สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของโลก

ปัจจุบันความต้องการไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลก สอดคล้องกับจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากการประเมินขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) ระบุว่า การใช้พลังงานของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เรื่อยๆ โดยแหล่งพลังงานที่ใช้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน 19 ที่ส าคัญหากโลกมีการใช้พลังงานในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและไม่มีการค้นพบแหล่งพลังงานอื่น เพิ่มเติมได้อีก คาดว่าโลกจะมีปริมาณสำรองน้ำมันใช้ได้อีก 52.5 ปี ก๊าซธรรมชาติ54.1 ปี และ ถ่านหินอีกประมาณ 110 ปี เท่านั้น ดังนั้นการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานเหล่านี้จำเป็นต้อง คำนึงถึงความสมดุลระหว่างความต้องการใช้พลังงานกับปริมาณสำรองของพลังงานที่มีเหลืออยู่ อีกทั้งจำเป็นต้องทำการศึกษาและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานเก่าที่ กำลังจะหมดไป นอกจากนี้สิ่งที่ต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่ง คือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้พลังงานเหล่านี้โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อัตราการเพิ่มขึ้นของกำลังผลิตไฟฟ้าในทวีปต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นผล เนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยทวีปเอเชียจะมีอัตราการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สูงสุด เนื่องจากประเทศในทวีปเอเชียส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาจึงมีความต้องการใช้ ไฟฟ้าสูง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต ในขณะที่ประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่มี อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีและประชาชนมีการดำรงชีวิตที่สูงกว่ามาตรฐานนั้นจะมีอัตรา การใช้พลังงานค่อนข้างคงที่

ในอดีตการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่อาศัยแหล่งพลังงานหลักจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และ ถ่านหิน แต่เมื่อพิจารณาถึงแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดจากการใช้พลังงานเหล่านี้มาผลิตไฟฟ้า ทำให้ทั่วโลกพยายามแสวงหาแหล่งพลังงานอื่น ๆ มาใช้ทดแทน เช่น พลังน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ พลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น ดังจะ เห็นได้จากภาพแผนภูมิวงกลมแสดงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานต่าง ๆ ของโลก ปีพ.ศ. 2557

จากข้อมูลปี พ.ศ. 2557 พบว่า ทั่วโลกมีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมากที่สุด ร้อยละ 38.9 รองลงมา คือ ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 22.0 พลังน้ำ ร้อยละ 16.8 พลังงานนิวเคลียร์ร้อยละ 10.8 น้ ามัน ร้อยละ 4.6 และพลังงานทดแทนอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.7 ถึงแม้ว่าปัจจุบันการผลิตไฟฟ้ายังคง พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ซึ่งผลิตจากถ่านหินมากที่สุด เนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงราคา ถูก แต่ในหลายประเทศได้มีนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อมและมีการกระตุ้นให้เปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิง สะอาด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท าให้การผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกเริ่มลดลง ส่งผลให้มีการใช้ เชื้อเพลิงหมุนเวียนมากขึ้น นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าจะมีการนำมาใช้มากขึ้น โดยจะสูงขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 80 ภายในปี พ.ศ. 2583 แต่ปัจจุบันการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ชะลอตัวลงหลังอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เมืองฟุกุชิมะในประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2554 เนื่องจากการพิจารณาเรื่อง กฎระเบียบด้านความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ดี การผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศจีน เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย