมื่อไม่ต้องการใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ควรล้างด้านในให้สะอาด แล้วคว่ำลงเพื่อให้น้ำออกจากตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า แล้วใช้ผ้าเช็ดด้านในให้แห้ง

5. การทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า

- ตัวและฝากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาดแล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง

- ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานล้างให้สะอาด

- ตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำโดยอย่าราดน้ำ ลงบนส่วนอื่นของตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า นอกจากภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเท่านั้น อย่าใช้ของมีคมหรือฝอยขัดหม้อขูดหรือขัดตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดออกได้

3. พัดลม พัดลมที่ใช้ในบ้านเป็นอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการหมุนเวียนอากาศ และระบายความ ร้อนภายในบ้าน ซึ่งในปัจจุบันพัดลมที่ใช้มีหลากหลายลักษณะและประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนประกอบหลักของพัดลม ได้แก่ ใบพัด ตะแกรงคลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตช์ ควบคุมการท างาน และกลไกควบคุมการหมุนและส่าย ดังรูป

การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

1. เลือกซื้อพัดลมที่เป็นระบบธรรมดา เพราะจะประหยัดไฟกว่าระบบที่มีรีโมทคอนโทรล หรือระบบไอน้ำ

2. เลือกซื้อยี่ห้อและรุ่นที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีฉลากเบอร์5

3. เลือกที่มีขนาดใบพัดและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการใช้งาน

4) เลือกใช้ความแรงของลมให้เหมาะกับความต้องการ ความแรงของลมยิ่งมากยิ่งเปลืองไฟ

5) ปิดพัดลมทันทีเมื่อไม่ใช้งาน

6) ในกรณีที่พัดลมมีระบบรีโมทคอนโทรลอย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้เพราะจะมีไฟฟ้าเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดเวลา

7) ควรวางพัดลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจากบริเวณรอบ ๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบพัดลมมีการถ่ายเทดีไม่ร้อนหรืออับชื้น ก็จะได้รับลมเย็น รู้สึกสบาย และยังท าให้มอเตอร์สามารถระบายความร้อนได้ดีเป็นการยืดอายุการใช้งานอีกด้วย

การดูแลรักษา

การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ าเสมอ จะช่วยให้พัดลมท างานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยยืดอายุการทำงาน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1) หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ และต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหัก ชำรุด หรือโค้ง งอ ผิดส่วน จะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงของลมลดลง

2) หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ ามันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้น

4. โทรทัศน์

โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นภาพด้วยวงจร อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อน มีส่วนประกอบ ดังนี้ 111 1) ส่วนประกอบภายนอก คือ ตัวโครงที่ห่อหุ้มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จอภาพซึ่งจะมี การเคลือบสารพิเศษทางด้านใน ปุ่มหรือสวิตช์ต่าง ๆ และช่องต่อสายอากาศ เป็นต้น 2) ส่วนประกอบภายใน คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวรับเปลี่ยนสัญญาณที่มาในรูป ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นภาพและเสียง ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียงรวมทั้งล าโพง เป็นต้น

ปริมาณพลังงานที่โทรทัศน์ใช้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและขนาดของจอภาพ โดยขนาด จอภาพของโทรทัศน์ระบุด้วยความยาวเส้นทแยงของมุมจอภาพ โทรทัศน์แต่ละขนาดและแต่ละ ประเภทจะมีการใช้ไฟฟ้าแตกต่างกัน ยิ่งขนาดจอภาพใหญ่ก็จะใช้ก าลังไฟฟ้ามาก

การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

1) การเลือกใช้โทรทัศน์ควรค านึงถึงความต้องการในการใช้งาน โดยพิจารณาจากขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า สำหรับเทคโนโลยีเดียวกัน โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งกินไฟมากขึ้น

2) อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟ และอาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะเกิดฟ้าแลบได้

3) ปิดและถอดปลั๊กทันทีเมื่อไม่มีคนดู หากชอบหลับหน้าโทรทัศน์บ่อย ๆ ควรใช้โทรทัศน์ รุ่นที่ตั้งเวลาปิดโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยประหยัดไฟฟ้า

4) หากชมโทรทัศน์ช่องเดียวกันควรดูด้วยกัน ประหยัดทั้งค่าไฟ และอบอุ่นใจได้อยู่ด้วยกันทั้งครอบครัว

5) เลิกเปิดโทรทัศน์ล่วงหน้าเพื่อรอดูรายการที่ชื่นชอบ เปิดดูรายการเมื่อถึงเวลาออกอากาศ

6) ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมากเกินไป และไม่ควรเปลี่ยนช่องบ่อย เพราะจะทำให้หลอดภาพมีอายุการใช้งานลดลง และสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยไม่จ าเป็น

การดูแลรักษา

การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์เกิดความคงทนภาพที่ได้คมชัด และมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

1) ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้สะดวก

2) หมั่นทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกาะบนจอภาพโดยใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องโทรทัศน์ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำยาล้างจานผสมกับน้ำเช็ดเบา ๆ จากนั้นเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง และต้องถอดปลั๊กออกก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง

5. เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใช้กันแทบทุกครัวเรือน หากเปรียบเทียบกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เตารีดจัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ก าลังไฟฟ้าสูง การทราบแนวทางการเลือกซื้อ และใช้งานอย่างถูกวิธีจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ ในท้องตลาดเตารีดสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ เตารีดแบบธรรมดา แบบมีไอน้ า และแบบกดทับ ส่วนประกอบและการท างานเตารีดมีส่วนประกอบส าคัญ 3 ส่วน คือ

1) ไส้เตารีดไฟฟ้า ท ามาจากโลหะผสมระหว่างนิกเกิลและโครเมียม ท าหน้าที่ให้ ก าเนิดความร้อนเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า โดยความร้อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับส่วนผสมของโลหะ และความยาวขดลวด

2) เทอร์มอสแตต ท าหน้าที่ปรับความร้อนของไส้เตารีดให้เท่ากับระดับที่ได้ตั้งไว้

3) แผ่นโลหะด้านล่างของเตารีด ท าหน้าที่เป็นตัวกดทับเวลารีด และกระจายความร้อน

การเลือกซื้อและการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

ในการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงาน เราไม่ควรที่จะลดปริมาณความร้อนที่ใช้ในการรีดลง แต่ควรใช้เตารีดไฟฟ้า รีดผ้าอย่างรวดเร็วที่ระดับความร้อนที่เหมาะสมกับความหนาและชนิดของผ้า รวมทั้งควรปฏิบัติดังนี้

1) เลือกซื้อเฉพาะเตารีดไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีฉลากเบอร์ 5

2) เลือกซื้อขนาดและก าลังไฟฟ้าให้เหมาะกับความต้องการและลักษณะการใช้งาน

3)ควรเก็บผ้าที่รอรีดให้เรียบร้อย และให้ผ้ายับน้อยที่สุด

4)ควรแยกประเภทผ้าหนาและผ้าบาง เพื่อความสะดวกในการรีด

5) ควรรวบรวมผ้าที่จะรีดแต่ละครั้งให้มากพอ การรีดผ้าครั้งละชุดท าให้สิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก

6) ไม่ควรพรมน้ ามากจนเกินไป เพราะจะท าให้สูญเสียความร้อนจากการรีดมาก

7) ควรเริ่มรีดจากผ้าบาง ๆ หรือต้องการความร้อนน้อยก่อน จากนั้นจึงรีดผ้าที่ต้องการความร้อนสูง และควรเหลือผ้าที่ต้องการความร้อนน้อยส่วนหนึ่ง ไว้รีดในตอนท้าย

8) ควรถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีด 3 - 4 นาท

การดูแลรักษา

1. ตรวจดูหน้าสัมผัสเตารีดไฟฟ้า หากพบคราบสกปรก ให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเช็ดออก เพราะคราบสกปรกจะเป็นตัวต้านทานความร้อน ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้นในการเพิ่มความร้อน

2. สำหรับเตารีดไฟฟ้าไอน้ำ น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำกลั่นเพื่อป้องกันการเกิดตะกรัน ซึ่งตะกรันจะเป็นสาเหตุของการเกิดความต้านทานความร้อน

3. เมื่อเกิดการอุดตันของช่องไอน้ำซึ่งเกิดจากตะกรัน เราสามารถกำจัดได้โดยเติมน้ำส้มสายชูลงในถังเก็บน้ำของเตารีดไฟฟ้าไอน้ำ แล้วเสียบสายไฟให้เตารีดร้อนเพื่อทำให้น้ำส้มสายชูกลายเป็นไอ จากนั้นเติมน้ำลงไป เพื่อล้างน้ำส้มสายชูออกให้หมด แล้วจึงใช้แปรงเล็ก ๆทำความสะอาดช่องไอน้ำ

