หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานไฟฟ้า

ในประเทศไทย

หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับไฟฟ้าในประเทศไทยตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่งจ่ายจนถึง ระบบจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 ภาคส่วน คือ 1) ภาครัฐ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 2) ภาคเอกชน มีเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าเท่านั้น เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ทำ หน้าที่กำกับกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาลและกระทรวง พลังงาน

1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยรัฐบาลได้รวมรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบในการจัดหาไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ การลิกไนท์ (กลน.) การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.) และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟ.อน.) เป็นหน่วยงานเดียวกัน คือ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” มีชื่อย่อว่า “กฟผ.” มีนายเกษม จาติกวณิช เป็นผู้ว่าการ คนแรก

กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยการผลิต จัดส่ง และ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น ๆ ตามที่กฎหมายก าหนด รวมทั้งประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้า ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยระบบผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 5 ประเภท คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าพลังน้ า โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และโรงไฟฟ้าดีเซล Call center ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หมายเลข 1416

2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค สังกัด กระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 โดยรับโอน ทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดชอบขององค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในขณะนั้นมาดำเนินการ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง 23 จัดจำหน่ายและการบริการด้านพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ ในเขตจ าหน่าย 74 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรีและสมุทรปราการ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่กำหนดนโยบาย และแผนงาน ให้คำแนะนำ ตลอดจนจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้หน่วยงานในส่วนภูมิภาค สำหรับ ในส่วนภูมิภาค แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้แต่ละภาคแบ่งออกเป็นเขต รวมเป็น 12 การไฟฟ้าเขต มีหน้าที่ควบคุมและ ให้ค าแนะนำแก่สำนักงานการไฟฟ้าต่าง ๆ ในสังกัดรวม 894 แห่ง ในความรับผิดชอบ 74 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ การไฟฟ้าจังหวัด 74 แห่ง การไฟฟ้าอ าเภอ 732 แห่ง การไฟฟ้าตำบล 88 แห่ง หากประชาชนในส่วนภูมิภาคได้รับความขัดข้องเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ระเบิดเสาไฟฟ้าล้ม ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก บิลค่าไฟฟ้าไม่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การขอใช้ไฟฟ้า เปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ในแต่ละ พื้นที่ หรือติดต่อ Call Center หมายเลข 1129

3. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้านครหลวงจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2501ตามพระราชบัญญัติ การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535 เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สาขาพลังงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการจัด ให้ได้มา จำหน่าย ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์ แก่การไฟฟ้านครหลวง โดยมีพื้นที่เขตจำหน่ายใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ

หากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้รับความ ขัดข้องเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด เสาไฟฟ้าล้ม ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก บิลค่า ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการขอใช้ไฟฟ้า เปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สามารถ ติดต่อได้ที่การไฟฟ้านครหลวงที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ และมีช่องทางการติดต่อ คือ ศูนย์บริการข้อมูล ข่าวสาร และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (MEA Call Center) ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการไฟฟ้านครหลวง โทรศัพท์ 0-2252-8670 ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (MEA Call Center) โทรศัพท์ 1130 หรือ อีเมล์ แอดเดรส : CallCenter@mea.or.th (ตลอด 24 ชั่วโมง)

4. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2551 ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อแยกงานนโยบาย และงานก ากับดูแล ออกจากการประกอบกิจการพลังงาน โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น รวมทั้งให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึงในราคาที่เป็นธรรมและมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดย กกพ. ทำหน้าที่ก ากับกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติภายใต้กรอบนโยบาย ของรัฐ

ในการดำเนินงานของ กกพ. มีเป้าหมายสูงสุด คือ การกำกับดูแลกิจการพลังงาน ไทยให้เกิดความมั่นคง และสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การก ากับกิจการพลังงาน การจัดทำร่างกฎหมายล าดับรองตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน เช่น การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา การออกประกาศและ ระเบียบเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ทั้งนี้ ในการออกระเบียบและ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและกำกับดูแลกิจการพลังงานที่มีผู้ได้รับผลกระทบ จะต้อง ดำเนินการด้านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นด้วย การออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ 25 พลังงานและการอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม กำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้า โดยพิจารณาปรับค่าไฟฟ้า ฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) สามารถติดต่อได้ ตามช่องทางต่าง ๆ