4. การใช้เตารีดไฟฟ้าไปนาน ๆ แม้ว่าจะไม่เกิดการเสียหายชำรุด ก็ควรมีการตรวจหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในบางอย่าง รวมทั้งสายไฟที่ต่อกันอยู่ซึ่งอาจชำรุด เสื่อมสภาพ ทำให้วงจรภายในทำงานไม่สมบูรณ์

6. ตู้เย็น ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้แพร่หลายในครัวเรือน เป็นอุปกรณ์ท าความเย็นเพื่อถนอม อาหารโดยการลดอุณหภูมิตู้เย็นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการเลือกและใช้ ตู้เย็นอย่างเหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

อุปกรณ์หลัก ๆ ที่ทำให้ภายในตู้เย็นเกิดความเย็น ประกอบด้วย

1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ในการอัดและดูดสารท าความเย็นให้หมุนเวียนในระบบของตู้เย็น

2. แผงทำความเย็น มีหน้าที่กระจายความเย็นภายในตู้เย็น

3. แผงระบายความร้อน เป็นส่วนที่ใช้ระบายความร้อนของสารทำความเย็นแผงระบายความร้อนนี้ติดตั้งอยู่ด้านหลังของตู้เย็น

4. ตัวตู้เย็นทำจากโลหะ และอัดฉีดโฟมอยู่ระหว่างกลาง เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนจากภายนอก โดยปกติเราระบุขนาดของตู้เย็นเป็นคิว หรือลูกบาศก์ฟุต

5. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิสวิตช์โอเวอร์โหลด พัดลมกระจายความเย็น ฯลฯความเย็นของตู้เย็นเกิดขึ้นจากระบบทำความเย็น เมื่อเราเสียบปลั๊กไฟฟ้าให้กับตู้เย็นคอมเพรสเซอร์จะดูดและอัดไอสารท าความเย็นให้มีความดันสูงขึ้น และไหลไปยังแผงระบาย ความร้อนเพื่อถ่ายเทความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก จากนั้นจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวไหลผ่านวาล์วควบคุมสารท าความเย็นเพื่อลดความดัน ไหลต่อไปที่แผงท าความเย็นเพื่อดูดความร้อนจากอาหารและเครื่องดื่มที่แช่อยู่ในตู้เย็น ณ จุดนี้สารทำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ และกลับไปยังคอมเพรสเซอร์เพื่อเริ่มวงจรทำความเย็นใหม่อีกครั้ง

การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

1) เลือกซื้อตู้เย็นที่ได้รับการรับรองฉลากเบอร์5

2) เลือกซื้อประเภทและขนาดให้เหมาะกับความต้องการและลักษณะการใช้งาน

3) ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิด - ปิดตู้เย็น เพราะเมื่อเปิดตู้เย็นความร้อนภายนอกจะไหลเข้าตู้เย็น ทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในตู้เย็นให้คงเดิมตามที่ตั้งไว้

4) ถ้าอุณหภูมิโดยรอบสูงขึ้น ปริมาณความร้อนจะถูกถ่ายเทเข้าไปในตู้เย็นมากขึ้นเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบทำความเย็น ดังนั้นจึงไม่ควรติดตั้งตู้เย็นใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ หรือรับแสงอาทิตย์โดยตรง

5) ไม่เก็บอาหารในตู้เย็นมากเกินไป เพราะจะทำให้อุณหภูมิในตู้เย็นไม่สม่ำเสมอควรให้มีช่องว่าง เพื่อให้อากาศภายในไหลเวียนได้สม่ำเสมอ

6) ถ้านำอาหารที่มีอุณหภูมิสูงไปแช่ในตู้เย็นจะส่งผลกระทบดังนี้

(6.1) ทำให้อาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงเสื่อมคุณภาพหรือเสียได้

(6.2) หากตู้เย็นกำลังทำงานเต็มที่จะทำให้ไอสารทำความเย็นก่อนเข้าเครื่องอัดร้อนจนไม่สามารถทำหน้าที่หล่อเย็นคอมเพรสเซอร์ได้เพียงพอ และส่งผลให้อายุคอมเพรสเซอร์สั้นลง

(6.3) สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

7) เมื่อดึงปลั๊กออกแล้วไม่ควรเสียบปลั๊กใหม่ทันที เพราะเมื่อเครื่องหยุด สารทำความเย็นจากส่วนที่มีความดันสูงจะไหลไปทางที่มีความดันต่ าจนความดันภายในวงจรเท่ากันดังนั้นถ้าคอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานทันทีสารทำความเย็นยังไหลกลับไม่ทัน เครื่องจึงต้องออกแรงฉุดมากเพื่อเอาชนะแรงเฉื่อยและแรงเสียดทาน ซึ่งจะส่งผลให้มอเตอร์ของเครื่องอัดทำงานหนักและเกิดการช ารุดหรืออายุการใช้งานสั้นลง

การดูแลรักษา

1. สำหรับตู้เย็นที่มีแผงระบายความร้อนควรทำความสะอาดแผงระบายความร้อนตู้เย็นสม่ำเสมอ ถ้ามีฝุ่นเกาะสกปรกมาก จะระบายความร้อนไม่ดีมอเตอร์ต้องทำงานหนัก เปลืองไฟมากขึ้น

2. อย่าให้ขอบยางประตูมีจุดช ารุดหรือเสื่อมสภาพ เพราะความร้อนจะไหลเข้าตู้เย็นทำให้มอเตอร์ต้องท างานหนักและเปลืองไฟฟ้ามาก ตรวจสอบโดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางประตูแล้วปิดประตูถ้าสามารถเลื่อนกระดาษไปมาได้แสดงว่าขอบยางเสื่อมสภาพ ควรติดต่อช่างมาเปลี่ยนขอบยาง

3. อุปกรณ์ระบายความร้อน จะติดตั้งอยู่ด้านหลังตู้เย็น เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดีควรวางตู้เย็นให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 ซม. ด้านบนอย่างน้อย 30 ซม. ด้านข้างอย่างน้อย 2 - 10 ซม.

7. หลอดไฟ

หลอดไฟ เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่มีใช้กันทุกครัวเรือน ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการ ดำรงชีวิต นอกจากประโยชน์ในเรื่องแสงสว่างแล้ว ยังสามารถใช้ในการตกแต่ง และสร้าง บรรยากาศอีกด้วย โดยหลอดไฟที่ใช้กันอยู่มีหลายชนิด มีคุณสมบัติในการให้แสงสว่างและทาง ไฟฟ้าต่างกัน ดังนั้นหากผู้ใช้รู้จักเลือกใช้หลอดไฟอย่างเหมาะสม จะทำให้สามารถประหยัด พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายได้มาก เพื่อให้สามารถเลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ผู้ใช้ควรรู้จักคุณสมบัติ ของหลอดไฟก่อน ซึ่งคุณสมบัติของหลอดไฟต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนมากมักจะมีบอกอยู่ที่ข้างกล่อง หรือฉลากกำกับผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อจึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าว เพื่อเลือกซื้อ 119 หลอดไฟประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ต่อไปนี้คือ ชนิด คุณสมบัติและลักษณะการใช้ของ หลอดไฟประเภทต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในบ้านพักและอาคารต่าง ๆ

นอกจากชนิดของหลอดดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหลอดไฟชนิดอื่น ๆ อีกมากมายให้ผู้ ใช้ได้เลือกใช้ตามลักษณะหรือวัตถุประสงค์ของงาน เช่น ไฟส่องสว่างในรูปแบบต่าง ๆ ไฟประดับ และตกแต่ง เป็นต้น

การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

1) ส ารวจรูปทรงของหลอดไฟ เพื่อก าหนดการใช้งาน ทิศทางการให้แสง และองศาของแสง

2) ส ารวจขั้วหลอดที่ใช้ซึ่งมีแบบขั้วเกลียว ขั้วเกลียวเล็ก ขั้วเข็ม หรือขั้วเสียบ

3) ตรวจสอบว่า ต้องมีอุปกรณ์ใดที่ใช้กับหลอดไฟ หรือ โคมไฟ เช่น หม้อแปลง บัลลาสต์ สวิตช์หรี่ไฟ เป็นต้น

4) พิจารณาคุณสมบัติของหลอดไฟ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยคุณสมบัติของหลอดไฟที่ต้องน ามาพิจารณา มีดังนี้

- ค่าฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux) เป็นปริมาณแสงสว่างทั้งหมดที่ได้

จากแหล่งก าเนิดแสง มีหน่วยวัดเป็นลูเมน (lm)

- ค่าความสว่าง (Illuminance) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ตกกระทบบนวัตถุ(lumen) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร (lm/sq.m.) หรือ ลักซ์(Lux) นั่นเองโดยทั่วไป อาจเรียกว่า ระดับความสว่าง (Lighting level) จึงเป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้เพียงพอหรือไม่

- ค่าความเข้มการส่องสว่าง (Luminous Intensity) เป็นความเข้มของแสงที่ส่องออกมาจากวัตถุ โดยทั่วไปจะวัดเป็นจ านวนเท่าของความเข้มที่ได้จากเทียนไข 1 เล่ม จึงมีหน่วยเป็นแคนเดลา (Candela, cd)

- ค่าความส่องสว่าง (Luminance) เป็นตัวที่บอกปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุ (candela) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร (cd/sq.m.) บางครั้งจึงอาจเรียกว่า ความจ้า (Brightness)

- ค่าประสิทธิผล (Efficacy) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ออกมาต่อก าลังไฟฟ้าที่ใช้ มีหน่วยวัดเป็น ลูเมนต่อวัตต์(lm/w) หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูง แสดงว่า หลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้ก าลังไฟฟ้าน้อย

- ค่าความถูกต้องของสี(Colour Rendering, Ra หรือ CRI) เป็นค่าที่ใช้บอกว่าหลอดไฟประเภทต่าง ๆ เมื่อแสงส่องสีไปบนวัตถุจะท าให้สีของวัตถุนั้นผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ไม่มีหน่วยแต่มักเรียกเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) ตามค่าความถูกต้อง เช่น แสงอาทิตย์มีค่า Ra = 100 เพราะแสงอาทิตย์ให้สเปกตรัมครบทุกสี เมื่อส่องไปบนวัตถุจะไม่เห็นความผิดเพี้ยนของสีเป็นต้น

- ค่าอุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) สีของแสงที่ได้จากหลอดไฟเทียบกับสีที่เกิดจากการเผาวัตถุด าอุดมคติให้ร้อนที่อุณหภูมินั้น มีหน่วยเป็นเคลวิน (K) อุณหภูมิสีเป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้มีความขาวมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของแสงต่ าแสงที่ได้จะออกมาในโทนเหลืองหรือแดง ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของแสงสูงแสงที่ได้จะออกมาในโทนขาวกว่า ในท้องตลาดทั่วไปมีให้เลือก 3 โทนสีนอกจากนี้แล้วสิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติม คือ โทนสีของอุณหภูมิสีของแสง เพื่อให้สามารถได้แสงตามต้องการ โดยโทนสีของหลอดไฟในปัจจุบัน มีดังนี้

- สีวอร์มไวท์ (Warm White) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็นโทนสีร้อนโทนอบอุ่น ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ ต่ ากว่า 3,000 เคลวิน

- สีคูลไวท์ (Cool White) ให้แสงสีจะเริ่มออกมาทางสีขาว เป็นโทนสีที่ดูเย็นสบายตา ดูค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์ ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 3,000 -4,500 เคลวิน

- สีเดย์ไลท์ (Day Light) ให้แสงสีโทนออกขาวอมฟ้า แต่คล้ายแสงธรรมชาติตอนเวลากลางวัน ดังนั้นค่าความถูกต้องของสีจึงมีมากกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์หรือสีคูลไวท์ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,500 - 6,500 เคลวิน ขึ้นไป

5) พิจารณาถึงค่าความสว่างที่เหมาะสม โดยสมาคมไฟฟ้าและแสงสว่างแห่งประเทศไทย ได้มีการก าหนดค่าความส่องสว่างที่เหมาะสมของแต่ละห้องในบ้าน ดังตาราง

6) พิจารณาโดยค านึงถึงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า หลอดไฟแต่ละชนิดจะใช้ พลังงานไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยหลอด LED จะประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบการ ใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายของหลอดไฟทั้ง 3 แบบ ได้ดังตาราง

7) ควรเลือกซื้อหลอด LED หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มีฉลากเบอร์ 5เนื่องจากกินไฟน้อย และมีอายุการใช้งานนาน

8) เลือกใช้หลอดไฟที่ได้มาตรฐาน

9) ลดจ านวนหลอดไฟในบริเวณที่อาศัยแสงธรรมชาติได้

10) ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะท างาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อท างาน

11) ปิดสวิตช์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน

การดูแลรักษา

1) หมั่นท าความสะอาดหลอดไฟ เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรท าความสะอาดอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปีหรือทุก ๆ 3 เดือน

2) สำหรับหลอดไฟที่เก็บไว้ ควรเก็บในบริเวณที่ไม่มีการกระทบกระทั่งกันจนเกิดการชำรุดเสียหาย